วันอาทิตย์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2558

การยืมคำภาษาบาลีและสันสกฤต


                                                             การยืมคำภาษาบาลีและสันสกฤต


           ภาษาบาลีและสันสกฤต ที่ใช้อยู่ในภาษาไทยมีดังนี้


1. ศัพท์ที่เกี่ยวกับศาสนา  เช่น  ศาสนาใช้ภาษาบาลี  ศาสนาพราหมณ์ใช้ภาษาสันสกฤต  เช่น

     ธรรม  ศาสดา  อนิจจัง  ทุกข์  อนัตตา  ปรมาตมัน  นิพพาน  ไกรวัล


2. ชื่อและนามสกุลคนไทยส่วนใหญ่ในปัจจุบันมักใช้ภาษาบาลีสันสกฤต  เช่น  อานันท์  สมัคร  ทักษิณ

    วรรณพร  สุทธิภา   ประภัสสร

3. ศัพท์ในวรรณคดี  เช่น  รามาย.ระ  รามเกียรติ์  มหาภารตยุทธ


4. ใช้ในคำราชาศัพท์  ศัพท์สุภาพทั่วไป  เช่น  พระโอษฐ์  พระบรมราโชวาท  ครรภ์  ศรีษะ


5. ใช้ในศัพท์วิชาการ  เช่น  ประชามติ  ญัตติ  ปัจเจกบุคคล  สารัตถะ  เอกภพ  ปรพากษ์  สัทพจน

วันเสาร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2558

การสังเกตคำที่มาจากต่างประเทศ


                                         


                                                       การสังเกตคำที่มาจากต่างประเทศ

                       สาเหตุที่มีการยืมคำ ภาษาต่างประเทศมาใช้ในภาษาไทย

              1. เกิดจากความสัมพันธ์กับต่างประเทศเพื่อนบ้านที่มีอาณาเขตใกล้เคียงกัน เช่น

มอญ เขมร  จีน  มลายู

              2. เกิดจากการติดต่อค้าขายกัน เช่น  จีน  โปรตุเกส  มลายู อังกฤษ  ฝรั่งเศษ  สเปน

              3. เกิดจากความสัมพันธ์ทางการฑูต

             4. เกิดจากความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมและศาสนา  เช่น  วัฒนธรรมอินเดีย  เขมร

จีน  ศาสนา  พราหมณ์  ศาสนาพุทธ   ศาสนาคริสต์  ศาสนาอิสลาม

             5. เกิดจากความเจริญทางด้านการศึกษา  เช่น  ภาษาอังกฤษ  ภาษาเยอรมัน  ภาษาญี่ปุ่น


               นี่ก็เป็น สาเหตุที่ทำให้เกิดการยืมคำจากประเทศอื่นมาใช้ในประเทศไทยน้ะค้ะ
   


วันเสาร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2558

การสร้างคำโดยนำวิธีการของภาษาอื่นมาใช้



                                         การสร้างคำโดยนำวิธีการของภาษาอื่นมาใช้

                             1.  การใช้อุปสรรค                                 2.  การใช้ปัจจัย

                              3. การใช้วิภัตติ                                     4.  การสมาส

                              5. การสนธิ                                            6. การแผลงคำ


               วันนี้เราจะมาดูหัวข้อที่ 1 กันก่อนน้ะค้ะ ก็คือ  การใช้อุปสรรค  เรามาดูกันเลยดีกว่าค่ะ

          1.  การใช้อุปสรรค

 อุปสรรคเป็นพยางค์ที่ใช้สำหรับประกอบ  เช่น  ทุนิป ประอุป อธิ  อติ  เป็นต้น  ทำให้ศัพท์มีความหมาย

เปลี่ยนแปลงไปเป็นวิธีการเพิ่มศัพท์ของภาษาบาลีและสันสฤต  เช่น

                           ทุกรกิริยา   ทุจริต    ทุคติ   ทุภาษิต  ทุพภิกขภัย  ประการ  ประกาศ  ประณม

 ประณาม  ประณีต   ประทีป   ประเทศ  ปฎิกิริยา  ปฎิญญา  ปฎิพากย์   ปฎิโลม   ปฎิวัติ  ปฎิเสธ



วันพฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2558

การสนธิ2



                                                                     การสนธิ

                       ต่อจากเมื่อวานน้ะค้ะ

 3.  เปลี่ยนสระที่ท้ายคำกน้า อิอี เป็น ย  อุอู  เป็น ว เสียก่อนแล้วสนธิตามหลักข้อ 1 และ 2

                 มติ +  อธิบาย  =  มตยาธิบาย

                 อธิ + อาศัย  = อัธยาศัย

ธนู + อาคม  เปล่ี่ยน อู เป็น ว เป้น  ธนว สนธิ  เป็น  ธันวาคม


                                                                            พยัญชนะสนธิ

                             คือคำบาลีสันสฤตที่นำมาสนธิกับพยัญชนะมีหลักดังนี้

1. คำทีี่ลงท้ายด้วย สสนธิ กับ พยัญชนะ เปลี่ยน ส เป็น โ- เช่น

          มนัส + มัย  = มโนมัย

          มนัส + กรรม =  มโนกรรม

2. อุปสรรค ทุสุ กับ นิสุ สนธิ กับ พยัญชนัเปลี่ยน ส เป็น ร เช่น


           ทุส + ชน  = ทรชน

           นิส + คุณ =  เนรคุณ นิรคุณ

วันอังคารที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2558

การสนธิ


                                                                         การสนธิ


                             การสนธิคือการประสมคำของภาษาบาลีสันสฤตถือว่าเป็นคำสมาสชนิดหนึ่งแต่เป็น

คำสมาสที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปศัพท์ไทยนำดัดแปลงเป้นการสนธิแบบโดยมีหลักการดังนี้

                  1. ต้องเป็นคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเท่านั้น

                  2. ศัพท์ประกอบไว้หน้าศัพท์หลักไว้หลัง

                  3. แปลจากหลังมาหน้า

                  4. ถ้าเป็นสระสนธิศัพท์ตัวหลังจะขึ้นต้นด้วย ตัว  อ

                  5. มีการเปลี่ยนแปลงรูปศัพท์ตามหลักที่จะกล่าวต่อไป


 การสนธิมีอยู่ 3 ชนิด คือ

1. สระสนธิ                   2. พยัญชนะสนธิ              3. นฤคหิตสนธิ


 สระสนธิ  คือการนำคำบาลีสันสฤตมาสนธิกับคำที่ขึ้นต้นด้วยสระมีหลักการดังนี้

1. ตัดสระท้ายคำหน้าใช้สระหน้าคำหลัง เช่น

       ชล + อาลัย  =  ชลาลัย

        เทว + อาลัย = เทวาลัย

       มหา + อัศจรรย์ = มหัศจรรย์


2. ตัดสระท้ายคำหน้าใช้สระหน้าคำหลังแต่เปลี่ยนสระหน้าคำหลังจาก อะ เป็น  อา   อิ เป็น เอ  เช่น

ประชา + อธิไตย  =  ประชาธิปไตย

เทศ + อภิบาล =  เทศบาล



วันอาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2558

การสมาส




                                                                  การสมาส

                 สมาสคือวิธีการผสมคำของภาษา           บาลี/ สันสกฤต  ไทนได้นำมาดัดแปลงเป็นวิธีการ

        สมาสแบบไทยโดยมีหลักดังนี้

1. ต้องเป็นคำทีี่มาจากภษาาบาลีและสันสกฤตเท่านั้นเช่น  ราชการ / ราชครู / ราชทูต / ราชบุตร

2. ศัพท์ประกอบไว้หน้าคำศัพท์หลักไว้หลัง  เช่น  สัตโลหะ / ภารกิจ / ปฐมเจดีย์

3.แปลความหมายจากหลังมาหน้า เช่น


                    อักษรศาสตร์ - วิชาว่าด้วยตัวหนังสือ                      

                    วาทสิลป์ - ศิลปะการพูด

                   ยุทธวิธี  -  วิธีการทำสงคราม

4. ท้ายศัพท์ตัวแรกห้ามใส่รูปสระ -ะ  และ การันต์  เช่น


                    กิจการ - ไม่ใช่ กิจะการ

                    ธุรการ  - ไม่ใช่ ธุระการ

5.ต้องออกเสียงสระที่ท้ายศัพท์ตัวแรก


                     อุณหภูมิ  -  อุน-หะ-พูม

                    ประวัติศาสตร์  ประ-หวัด - ติ-สาด

** ยกเว้นบางคำอ่านตามความนิยมไม่ออกเสียงสระเช่น    ชาตินิยม  สุภาพบุรุษ

ไตรรัตน์  ชลบุรี  บุรุษเพศ  ธาตุวิเคราะห์


6.คำว่า  วร  พระ ตามด้วยภาษาบาลีสันสกฤตถือเป็นคำสมาสเพราะ พระ แผลงมาจาก วร เช่น

               วรกาย    วรชายา วรดิตถ์  พระบาท พระองค์  พระโอษฐ์  พระนาสิก


*** คำว่า พระ ที่ประสมคำภาษาอื่นไม่ใช่คำสมาส เช่น พระอู่ พระเก้าอี้

วันเสาร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2558

การเปล่งเสียงในภาษาไทย




                                             การเปล่งเสียงในภาษาไทย
                   
                          การเปล่งเสียงในภาษาไทยจะต้องนำเสียงทั้ง 3 ชนิดประสมกัน และแปลงเสียง

ออกมาครั้งหนึ่ง เรียกว่า  พยางค์    ดังนั้นในพยางค์หนึ่งจะต้องประกอบด้วยเสียงพยัญชนะ เสียงสระ

และวรรณยุกต์เสมอ

                         การประสมอักษร  ตามตำรามี 4 วิธี คือ


               1.  การประสมอักษร 3 ส่วน  ประกอบด้วย  พยัญชนะต้น  สระ  วรรณยุกต์ เช่น

                          ขา   =     ข + อา + จัตวา(เสียง)


                2. การประสมอักษร 4 ส่วนพิเศษ  ประกอบด้วย พยัญชนะต้น สระ ตัวสะกด วรรณยุกต์ เช่น

                           ขาด  = ข + อา + ด

                3. ประสมอักษร 4 ส่วนพิเศษ  ประกอบด้วย  พยัญชนะต้น  สระ  ตัวสะกด  วรรณยุกต์  ตัว

          การันต์ เช่น

                            เลห์  เสาร์  เคราะห์  โพธิ์


                 4.  การประสมอักษร 5 ส่วน ประกอบด้วย  พยัญชนะต้น  สระ  ตัวสะกด  วรรณยุกต์  ตัว

การันต์  เช่น

                          ศาสตร์   ชอล์ก    พราหมณ์

วันศุกร์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2558

เสียงในภาษา



                                                                     เสียงในภาษา


                เสียงในภาษา มี 3 ชนิด คือ


1. เสียงพยัญชนะ หรือ เสียงแปล  คือ เสียงที่แปลงออกมาแล้วมีการดัดแปลงลมโดยอวัยวะในช่องปาก

กัก  หรือกั้นลมไว้ในลักษณะต่างๆ ทำให้เกิดเป็นเสียงพยัญชนะเสียงแตกต่างกันไป เสียงพยัญชนะไทย

ในภาษาไทยมีทั้งสิ้น 21 เสียง มีสัญลักษณะใช้แทนเสียง รูปพยัญชนะ มี 44 รูป


2. เสียงสระ หรือ เสียงแท้ คือ เสียงที่แปลงออกมาจากลำคอโดยตรง ไม่ผ่านการกัก หรือ กั้นลม  เป้น

เสียงก้อง โดยใช้ส่วนต่างๆของลิ้น เคลื่อนไหวขึ้น-ลง ในระดับต่างๆ ( สูง  กลาง  ต่ำ )  และริมฝีปากก็

เปลี่ยนรูปลักษณะแตกต่างกัน มีผลทำให้เกิดเสียงสระที่แตกต่างกัน เสียงในภาษาไทยมี 24 เสียงมี

สัญลักษณ์ใช้แทนเสียง เรียกว่า รูปสระ  21  รูป


3. เสียงวรรณยุกต์ หรือ เสียงดนตรี  คือ ระดับเสียง สูง-ต่ำ ที่มีความถี่ของเสียงแตกต่างกันออกไป มีทั้ง

สิ้น 5 เสียง มีสัญลักษณ์ใช้แทนเสียง  เรียกว่า  รูปวรรณยุกต์  มี 4 รูป

วันพฤหัสบดีที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2558

การซ้อนคำ 2



                                                                       การซ้อนคำ

                      เมื่อวานเรารู้เกี่ยวกับการซ้อนคำเพื่อความหมายแล้ว วันนี้เรามาดูการซ้อน

     คำเพื่อเสียง  กันบ้างดีกว่าค่ะ


            2.  คำซ้อนเพื่อเสียง  คือการนำคำมูลที่มีความหมายใกล้เคียงกันนำมาซ้อนกันเพื่อให้เกิดเสียง

คล้องจองกัน


                                          วิธีการสร้างคำซ้อนเพื่อเสียง

            -  นำคำมูลที่มีความหมายและเสียงที่ใกล้เคียงกันนำมาซ้อนกัน เช่น

 ก่อเกิด  เก่งกล้า  แข็งขัน  ขับขี่   ขัดข้อง   เคร่งเครียด  ค้างคา  บู้บี้


           -  สร้างคำที่มีเสียงคล้ายกับคำมูลที่เป็นคำหลัก   เสียงที่สร้างขึ้นมาไม่มีความหมายมีหน้าที่ เพียง

ก่อให้เกิดเสียงคล้องจองความหมายของคำยังคงอยู่ที่ศัพท์หลักและอาจมีหลายพยางค์ เช่น

โยกเยก  เยินยอ  โอนเอน  อุบอิบ  ยั่งยืน  ยัดเยียด   ชิงชัง   เทือกเถา  ผลหมากรางไม้


           -  คำมูลที่มีเสียงซ้อนกันอยู่มีลักษณะเป็นเสียงควบคู่  ดังนั้นคำชนิดนี้อาจเรียกได้ว่าคำมูลที่มี

เสียงซ้อนกัน แต่บางคนก็จัดเป็นคำซ้อนเพื่อเสียง เช่น

โลเล   โยเย   วอกแวก   ตุ้งติ้ง   ตึงตัง  ต่องแต่ง   ร่อแร่  จุกจิก   ดุกดิก  จุ๋มจิ๋ม  รุ่งริ่ง  สะเปะสะปะ




           3.   การซ้ำคำ  คือการนำคำมูลมาซ้ำคำกันเพื่อให้เกิดความหมายที่ใกล้เคัยงความหมายเดิม หรือ

เกิดความหมายใหม่เมื่อซ้ำแล้วสามารถใช้ไม้ยมก เขียนแทนคำซ้ำนั้นได้  เช่น  นานๆ  เป็นคำมูลไม่ใช่

คำซ้ำส่วนคำที่ทำหน้าที่ต่างกันในประโยคก็ไม่ใช่คำซ้ำ  เช่น


           สถานที่ที่ฉํนขอบมากที่สุดคือสวนสาธารณะ               ที่ที่ ไม่ใช่คำซ้ำ

           ของของใครทิ้งไว้เกะกะ                                              ของของไม่ใช่คำซ้ำ




วันพุธที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2558

การซ้อนคำ




                                                                      การซ้อนคำ


                        การซ้อนคำคือการนำคำมูลที่มีความหมายเหมือนคล้ายหรือตรงข้ามกัน หรือในอีกกรณี

คือมีเสียงใกล้เคียงกันมาซ้อนกันแล้วทำให้เกิดความหมายใหม่หรือความหมายใกล้เคียงกับความหมาย

เดิมมีอยู่สองชนิดคือ                    คำซ้อนเพื่อความหมาย         และ      คำซ้อนเพื่อเสียง


      1. คำซ้อนเพื่อความหมาย   คือการนำคำมูลที่มีความหมายใกล้เคียงกันหรือเหมือนกันมาซ้อนกัน

ทำให้เกิดความหมายใหม่หรือเหมือนเดิมแบ่งออกเป็น 4 ชนิด คือ

    - ซ้อนแล้วความหมายเหมือนเดิมหรือชัดเจนมากยิ่งขึ้น เช่น  จิตใจ  ซื่อสัตย์   รูปร่าง ข้าทาส

    - ซ้อนแล้วความหมายแคบหรือเฉพาะเจาะจงมากกว่าคำเดิม เช่น  ขัดถู  ใจคอ   หน้าตา  ดื้อดึง

    - ซ้อนแล้วความหมายกว้างกว่าเดิม  เช่น  ถ้วยชาม  ข้าวปลา  พี่น้อง

    - ซ้อนแล้วความหมายเปลี่ยนจากเดิม  เช่น  หนักแน่น  ดูดดื่ม  อ่อนหวาน  คับแคบ

    - ซ้อนแล้วความหมายความหมายไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับสถานการณ์การใช้คำซ้อนที่เกิดจากใช้คำที่มี

ความหมายตรงกันข้ามมาซ้อนกัน   เช่น  ผิดชอบ   ชั่วดี  เป็นตาย   ร้ายดี  แพ้ชนะ  ได้เสีย


    วันนี้ไว้แค่นี้ก่อนน้ะค้ะ พรุ่งนี้เราจะมาดูคำซ้อนเพื่อเสียงกันค่ะ

วันอังคารที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2558

การผสมคำ




                                                                      การผสมคำ


                 1.  การประสมคำ คือ การนำคำมูลที่มีความหมายไม่เหมือนกันตั้งแต่สองคำขึ้นไปนำมาป

         ประสมกันแล้วเกิดหมายใหม่คำที่เกิดขึ้นเรียกว่าคำประสม

                                        คำมูล + คำมูล  = คำประสม ( เกิดความหมายใหม่/มีเค้าความหมายเดิม)



                                                       หน้าที่ของคำประสม

                                      1. ทำหน้าที่เป็นสรรพนาม          เช่น


        คำว่า       พ่อ   ก็จะสามารถ นำมาผสมกับคำอื่นที่มีความหมายได้เช่น

      พ่อ + ครัว      จะได้เป็น     พ่อครัว  ซึ่งจะสังเกตุว่า คำว่า พ่อ ก็มีความหมายเป็นของตัวเอง คำว่า 

ครัว ก็มีความหมายของมัน เมื่อนำมาผสมกัน ก็จะได้เป็น ความหมายใหม่ขึ้นมา


วันจันทร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2558

คำมูล



                                                                      คำมูล

                                    คือ หน่วยคำที่เล็กที่สุดของภาษาไทย คำมูลคือคำที่มีความหมายสมบูรณ์

             ในตัวเองไม่สามารถแยกศัพท์ย่อยออกได้ ซึ่งจะมีสูงสุดถึง 5 พยางค์ ด้วยกัน


          คำมูลพยางค์เดียว                 เช่น                   หมู หมา กา ไก่ เขียว ขาว แดง ปู่ ย่า ตา ยาย

         
          คำมูลสองพยางค์                  เช่น                   สะดวก  สบาย  ขนม  กระทะ  กระทิ  จะเข้  ชะลูด


          คำมูลสามพยางค์                  เช่น                   กะละแม   กะละมัง   จะละเม็ด  มะละกอ   จระเข้


          คำมูลสี่พยางค์                       เช่น                   โกโรโกโส     ตะลีตะลาด    คะยั้นคะยอ


          คำมูลห้าพยางค์                     เช่น                    สำมะเลเทเมา


**** ข้อสังเกต เช่น หมาดำ คำนี้สามารถแยกศัพท์ได้คือ  หมา+ ดำ ดังนั้นคำนี้ไม่ใช่คำมูล

หมูอ้วน  แยกได้เป็น หมู + อ้วน  ดังนั้นคำนี้ไม่ใช่คำมูล

แต่คำว่า  จะละเม็ด คำนี้ไม่สามารถที่จะแยกคำศัพท์ได้เพราะถ้าเราแยกออกมาแต่ละคำก็ไม่มี

ความหมาย  ก็ได้ว่า จะ+ละ+เม็ด ดังนั้นคำนี้จึงเป็นคำมูล


วันอาทิตย์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

การสร้างคำแบบไทย



                                                                 การสร้างคำแบบไทย

                       สวัสดีค่า น้องๆเพื่อนๆทุกคน หลังจากที่เราไปดูวิชาชีวะ มาเป็นเวลาหลายวัน5555 พี่ก็คิด

ว่าน้องๆคงจะเบื่อกันแล้ว วันนี้เราดูวิชา ภาษาไทย ภาษาของเรากันดีกว่าค่ะ


                       ภาษาไทยเป็นภาษาที่ยืดหยุ่นและมีกานพัฒนาอย่างต่อเนื่องมีวิธีการสร้างคำเพื่อเพิ่มคำ

โดยวิธีการของตนคือการสร้างประสมคำซ้ำคำซ้อน

                        มีการสร้างคำที่นำมาจากภาษาต่างประเทศ เช่น การสร้างคำโดยวิธีสมาส สนธิการลง

อุปสรรคของภาษาบาลี สันสกฤต วิธีลงอุปสรรคแบบเขมร


                                          การสร้างคำตามวิธีการของภาษาไทย

                1. การประสมคำ               2. การซ้อนคำ                       3. การซ้ำคำ


                                     การสร้างคำโดยนำวิธีการของภาษาอื่นมาใช้

1. การใช้อุปสรรคปัจจัยและวิภัตติ               เช่น               ทรชน  ยาจก  กุมาร กุมารี

2. การสมาส                                                เช่น                วิทยาศาสตร์ ราชโอรส

3.การสนธิ                                                   เช่น                 ราชโอวาท   ธนาคาร

4.การแผลงคำ                                             เช่น                ปราบ-บำราบ        อำนวย-อวย

วันเสาร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

การจำแนกตามบทบาทในการกำหนดเพศในสิ่งมีชีวิต




                                                    การจำแนกตามบทบาทในการกำหนดเพศในสิ่งมีชีวิต

                        โครโมโซมภายในเซลล์ร่างกายของสิ่งมีชีวิตจำแนกตามการกำหนดลักษณะต่างๆของ

สิ่งมีชีวิตดังต่อไปนี้

                  - โครโมโซมร่างกาย  หรือ ออโตโซม  เป็นโครโมโซม ที่ควบคุมลักษณะต่างๆ ของร่างกาย

และจะมีเหมือนกันทั้งเพศชายและเพศหญิง


                  - โครโมโซมเพศ หรือ อัลโลโซม เป็นโครโมโซมที่มีรูปร่างแตกต่างกันไปในเพศชายและ

เพศหญิง โดยทั่วไปมักเกี่ยวข้องกับกไหนดเพศ เช่น ในคนเราถ้าเป็นชายจะประกอบด้วยโครโมโซม

x  และโครโมโซม Y ซึ่งมีรูปร่างแตกต่างกัน แต่ถ้าเป็นเพศหญิงจะประกอบด้วยโครโมโซม X ทั้งสอง

เส้น

วันศุกร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ความสัมพันธ์ระหว่างยีนกับโครโมโซม

   


                                        ความสัมพันธ์ระหว่างยีนกับโครโมโซม

                 
                         ในสมัยของเมนเดล ความรู้เกี่ยวกับโครโมโซมยังไม่ละเอียดพอ เมนเดลจึงไม่ได้บอก

ว่า เอลีเมนต์ หรือ ยีน ซึ่งเป็นตัวนำลักษณะต่างๆของสิ่งมีชีวิตอยู่ที่ส่วนใดของเซลล์ แต่ทว่า เมนเดล

อธิบายแต่เพียงว่ายีนต่าง ของต้นถั่ว จากฝ่ายพ่ออยู่ในละออกเรณู และของแม่อยู่ในรังไข่ เท่านั้น

ซึ่งจริงๆอธิบายแค่นี้ในสมัยนั้น ก็เป็นที่เพียงพอแล้วเพราะว่าในสมัยของเมนเดลนั้นยังไม่ได้มีการศึกษา

เรื่องราวเกี่ยวกับยีนแบบละเอียดสักเท่าไหร่


                       ทุกคนคงทราบกันมาบ้างแล้วว่า  ภายในนิวเคลียสมีโครโมโซม ที่มีลักษณะเหมือนกัน

เป็นคู่ๆ ซึ่งแต่ล้ะคู่เหมือนของโครโมโซมนี้ ท่อนนึงมาจากของพ่อ และอีกท่อนนึงมาจากแม่ เราเรียก

โครโมโซมคู่เหมือรนี้ว่า โฮโมโลกัส โครโมโซม เมื่อมีการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส โครโมโซมแต่ละคู่นี้

จะแยกออกจากกันไปในระยะแอนาเฟส-1 เมื่อสิ้นสุดกระบวนการแบ่งเซลล์จะได้ เซลล์สืบพันธ์ที่มี

โครโมโซมอยู่ภายในเพียงครึ่งหนึ่งของจำนวนปกติ และโครโมโซมเหล่านั้นจะไม่มีโครโมโซมที่เป็นไฮ

โมโลกันเลย



                     

วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ยีนและโครโมโซม2




                                                                       ยีนและโครโมโซม2


                                     เมื่อวานเรารู้ความหมายของคำว่า ยีนกันไปแล้วน้ะค้ะ วันนี้ก็ถึงคิวของคำว่า

         โครโมโซม เรามาดูกันเลยดีกว่าค่ะว่า โครโมโซมคืออะไร


                         โดรโมโซมในเซลล์ร่างกาย จะมีรูปร่าง ลักษณะที่เหมือนกันเป็นคู่ๆ แต่ละคู่เรียกว่า โฮ

โมโลกัสโครโมโซม  ซึ่งโครโมโซมที่เป็นโฮโมโลกัสกันนี้  จะมีรูปร่างลักษณะเหมือนกัน ความยาวเท่า

กัน ตำแหน่งเซนโทรเมียร์ตรงกัน  ลำดับยีนในโครโมโซมเหมือนกัน และมียีนที่เป็นอัลลีนกัน


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ โครโมโซม
                                                                            

วันอังคารที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ยีนและโครโมโซม



                                                                  ยีนและโครโมโซม

             หลายคนอาจจะคุ้นเคยกับสองคำนี้แต่บางคนก็ไม่รู้ความหมายของมันเพราะฉะนั้นวันนี้

เรามาดูความหมายของสองคำนี้กันดีกว่าค่ะ


                   ยีน (gene) 

         ยีน หมายถึง หน่วยควบคุมคุมลักษณะพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต  ซึ่งเป็นแต่ละส่วนของสารพันธุกรรม 

ชนิด DNA หรือ RNA โดยบรรจุอยู่ในโคโมโซม  ตำแหน่งของยีนในโคโมโซม เรียก โลกัส 

(locus)เนื่องจากสิ่งมีชีวิตโดยทั่วไปจะมีดคโมโซมเหมือนกันเป็นคู่ๆ  ดังนั้น หนึ่งโลกัส จึงหมายถึง 2 ยีน 

ที่อยู่ตรงกันบนโฮโมโลกัสโครโมโซม ซึ่งยีนต่างชนิดกันที่อยู่บนโลกัสเดียวกัน เรียกว่า เป็นอัลลีล กัน
                  
                   จำนวนยีนทั้งหมดในคนเราเชื่อกันว่า มีประมาณสี่หมื่นยีน และทุกๆเซลล์ในร่างกายจะมียีน

เหมือนกันหมด ( ยกเว้น เซลล์สืบพันธุ์ ) แต่ยีนเหล่านี้ไม่ได้ทำหน้าที่ทั้งหมดทุกยีนในแต่ละเซลล์เชื่อกัน

ว่ามียีนส่วนน้อยเพียง 1-10% เท่านั้นที่ทำงาน ยีนส่วนใหญ่ไม่ทำหน้าที่หรือเซลล์ต่างชนิดกัน จะมียีน

ต่างชนิดกันทำหน้าที่ เช่น ยีนสร้างฮอร์โมนอินซูลิน จะทำหน้าที่เฉพาะในบีต้า เซลล์ของไอส์เลตออฟ 

แลงเกอร์ฮานส์ ในตับอ่อน แม้ว่าเซลล์อื่นๆจะมียีนสร้างอินซูลินก็ตามแต่จะไม่ทำหน้าที่ ดังนั้น ยีนใดๆ

จะจะทำหน้าที่ก็ต่อเมื่อมีการกระตุ้นให้ทำหน้าที่ ( induction ) และจะไม่ทำหน้าที่เมื่อมีการกกไม้ให้ทำ

หน้าที่ ( repression ) สารที่ทำหน้าที่กดการทำงานของยีน เรียก รีเปรสเซอร์ ( repressor ) ซึ่งชนิดสำคัญ

ที่สุดคือ โปรตีนฮีสโตน ( histone )


สำหรับวันนี้เรารู้ความหมายของคำว่ายีนกันไปแล้วน้ะค้ะ พรุ่งนี้เราจะมาต่อกับความหมายของคำว่า 

โครโมโซม กันค่ะ


วันจันทร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ระดับการแสดงลักษณะเด่น




                                                                     ระดับการแสดงลักษณะเด่น


                        การถ่ายทอดลักษณะเด่นอย่างสมบูรณ์

    การถ่ายทอดลักษณะเด่นอย่างสมบูรณ์  หมายถึง การแสดงลักษณะเด่นหรือการข่มอัลลีลเด่น

   ต่ออัลลีนด้อยเป็นไปอย่างสมบูรณ์ ทำให้จีโนไทป์ที่เป็นโฮโมไซกัสของลักษณะเด่น และเฮเทอโรไซ

   กัสมีฟีโนไทป์เหมือนกัน เช่น RR = Rr (เมล็ดเรียบ)



                       การถ่ายทอดลักษณะเด่นแบบไม่สมบูรณ์

   การถ่ายทอดลักษณะเด่นแบบไม่สมบูรณ์ หมายถึง การที่อัลลีลหนึ่งแสดงการข่มอัลลีนของมันได้แต่

เป็นไปอย่างไม่สมบูรณ์ทำให้จีโนไทป์ที่เป็นเฮเทอโรไซกัสมีลักษณะของฟีโนไทป์ค่อนไปทางโฮโมไซ

กัสของลักษณะเด่น กรณีนี้จะได้สัดส่วนของจีดนไทป์ค่อนไปทางโฮโมไซกัสของลักษณะเด่น กรณีนี้จะ

ได้สัดสาวนของจีโนไทป์และฟีโนไทป์เท่ากัน ตัวอย่างเช่น พันธุกรรมของสีดอกลิ้นมังกร และดอกบาน

เย้น หรือในสัตว์ เช่น สีขนของวัวชนิดหนึ่ง

วันอาทิตย์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

กฏการถ่ายทอดลักษณ์ทางพันธุกรรม



                                                          กฏการถ่ายทอดลักษณ์ทางพันธุกรรม


                กฏการถ่ายทอดลักษณ์ทางพันธุกรรม ที่สำคัญคือ

กฎข้อที่ 1 กฎแห่งการแยก มีสาระสำคัญดังนี้คือ  ยีนที่อยู่คู่กันจะแยกตัวออกจากกันไปอยู่ในแต่ล้ะเซลล์

สืบพันธุ์ ก่อนที่จะมารวมตัวกันใหม่เมื่อมีการปฎิสนธิ  กฎข้อนี้เมนเดลได้จากการผสมโดยพิจารณายีนคู่

เดียวที่มีลักษณะตรงข่ามกันอย่างเด่นชัด 


กฎข้อที่ 2  กฎแห่งการรวมกลุามอิสระ  กฎข้อสี้มีสาระสำคัญดังนี้  ยีนที่เป้นคู่กันเมื่อแยกออกจากกัน

แล้ว แต่ล้ะยีนจะไปกับยีนอื่นใดก็ได้อย่างอิสระนั่นคือ เซลล์สืบพันธุ์จะมีการรวมกลุ่มของหน่วยพันธุกรรม

ของลักษณะต่างๆโดยการรวมกลุ่มที่เป้นไปอย่างอิสระ จึงทำให้สามารถทำนายผลที่เกิดขึ้นในรุ่นลูกรุ่น

หลานได้ กฎข้อนี้ เมนเดลได้จากการศึกษาการถ่ายทอดลักษณะโดยพิจารณาจากยีน 2 คู่


                       ข้อควรทราบ****

              1. ยีนที่อยู่ในเซลล์สืบพันธุ์เดียวกันจะต้องไม่มียีนที่เป็นคู่อัลลีลกัน

              2. โครโมโซมที่อยู่ในเซลล์สืบพันธุ์เดียวกัน  จะต้องไม่มีดครโมโซมที่เป็นคู่กัน หรือเป็นโฮโม

โลกัสกัน เนื่องจากเซลล์สืบพันธุ์มักเกิดจากการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส

วันเสาร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ความสำเร็จของเมนเดล



                                                                        ความสำเร็จของเมนเดล


                           ความสำเร็จของเมนเดลเนื่องจาก

               1.  ลักษณะที่เมนเดลศึกษาถูกควบคุมด้วยยีนเพียงคู่เดียวเท่านั้นและสามารถแยกลักษณะ

ต่างๆได้อย่างชัดเจน เช่น ต้นสูง ต้นเตี้ย เมล็ดเรียบ เมล็ดขรุขระ เป็นต้น


              2. ต้นถั่วลันเตาเป็นถั่วที่หาง่าย ปลูกง่าย อายุสั้น และให้เมล็ดได้จำนวนมาก นอกจากนี้ 

สามารถควบคุมการผสมพันธุ์ได้


              3. เมนเดลใช้รุ่นพ่อแม่ ที่เป็นพันธุ์แท้มาผสมกัน ทำให้ได้ลักษณะต่างๆที่ออกมาเป็นแผน

เดียวกัน 


และนี่คือความสำเร้จของเมนเดลที่มีการสรุปกันมาน้ะค้ะ แต่พรุ่งนี้เราจะมาดูกฎการถ่ายทอดลักษณะ

ทางพันธุกรรมของเมนเดลกันน้ะค้ะ สำหรับ วันนี้ไว้แค่นี้ก่อนน้ะค้ะ สวัสดีค่ะ

วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

กฎพันธุกรรมของเมนเดล




                                                                  กฎพันธุกรรมของเมนเดล



                    เมนเดลได้ทดลองผสมถั่วลันเตาที่มีลักษณะต่างๆกัน 7 ลักษณะ ซึ่งการจายอยู่บนดครโม

โซมต่างท่อนกัน โดยได้ทำการทดลองนานถึง 7 ปี จึงพบกฎเกณฑ์การถ่ายทอดลักษณะต่างๆและได้รับ

การยกย่องเป็นบิดาแห่งวิชาพันธุศาสตร์





นี่คือลักษณะของถั่วที่เมนเดล ทดลองน้ะค้ะ

ปล. ขอบคุณรูปภาพจาก google น้ะค้า

วันพุธที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

คำศัพท์ที่ควรทราบในการศึกษาพันธุศาสตร์3





                                                   คำศัพท์ที่ควรทราบในการศึกษาพันธุศาสตร์3

                         ต่อจากเมื่อวานกันน้ะค้ะ เมื่อวานเราถึง จีโนไทป์ หัวข้อ 7.1 เนอะ วันนี้เรามาต่อกันดีกว่าค่ะ

          7.2  Heterozygues genotype  เป็นจีโนไทป์ที่ประกอบด้วยยีนต่างกัน มักเรียกว่า พันทาง

 เช่น It

         7.3  Hemizygous genotype เป็นจีโนไทป์ที่ประกอบด้วยยีนเพียงยีนเดียวในการควบคุมพันธุกรรม





               8. ฟีโนไทป์

 หมายถึง ลักษณะของสิ่งมีชีวิตที่ปรากฎออกมาเนื่องจากการแสดงออกของยีนและอิทธิพลของสิ่งแวดล้อม

                ฟีโนไทป์ = จีโนไทป์ + สิ่งแวดล้อม


            9. โฮโมโลกัส โครโมโซม 

 หมายถึง โครโมโซมที่เป็นคู่กันมีขนาดและรูปร่างภายนอก เหมือนกัน (แต่ยีนนอกในอาจแตกต่างกัน)

โดยท่อนหนึ่งมาจากพ่อและอีกอีกท่อนหนึ่งมาจากแม่ 

         ค่ะก้จบไปแล้วน้ะค้ะกับตัวอย่างคำศัพท์ ของชีวะ พรุ่งนี้เราจะมีอะไรมาให้อ่านกันอีกรอติดตามกัน

ด้วยน้ะค้ะ

วันจันทร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

คำศัพท์ที่ควรทราบในการศึกษาพันธุศาสตร์2




                                                 คำศัพท์ที่ควรทราบในการศึกษาพันธุศาสตร์2

                       ต่อจากเมื่อวานน้ะค้ะเมื่อวานถึงข้อที่ 5 วันนี้เรามาดูต่อกันเลยดีกว่าค่ะ

       
                  6. เฮเทอโรไซกัส ยีน

        เฮเทอโรไซกัส ยีน  หมายถึง ยีนที่ต่างกันอยู่ด้วยกัน เช่น Tt , Aa , Bb


                  7. จีโนไทป์

       จีโนไทป์ หมายถึง ลักษณะหรือแบบของยีนที่ควบคุมลักษณะ จำแนกเป็น 3 ประเภทคือ

                                   7.1 homozygous genotype  หมายถึง ขีโนไทป์ที่มียีนเหมือนกันมักเรียกพันธุ์

แท้ ซึ่งมีทั้งหมด 2 ประเภท คือ

                                      Homozygous daminace  เป็นจีโนไทป์ที่ประกอบด้วยยีนเด่น เช่น TT,SS

มักจะเรียกว่าพันธุ์แท้ของลักษณะเด่น

                                      Homozygous  recessive    เป็นจีโนไทป์ที่ประกอบด้วยยีนด้อย เช่น tt,ss,ii

มักจะเรียกว่าพันธุ์แท้ของลักษณะเด่น

                วันนี้พอแค่นี้ก่อนน้ะค่ะ เดี๋ยว พรุ่งนี้เราจะมาต่อกันให้จบเรื่องนี้กันน้ะจ้าา สำหรับคืนนี้ 

ราตรีสวัสดิ์น้าา                                     

วันอาทิตย์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

คำศัพท์ที่ควรทราบในการศึกษาพันธุศาสตร์



                                                   คำศัพท์ที่ควรทราบในการศึกษาพันธุศาสตร์       

                 1. เซลล์สืบพันธุ์

                                 เซลล์สืบพันธุ์ หรือที่เรา เรียกกันว่า sex cell  

หมายถึง ไข่ egg หรือ สเปิร์ม sperm  เป็น โครงสร้างที่บรรจุสารพันธุกรรมที่จะถ่ายทอดไปยังรุ่นลูกเมืิ่อมี

การปฎิสนธิเกิดขึ้น ในเซลล์สืบพันธุ์จะไม่มียีนที่เป็น อัลลีน allele กัน



               2. ลักษณะเด่น

                              ลักษณะเด่น หมายถึง ลักษณะที่ปรากฎออกมาในรุ่นลูกหรือรุ่นต่อๆไปเสมอ

เช่น การถนัดมือขวา  หนังตา 2 ชั้น



              3. ลักษณะด้อย

                               ลักษณะด้อยหมายถึง ลักษณะที่ไม่มีโอกาศปรากฎในรุ่นต่อไปเป็นยีนที่แฝง

อยู่จะถูกข่มโดยยีนเด่น


          
             4. ยีน

                            ยีน หมายถึง หน่วยควบคุมลักษณะพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตซึ่งเป็นสารเคมีจำ

พวกกรดนิวคลีอิก nucleic acid โดยเฉพาะ DNA จะพบมากที่สุด หรือชนิด  RNA ในไวรัสบาง

ชนิดและไวรอยด์


          5. โฮโมไซกัส ยีน

                            โฮโมไซกัส ยีน หมายถึง ยีนที่เหมือนกันอยู่ด้วยกัน เช่น TT, tt , AA, bb, ii

วันเสาร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

พันธุศาสตร์2



                                                         ประเภทของลักษณะทางพันธุกรรม

                ต่อจากเมื่องานน้ะค้ะ เมื่อวานเราให้ดูประเภทที่หนึ่งไปแล้ววันนี้เรามาดูประเภทที่ 2 กันดีกว่า

ค่ะ


              2. ลักษณะที่มีความแปรผันต่อเนื่อง    เป็นลักษณะพันธุกรรมที่

                        - ไม่สามารถแยกความแตกต่างได้อย่างเด่นชัด

                        - มักถูกควบคุมดดยยีนหลายคู่ 

                        - มักเกี่ยวข้องกับทางด้านปริมาณ

                        - ตัวอย่างลักษณะที่มีความแปรผันต่อเนื่อง 

       เช่น    สีผิวปกติของคน   น้ำหนัก   ส่วนสูง  ระดับสติปัญญา เป็นต้น

การปฎิวัติของเมืองไทย




                                                            การปฎิวัติของเมืองไทย   


                6 ตุลาคม พ.ศ. 2516

การประท้วงใหญ่ของนักศึกษาและประชาชน

มีการใช้กำลังทหารสลายการชุมนุม

การยึดอำนาจการปกครองอีกครั้ง


              14 ตุลาคม พ.ศ.2549

เป็นผลสืบเนื่องมาจากเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2516

นักศึกษาและประชาชนกว่า 5 แสนคนออกมาชุมนุมประท้วง

เรียกร้องรัฐธรรมนูญจากรัฐบาลเผด็จการของ จอมพล ถนอม กิตติขจร

การจับตัวนักศึกษาและการเรียกร้องให้ปล่อยตัวนักศึกษาที่ถูกจับ

4 ตุลาคมของทุกปีจึงเป้นวัน   ประชาธิปไตย


              17-24 พฤษภาคม  พ.ศ.2535 พฤษภาทมิฬ

เหตุการณ์รัฐประหาร 23 กุมภาพันธุ์ พ.ศ.2534

พรรคเทพ พรรคมาร

การต่อต้านของประชาชน

พระราชทานพระดำรัส


                 19 กันยายรชน พ.ศ.2549

ยกเลิกรัฐธรรมนูญ

สั่งโมฆะการเลือกตั้งในเดือนตุลาคม 2548

สั่งยุบสภา ประกาศใช้กฎอัยการศึก จับกุมสมาชิกคณะรัฐมนตรีหลายคน

สั่งห้ามการประท้วงและกิจกรรมทางการเมือง ยับยั้งเซ็นเซอร์สื่อ

วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

พันธุศาสตร์



                                ลักษณะทางพันธุศาสตร์

  หมายถึง ลักษณะของสิ่งมีชีวิตที่ถูกควบคุมโดยกรดนิวคลีอิกชนิด DNA หรือ RNA ที่สามารถถ่ายทอด

จากรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่งได้ โดยอาศัยเซลล์สืบพันธุ์หรือเซลล์ชนิดอื่นๆเป็นสื่อกลางในการถ่ายทอด


                              ประเภทของลักษณะทางพันธุกรรม

      ลักษณะทางพันธุกรรมจำแนกเป็น 2 ประเภทคือ

                            1. ลักษณะการแปรผันไม่ต่อเนื่อง      เป็นลักษณะพันธุกรรมที่ี

 - แยกความแตกต่างได้อย่างชัดเจน

 - มันถูกควบคุมด้วยยีนน้อยคู่

 - มันเกี่ยวข้องกับทางด้านคุณภาพ

 - ตัวอย่างลักษณะการแปรผันไม่ต่อเนื่อง เช่น การห่อลิ้น การถนัดใช้มือขวา หรือ มือซ้าย จำนวนชั้น

ของหนังตา คนผิวเผือกกับคนผิวปกติ การมีหรือไม่มีลักยิ้ม การเวียนของขวัญ พันธุกรรมหมู่เลือด การมี

หรือไม่มีติ่งหู เชิงผมที่หน้าผาก เป้นต้น

วันพุธที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

การเมืองการปกครอง


                                                             การเมืองการปกครอง

               การปฎิวัติสยาม พ.ศ. 2475

-สถานการณ์ก่อนปฎิวัติ

                       เปลี่ยนจากราชกาลที่6มายังราชกาลที่7

                       เศรษฐกิจและสภาพการเงินของประเทสตกต่ำ

                       ความกดดันจากชาวต่างชาติเพราะผลกระทบทางเศรษฐกิจ


- สถานการณ์ในระหว่างปฎิวัติ

                      ประชาชนยังคงไม่มีท่าทีใดยังคงดำเนินชีวิตประจำวันปกติ

                      พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่7) ทรงพอจะทราบอยู่ก่อนแล้ว

  และทรงเห็นควรด้วยผู้ก่อการปฎิวัติระมัดระวังในทุกๆการกระทำ


- สถานการณ์ภายหลังจากการปฎิวัติ

                      คณะราษฎรมีการประชุมและส่งหนังสือยืนยันว่าสถานการณ์ปกติให้ต่างชาติรับรู้

                      รัชกาลที่7 ทรงเรียกผูก่อการเข้าพบ การยืนเพื่อต้อนรับคณะราษฎร

                      เกิดรัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศไทย 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475
       
             +มาตราเริ่มต้นกล่าวว่า " อำนาจสูงสุดของประเทศนั้น เป็นของราษฎรทั้งหลาย "

สมัยประชุมแรกของรัฐสภาผู้แทนราษฎรประชุมกันในพระที่นั่งอนันตสมาคมเมื่อวันที่ 28 

มิถุนายน พ.ศ.2475 หมุดทองเหลืองซึ่งเขียนไว้ว่า

" ณ ที่นี้ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ เวลาย่ำรุ่ง คณะราษฎรได้ก่อกำเนิดรัฐธรรมนูญเพื่อความเจริญ

ของชาติ "

วันจันทร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

รัฐสภา



                                                                               รัฐสภา

                             รัฐสภา คือ ที่ประชุมของตัวแทนแห่งประชาชนเพื่อดำเนินการต่างๆใน

                          กระบวนการทางนิติบัญญัติ เช่น การพิจารณาร่างกฎหมาย เป็นต้น

                        
                           รัฐสภาประกอบด้วย

                สภาผู้แทนราษฎร (สส.) และวุฒิสภา (สว.) ซึ่งเป็นตัวแทนที่มาจากการเลือกของประชาชน

และการสรรหาของผู้ที่มีคุณสมบัติเพื่อมาใช้สิทธิออกเสียงแทนประชาชนผู้เลือกในรัฐสภาในเรื่องการ

ร่างกฎหมาย ตรวจสอบร่างกฎหมายและการยื่นเสนอร่างกฎหมาย


                     สภาผู้แทนราษฏร ( สส.)

               ประกอบด้วยสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงทั้งหมด 500 คน แบ่งการได้ออกเป็น 2 รูป

แบบ

               1. รูปแบบการแบ่งเขตเลือกตั้งในแต่ละจังหวัด จำนวน 375 คน

               2. รูปแบบบัญชีรายชื่อของพรรคการเมือง โดยให้เขตประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง จำนวน 125 คน

                วุฒิสภา (สว.)

โดยที่สมาชิกวุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 150 คน โดยมีที่มา 2 ประเภท

             1. จากการเลือกตั้ง โดยตรงจากประชาชนในแต่จังหวัด

             2. จากการสรรหาโดยคณะกรรมการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา 

วันเสาร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

รัฐธรรมนูญ



                                                                    รัฐธรรมนูญ

                  
                    ทุกคนคงเคยได้ยินคำว่ารัฐธรรมนูญ พูดถึงรัฐธรรมนูญเราก็จะต้องนึกถึงกฎหมายใช่มั้ยหล่ะ

ค่ะ วันนี้เรามาดูกันดีกว่าค่ะว่ารัฐธรรมนูญหมายถึงอะไร

                        รัฐธรรมนูญ คือ กฎหมายสูงสุดของประเทศไทย เป็นกฎหมายซึ่งระบุถึงสิทธิและหน้าที่

ของประชาชนทุกคนที่อยู่ภายใต้กฎหมายฉบับนี้ไม่มีข้อยกเว้น


                        สิทธิตามรัฐธรรมนูญ คือ อำนาจอันชอบะรรมที่จะกระทำการใดๆก็ย่อมได้อย่างอิสระ 

อันรัฐธรรมนูญรองรับไว้    เช่น สิทธิของบุคคลในการลงรับสมัครเลือกตั้ง สส. สว. ผู้ใหญ่บ้าน เป็นต้น

                       
                      หน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ คือสิ่งที่บุคคลจะต้องปฎิบัติตาม หากไม่ปฎิบัติตามจะถูกก

ลงโทษ หรือเสียสิทธิบางประการที่รัฐธรรมนูญมอบให้ เช่น หน้าที่ที่ประชาชนทุกคนที่มีอายุ 18 ปีบริบูรณ์

จะต้องออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งเมื่อมีการจัดเลือกตั้งในเขตพื้นที่ของตน เป็นต้น


         **** โดยที่หากประชาชนคนใด ใช้สิทธิของตนเองเกินไปกว่าที่รัฐธรรมนูญได้ให้สิธิไว้ประชาชน

คนนั้นจะต้องถูกลงโทษหรือเสียสิทธิบางประการที่รัฐธรรมนูญมอบให้ เช่นเดียวกับการไม่ปฎิบัติตาม

หน้าที่ซึ่งรัฐธรรมนูญระบุไว้ให้ปฎิบัติค่ะ

กฎหมายทั่วไปสำหรับประชาชน



                                                          กฎหมายทั่วไปสำหรับประชาชน

                                 วันนี้เรามาดูกฎหมายทั่วไปสำหรับประชาชนกันดีกว่าค่ะ

      - กฎหมายเกี่ยวกับบุคคล ตามกฎหมายของประเทสไทย ระบุว่า ผู้ที่จะเป็นบุคคลได้ จะเริ่มตั้งแต่เมื่อ

คลอดแล้วอยู่รอดเป้นทารกและเมื่อบุคคลนั้นมีชีวิตรอดเป็นทารกแล้วย่อมมีสิทธิและเสรีภาพตาม

กฎหมาย



        - สิทธิ คือ อำนาจอันชอบธรรมที่จะกระทำการใดๆได้อย่างอิสระ ( แต่การกระทำอย่างอิสระจะต้อง

อยู่ภายใต้ของกฎหมาย )  เช่น สิทธิในการได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปี ตามกฎหมาย


       - เสรีภาพ การกระทำการใดๆโดยอิสระตามที่ใจตนปรารถนาโดยไม่มีสิ่งใดมาขวาง ( แต่ต้องอยู่

ภายใต้กฎหมายรับรอง )   เช่น เสรีภาพในการนับถือ ศาสนา


      - การสมรส บุคคลที่จะสามารถจดทะเเบียนสมรสได้จะต้องมีอายุ 20 ปีบริบุรณ์

เว้นแต่มีเหตุจำเป็น ก็จะสามารถจดทะเบียนได้ก่อนอายุ 20 ปี บริบูรณ์ หากผู้ปกครองทั้งสองฝ่ายให้การ

ยินยอม

  
      - กฎหมายอาญา  ความผิดทางกฎหมายอาญาเป็นความผิดที่เกิดจากการกระทำอันขัดต่อกฎหมาย ก่อให้เกิดความเสียหายกับบุคคลอื่น หรือ สาธารณะ  เช่น

      - การลักขโมย คือการเอาทรัพยืสินของผู้อื่นไปดดยที่เจ้าของไม่รู้

      - จี้ ปล้น คือการบังคับเอาทรัพยืสินของผู้อื่นไปโดยที่เจ้าของไม่ได้ยินยอม

      - ทำลายทรัพย์สินของผู้อื่น คือการทำให้ทรัพยืสินของผู้อื่นเสียหายหรือมช้การไม่ได้

      -  ทำร้ายร่างกาย  คือการกระทำใดๆต่อบุคคลอื่นให้เขาบาดเจ้บทั้งทางร่างกายและทางใจ

      - ฆ่าผู้อื่น คือการทำให้ผู้อื่นเสียชีวิตไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ เป็นต้น
   

วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

สังคม



                                                                            สังคม


                                      วันนี้เรามาติววิชาสังคมกันดีกว่าค่ะ เพราะว่าในปัจจุบัน คนส่วนใหญ่ ชอบสอบ

  ใจแต่ วิทย์ คณิต  จนบางที อาจลืมสนใจวิชาอื่นๆไป ทางบล๊อกนี้ก็จะพยายามไปหาความรู้เกี่ยวกับทุก

วิชามาให้  วันนี้เรามาดูเนื้อหาของวิชาสังคมดีกว่าค่ะ


                                                                          มนุษย์กับสังคม
            
                          - มนุษย์ถูกจัดว่าเป็นสัตว์สังคม  ก่อนอื่นเราต้องรู้จักคำว่า สังคมก่อนน้ะค้ะ 

               สังคมคือ การรวมกันของคนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป เป็นการรวมกลุ่มที่จะต้องมีระเบียบแบบแผน

                          
                          -การดำเนินชีวิตของมนุษย์จะต้องมีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับผู้อื่น และการเกี่ยวข้อง

นี้ก็เรียกว่า  สังคม เช่นกัน


                          -ภายในสังคมหนึ่ง จำเป้นต้องมีสิ่งที่คอยควบคุมหรือดูแล ผู้คนในสังคมเพื่อนให้เกิด

ความสงบสุขและระเบียบซึ่งสิ่งนี้ถูกเรียกว่า  กฎหมาย

การเจริญเติบโตของสัตว์ชั้นสูง 2




                                                           การเจริญเติบโตของสัตว์ชั้นสูง

                        มาต่อจากเมื่อวานน้ะค้ะ เรายังมีสัตว์ชั้นสูงอีกหลาย ชนิด เราไปดูกันเลยดีกว่าค่ะ


                         Clevage                                            ระยะที่ embryo มีการแบ่งเซลล์ ได้เวลล์จำนวนมาก

                                                                                ติดกัน รูปร่างคล้ายน้อยหน่า

                      
                         Placent                                            หรือที่เรียกว่ารกนั่นเอง คือบริเวณที่ติดกับแม่ รับ

                                                                                อาหารและแลกเปลี่ยนก๊าซ


              
                       Umbilical cord                                  หรือ สายสะดือนั่นเอง มีหน้าที่หุ้มรอบเส้นเลือดใหญ่ 

                                                                               ติดต่อระหว่าง รกกับ embryo


                      Metamorphosis                                 การเจริญเติบโตที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างลักษณะ

                                                                               เป็นขั้นๆ


                    Complete metamorphosis                    เปลี่ยนครบ 4 ขั้น Egg-larva-pupa-adult เช่นพวกผีเสื้อ


                    Incomplete metamorphosis                  เปลี่ยนไม่ครบ 4 ขั้น เช่น ตั๊กแตน แมลงปอ แมลงสาบ


                   Ametamophosis                                   ไม่มี metamorphosis เช่น แมลงหางดีด ตัวสามง่าม

วันพุธที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

การเจริญเติบโตของสัตว์ขั้นสูง



                                                       การเจริญเติบโตของสัตว์ขั้นสูง

                            สวัสดีค่ะ หลังจากครั้งที่แล้วได้เขียนเรื่อง การเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิต

        วันนี้พี่ก็มีเรื่องของการเจริญเติบโตเหมือนกันแต่เป็นของสัตว์ชั้นสูง เรามาดูกันเลยดีกว่าค่ะว่ามี

อะไรบ้าง

     
         Embryo                                           Zygote ที่เจริญภายในเยื่อหุ้ม หรือภายในท้องแม่

         Embryo ของไก่                               ระยะที่ไไก่มีการเจริญตั้งแต่ Zygost ของลูกไก่

         Embryo ของกบ                              ระยะที่กบเจริญภายในวุ้น จนกระทั่งฟักเป็นลูกอ๊อด

         Embryo ของคน                              ระยะเวลาตั้งแต่ Zygoteของทารกแรกเกิด

        Fetus                                              Embryo ที่มีอวัยวะต่างๆครบ แต่ยังอยู่ในท้องแม่ (อายุ8สัปดาห์ )

       Aminion                                            ถุงน้ำคร่ำ สำหรับป้องกันการกระทบกระเทือนให้ทารก

       Allantois                                           ถุงที่เจริญจาก embryo แทรกไปชิดกับเปลือกไข่ มีเส้นเลือดมา

                                                               ใช้สำหรับแลกเปลี่ยนก๊าซกับบรรยากาศ เก็บของเสีย ( ยูริค )

                                วันนี้ไว้แค่นี้ก่อนน้ะค่ะ เดี๋ยวพรุ่งนี้จะมาต่อให้ค่าา

วันจันทร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

การเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิต



                                                            การเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิต

                                  กระบวนการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิต ประกอบด้วย

                                                -  การเพิ่มจำนวนเซลล์

                                                - การเพิ่มขนาดของเซลล์

                                                - การเปลี่ยนแปลงรูปร่างของเซลล์ เพื่อนทำหน้าที่เฉพาะทาง

                            
                              การวัดการการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิต มีหลายวิธี คือ

                                          1. การหามวลของสิ่งมีชีวิตที่เปลี่ยนไป

                                          2. การนับจำนวนเซลล์

                                          3. การวัดความสูง

                                          4. การชั่งน้ำหนัก

                                          5. การนับดครงสร้างที่เพิ่มขึ้น