วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การลำเลียงน้ำของพืช


การลำเลียงน้ำของพืช

    ทฤษฎีการลำเลียงน้ำของพืชมีดังนี้

            1.       คะปิลลารีแอกชัน (capillary action)  เป็นการลำเลียงน้ำที่เกิดจากแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุล

ของน้ำกับผนังด้านข้างภายในเซลล์ของเนื้อเยื่อไซเลม  โดยเฉพาะเทรคีดและเวสเซล  เเรงดึงดูดนี้เรียก

ว่า แอดฮีชัน ( Adhesion )  การลำเลียงน้ำวิธีนี้ไม่ทำให้น้ำขึ้นไปสูงมากนักเนื่องจากแรงดึงที่เกิดขึ้นมีค่า

น้อย

            2.       แรงดันราก ( Root pressure ) เป็นการลำเลียงน้ำที่เกิดขึ้นเนื่องจากรากดูดน้ำเข้ามาสะสม

และแออัดอยู่ในไซเลม  ทำให้เกิดแรงดันของน้ำภายในราก ( Hydrostatic pressure )  ซึ่งจะดันให้น้ำและ

สารละลายที่ปะปนอยู่เคลื่อนที่ขึ้นสู่ส่วนบนของพืชได้ สภาพการณ์เช่นนี้จะเกิดขึ้นได้ง่าย  เมื่อมีน้ำอุดม

สมบูรณ์และพืชอยู่ในสภาวะที่คายน้ำได้ไม่สะดวก  การทดลองเกี่ยวกับแรงดันรากทำได้โดยตัดลำต้น

พืชที่อยู่เหนือดินประมาณ 8-10 cm จะมีน้ำใสๆเรียกว่า แซพ (Sap)  ถูกผลักดันให้ออกมาจากปลายตอที่

เหลืออยู่ ซึ่งวัดขนาดของแรงดันรากได้โดยการต่อปลายของตอเข้ากับเครื่องวัดความดันของของเหลว

ที่เรียกว่า แมโนมิเตอร์ ( Manometer) ขนาดของแรงดันรากที่วัดได้ไม่เกิน 2 สัปดาห์ และสามารถทำให้

น้ำถูกดันขึ้นไปในท่อลำเลียงได้ไม่เกิน 20 เมตร วิธีนี้จึงไม่ใช่วิธีสำคัญที่ทำให้ยอดไม้สูงๆ เกิน 20 m ได้

แต่นักสรีรวิทยาพืชบางท่านให้แนวคิดไว้ว่า  แรงดันรากมีความสำคัญในการลำเลียงน้ำในพืชบางชนิด

และบางเวลาเท่านั้น บางท่านกล่าวว่า แรงดันรากมีความสำคัญในการไล่อากาศออกจากทางเดินของน้ำ

และทำให้น้ำที่ขาดตอนออกจากกันเชื่อมต่อกันใหม่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น