วันจันทร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การเคลื่อนที่แบบหมุน ฟิสิกส์


การเคลื่อนที่แบบหมุน

                        
การเคลื่อนที่แบบหมุน
  1. ปริมาณต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่แบบหมุน
(1)อัตราเร็วเชิงมุม (angular speed)
อัตราเร็วเชิงมุม (ω) ในที่นี้หมายถึง ค่าอัตราเร็วเชิงมุมขณะใดขณะหนึ่งหรือค่าอัตราเร็วเชิงมุมเฉลี่ยของการเคลื่อนที่ในช่วงเวลาสั้นๆ โดยหาได้จากสมการ

วันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ฟังก์ชัน คณิตศาสตร์



                                                                       ฟังก์ชัน

      ฟังก์ชัน คือ ความสัมพันธ์ซึ่งในสองคู่อันดับใดๆของความสัมพันธ์นั้น ถ้ามีสมาชิกตัวหน้าเท่ากันแล้ว

วันศุกร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การส่องกล้องจุลทรรศน์ ชีวะ

กล้องจุลทรรศน์

             การส่องกล้องจุลทรรศน์นะค่ะ วันนี้มีสอบพอดีเลยอยากมาแชร์ความรู้ให้นะค่ะ 

กล้องจุลทรรศน์เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่มีความสำคัญต่อมวลมนุษยชาติเราเป็นอย่างมาก ด้วยเป็นเครื่องมือมหัศจรรย์ที่นำมนุษย์ไปสู่การค้นพบกับมิติของโลกอีกมุมหนึ่งที่เต็มไปด้วยสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กนานาชนิด ไม่ว่าจะเป็นสาหร่าย โปรโตซัว แบคทีเรีย เห็ด รา แม้กระทั่งตัวการสำคัญที่ก่อให้เกิดโรคร้ายแรงแก่มนุษย์เรา ซึ่งมีขนาดไม่กี่ไมครอน เช่น ตัวอมีบา และไวรัสสายพันธุ์ต่างๆ ก็ยังสามารถมองเห็นกลไกลและลักษณะของตัวมันได้อย่างชัดเจน กล้องจุลทรรศน์จึงนับว่าเป็นสุดยอดของเครื่องประดิษฐ์ เพราะไม่เพียงแต่ช่วยให้เรามองเห็นสิ่งที่ตาคนเราไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าแล้วยังช่วยในกระบวนการศึกษาโครงสร้างภายในของเนื้อเยื่อมนุษย์เพื่อนำไปประกอบการวินิจฉัยและการรักษาโรคต่างๆอีกมากมาย

วันพฤหัสบดีที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2555

สมบัติ coligative เคมี

                   
                                                       

                                                                  สมบัติ coligative




                         ที่สภาวะหนึ่ง ๆ ตัวทำละลายบริสุทธิ์ (pure solvent) จะมีความดันไอ จุดเดือด และจุดเยือกแข็งที่แน่นอน แต่เมื่อมีตัวถูกละลาย ที่ไม่สามารถระเหย ผสมอยู่เป็นเนื้อเดียวกัน (homogeneous solution) ในสารละลาย สิ่งที่เกิดขึ้น คือ จะทำให้สารละลายมีสมบัติบางประการเปลี่ยนแปลงไป เช่น จุดเดือด (boiling point) จุดเยือกแข็ง (freezing point) ความดันไอ (vapor pressure) และความดันออสโมติก (osmotic pressure)

วันพุธที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2555

สมการวงกลม คณิตศาสตร์


                                                            วงกลม

             วงกลมเกิดขึ้นจากการตัดกรวยกลมตรงด้วยระนาบที่ตั้งฉากกับแกนของกรวย

วงกลม คือ เซตของจุดทุกจุดบนระนาบ  ซึ่งอยู่ห่างจากจุดลงที่จุดหนึ่งเป็นระยะทางเท่ากัน

 เพิ่มเติม นะค่ะ 

วันเสาร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การเคลื่อนที่บนวัตถุไม่เรียบ

2-11-1 การเคลื่อนที่ของวัตถุบนผิวไม่เรียบ (Motion on a Rough Surface)

เมื่อวัตถุมีการเคลื่อนที่ผ่านน้ำ อากาศ หรือบนพื้นผิว โดยธรรมชาติแล้ว ย่อมเกิดความต้านทานการเคลื่อนที่ต่อวัตถุดังกล่าวขึ้น เนื่องจาก อันตรกิริยาระหว่างผิววัตถุกับตัวกลางนั้นๆ ซึ่งในทางฟิสิกส์ มีปริมาณที่บ่งบอกถึงสภาพความต้านทานดังกล่าวเรียกว่า แรงเสียดทาน (frictional force) 

ถ้ามีการออกแรงกระทำต่อก้อนวัตถุที่วางอยู่บนพื้นด้วยแรง  ในแนวระดับแล้วก้อนวัตถุยังคงอยู่นิ่ง แสดงว่ามีแรงในทิศทางตรงข้ามกับแรง  กระทำต่อวัตถุก้อนนั้น แรงดังกล่าวคือ แรงเสียดทาน, , นั่นเอง แรงเสียดทานนี้มีสาเหตุมาจากความไม่เรียบของหน้าสัมผัสของก้อนวัตถุและพื้น ซึ่งจากกฎข้อที่หนึ่งของนิวตันพบว่าตราบใดที่ก้อนวัตถุยังอยู่นิ่งหรืออยู่ในสภาพสมดุล จะได้ว่า  โดยแรงเสียดทานที่ต้านการเคลื่อนที่ของวัตถุในกรณีนี้เรียกว่า แรงเสียดทานสถิต (static friction, ) (รูปที่ 2-10)


รูปที่ 2-10 แสดงสาเหตุการเกิดแรงเสียดทานการเคลื่อนที่ของวัตถุ
(ก) แสดงแรงเสียดทานสถิต (ข) แสดงแรงเสียดทางจลน์

การเคึลื่อนที่ของวัตถุหลายๆก้อน ฟิสิกส์


                                    การเคลื่อนที่ด้วยวัตถุหลายๆก้อนด้วยความเร่งไม่เท่ากัน

                    การเคลื่อนที่ของวัตถุประเภทนี้เราไม่สามารถหาแรงลัพธ์โดยวิธีคิดรวมก้อนได้ ต้องใช้วิธีแยกก้อนคิดโดยมีขั้นตอนดังนี้

1. หาความสัมพันธ์ของแรงตึงเชือกที่มวลแต่ละก้อน

2. หาความสัมพันธ์ของความเร่งของมวลแต่ละก้อน

3. แยกคิดวัตถุทีละก้อนโดยใช้หลักการหา ∑F = ma  

วันศุกร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2555

พันธุกรรม ชีวะ


                               วันนี้เป็นบล๊อกเเรกของชีวะนะค่ะ  เกี่ยวกับเรื่องพันธุกรรมค่ะ

                                                                              พันธุกรรม

                  หมายถึง ลักษณะของสิ่งมีชีวิตที่ถ่ายทอดจากพ่อแม่ไปสู่ลูกหลานซึ่งเป็นลักษณะที่ถูก

ควบคุมด้วยหน่วยพันธุกรรม หรือ gene


                                                                 ลักษณะทางพันธุกรรม

- ลักษณะที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมในมนุษย์และสัตว์
รูปพันธุ์กรรม




พันธุกรรม (Heredity) หมายถึง สิ่งที่เป็นลักษณะต่างๆของสิ่งมีชีวิตที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากสิ่งมีชีวิตรุ่นก่อนหน้าโดยสามารถถ่ายทอดส่งต่อจากรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่งได้ หรือ พันธุกรรม(Heredity) คือ เป็นการถ่ายทอดลักษณะต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตจากรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง(รุ่นลูกรุ่นหลาน)ได้ เช่น คนรุ่นพ่อแม่สามารถถ่ายทอดลักษณะต่างๆลงไปยังสู่รุ่นลูกรุ่นหลานของตนได้ โดยลักษณะที่ถูกถ่ายทอดแบ่งเป็นประเภทหลักๆได้ 2 ลักษณะ คือ ลักษณะเชิงคุณภาพ และ ลักษณะเชิงปริมาณ โดยได้มีการเริ่มต้นทำการศึกษาเรื่องของพันธุกรรม(Heredity)ในช่วงกลางของศตวรรษที่ 18 โดย เกรเกอร์ เมนเดล (Gregor Mendel) ซึ่งเป็นผู้ที่ได้ค้นพบและได้อธิบายหลักของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม(Heredity)
     พันธุกรรม(Heredity)อาจสามารถเรียกอีกอย่างหนึ่งได้ว่า กรรมพันธุ์

     พันธุกรรม(Heredity) เป็นสิ่งที่ทำให้คนเรามีลักษณะต่างๆที่แตกต่างกันไปมากมาย โดยมีหน่วยควบคุมที่คอยควบคุมลักษณะต่างๆเหล่านี้ ที่เรียกว่า ยีน(Gene) โดยยีน(Gene)นี้จะมีอยู่เป็นจำนวนมากภายในเซลล์แทบทุกเซลล์ ซึ่งยีน(Gene) แต่ละยีน(Gene)ก็จะมีหน้าที่คอยควบคุมลักษณะทางพันธุกรรม(Heredity)ลักษณะหนึ่งๆไป โดยจะมีทั้งยีน(Gene)ที่ควบคุมลักษณะเด่น และยีน(Gene)ที่ควบคุมลักษณะด้อย แต่ส่วนหนึ่งที่ทำให้ลักษณะเราแตกต่างออกไปนอกเหนือพันธุกรรม(Heredity) คือสิ่งแวดล้อม หรือ สภาพแวดล้อม เช่น ความอ้วน อาจเกิดจากสภาพแวดล้อมมากกว่าพันธุกรรม(Heredity)

วันพฤหัสบดีที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การกัมจัดกากกัมมันตรังสี เคมี

           
                                                           
                                                             การกัมจัดกากกัมมันตรังสี

                 กากกัมมันตรังสีแบ่งได้เป็น 3 ชนิด ตามปริมาณรังสี คือ กากกัมมันตรังสีระดับสูง ระดับกลาง

และระดับต่ำ  การจัดการกับกากกัมมันตรังสีสามารถทำได้หลายวิธีเช่น

วันจันทร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2555

รอกแบบต่างๆ ฟิสิกส์



                          รอก





เห็นทุกคนชอบเน้อ เลยหามาเพิ่มให้    จาก google จ้า


โดยปกติแล้ว หากเราต้องการที่จะยกหรือลากวัตถุใดๆ 
เราจะต้องออกแรงกระทำต่อวัตถุนั้นๆด้วยปริมาณเท่ากับแรงต้านที่วัตถุนั้นๆมีอยู่ (Load) (มดยกของธรรมดา)นั่นหมายความว่า หากวัตถุที่เราต้องการยกนั้นมีน้ำหนักมาก เราก็ต้องออกแรงมากตามไปด้วย (มดยกของแล้วยกไม่ไหวโดนทับ)

จึงมีการคิดค้นอุปกรณ์ที่ช่วยให้ เราสามารถยกวัตถุที่หนักมาก ๆ 

โดยการออกแรงน้อยๆได้ เรียกว่า "เครื่องผ่อนแรง (Machines)"เครื่องผ่อนแรงนั้นใช้หลักการของการได้เปรียบเชิงกล (Mechanical Advantage M.A.) เพื่อช่วยลดแรงที่เราต้องใช้กับวัตถุต่างๆ
การได้เปรียบเชิงกล 
สามารถหาได้จากอัตราส่วนระหว่างแรงต้านที่วัตถุนั้นๆมีอยู่ กับแรงที่เรากระทำต่อวัตถุ (แรงพยายาม) และอัตราส่วนระหว่างระยะทางที่เคลื่อนที่โดย แรงพยายามกับระยะทางที่เคลื่อนที่โดยโหลด นั้นเรียกว่า "อัตราส่วนความเร็ว (Velocity Ratio - V.R.)"
เราสามารถหาค่าประสิทธิภาพ (Efficiency) 
ได้จากการนำ ทำให้เราทราบได้ว่า เครื่องผ่อนแรงชนิดต่างๆ มีค่าประสิทธิภาพเป็นเท่าไร และนำอุปกรณ์เหล่านั้นมาใช้ให้เหมาะสมกับงานได้นั่นเอง

รอก (Pulley) 

เป็นเครื่องมือที่มีลักษณะกลมแบน หมุนได้คล้ายวงล้อ ใช้เชือกหรือโซ่คล้องสำหรับดึง 
รอกแบ่งออกเป็นหลายชนิดได้แก่
รอกเดี่ยวตายตัว

จะมีเชือกคล้องผ่านวงรอก 1 ตัว ปลายเชือกด้านหนึ่งผูกติดวัตถุที่ต้องการยก อีกด้านหนึ่งสำหรับจับเพื่อดึงวัตถุ รอกแบบนี้ไม่ผ่อนแรง แต่อำนวยความสะดวกในการทำงาน

รอกเดี่ยวเคลื่อนที่

เป็นรอกที่เคลื่อนที่ได้เมื่อนำไปใช้งาน รอกแบบนี้ช่วยผ่อนแรงครึ่งหนึ่งของน้ำหนัก

รอกพวง

เกิดจากการนำรอกหลายอย่างและหลายตัวมาต่อกันเป็นระบบ มีลักษณะเป็นพวง 

รังสีอินฟาเรด ฟิสิกส์





รังสีอินฟราเรด


รังสีอินฟราเรด (อังกฤษ: Infrared (IR)) มีชื่อเรียกอีกชื่อว่า รังสีใต้แดง หรือรังสีความร้อน เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความยาวคลื่นอยู่ระหว่างคลื่นวิทยุและแสงมีความถี่ในช่วง 1011 – 1014 เฮิร์ตซ์ มีความถี่ในช่วงเดียวกับไมโครเวฟ มีความยาวคลื่นอยู่ระหว่างแสงสีแดงกับคลื่นวิทยุสสารทุกชนิดที่มีอุณหภูมิอยู่ระหว่าง -200 องศาเซลเซียสถึง 4,000 องศาเซลเซียส จะปล่อยรังสีอินฟาเรดออกมา คุณสมบัติเฉพาะตัวของรังสีอินฟราเรด เช่น ไม่เบี่ยงเบนในสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ที่แตกต่างกันก็คือ คุณสมบัติที่ขึ้นอยู่กับความถี่ คือยิ่งความถี่สูงมากขึ้น พลังงานก็สูงขึ้นด้วย ดังนั้น
ในการใช้ประโยชน์ ใช้ในการควบคุมเครื่องใช้ระบบไกล (remote control) สร้างกล้องอินฟราเรดที่สามารถมองเห็นวัตถุในความมืดได้ เช่น อเมริกาสามารถใช้กล้องอินฟราเรดมองเห็นเวียตกงได้ตั้งแต่สมัยสงครามเวียตนาม และสัตว์หลายชนิดมีนัยน์ตารับรู้รังสีชนิดนี้ได้ ทำให้มองเห็นหรือล่าเหยื่อได้ในเวลากลางคืน
.. Sir William Herschel นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ได้ค้นพบ อินฟราเรด สเปกตรัม ในปี 1800 โดยเขา
ได้ทำการทดลองวัดอุณหภูมิของแถบสีต่างๆที่เปล่งออกมา เป็นสีรุ้งจากปริซึม พบว่าอุณหภูมิความร้อนจะเพิ่ม
ขึ้นตามลำดับจากสีม่วงและสูงสุดที่ แถบสีสีแดง ซึ่งขอบเขตนี้เรียกว่า “อินฟราเรด” (ของเขตที่ต่ำกว่าแถบสี
แดง)

การค้นพบรังสีอินฟราเรดระยะไกล
รังสีอินฟราเรดระยะไกล เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ในปี ค.ศ. 1800 นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน คือ
เอฟ ดับบลิวฮาร์เชล ได้ค้นพบรังสีอินฟราเรดระยะไกลผ่านทางการใช้เครื่องแยกเชิงสีของแสงอาทิตย์
เอมิซีปริซึมจะแยกลำแสงของดวงอาทิตย์ออกเป็นสีต่างๆกันตั้งแต่สีม่วงไปจนกระทั่งสีแดง อุณหภูมิของ