วันอาทิตย์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2558

การยืมคำภาษาบาลีและสันสกฤต


                                                             การยืมคำภาษาบาลีและสันสกฤต


           ภาษาบาลีและสันสกฤต ที่ใช้อยู่ในภาษาไทยมีดังนี้


1. ศัพท์ที่เกี่ยวกับศาสนา  เช่น  ศาสนาใช้ภาษาบาลี  ศาสนาพราหมณ์ใช้ภาษาสันสกฤต  เช่น

     ธรรม  ศาสดา  อนิจจัง  ทุกข์  อนัตตา  ปรมาตมัน  นิพพาน  ไกรวัล


2. ชื่อและนามสกุลคนไทยส่วนใหญ่ในปัจจุบันมักใช้ภาษาบาลีสันสกฤต  เช่น  อานันท์  สมัคร  ทักษิณ

    วรรณพร  สุทธิภา   ประภัสสร

3. ศัพท์ในวรรณคดี  เช่น  รามาย.ระ  รามเกียรติ์  มหาภารตยุทธ


4. ใช้ในคำราชาศัพท์  ศัพท์สุภาพทั่วไป  เช่น  พระโอษฐ์  พระบรมราโชวาท  ครรภ์  ศรีษะ


5. ใช้ในศัพท์วิชาการ  เช่น  ประชามติ  ญัตติ  ปัจเจกบุคคล  สารัตถะ  เอกภพ  ปรพากษ์  สัทพจน

วันเสาร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2558

การสังเกตคำที่มาจากต่างประเทศ


                                         


                                                       การสังเกตคำที่มาจากต่างประเทศ

                       สาเหตุที่มีการยืมคำ ภาษาต่างประเทศมาใช้ในภาษาไทย

              1. เกิดจากความสัมพันธ์กับต่างประเทศเพื่อนบ้านที่มีอาณาเขตใกล้เคียงกัน เช่น

มอญ เขมร  จีน  มลายู

              2. เกิดจากการติดต่อค้าขายกัน เช่น  จีน  โปรตุเกส  มลายู อังกฤษ  ฝรั่งเศษ  สเปน

              3. เกิดจากความสัมพันธ์ทางการฑูต

             4. เกิดจากความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมและศาสนา  เช่น  วัฒนธรรมอินเดีย  เขมร

จีน  ศาสนา  พราหมณ์  ศาสนาพุทธ   ศาสนาคริสต์  ศาสนาอิสลาม

             5. เกิดจากความเจริญทางด้านการศึกษา  เช่น  ภาษาอังกฤษ  ภาษาเยอรมัน  ภาษาญี่ปุ่น


               นี่ก็เป็น สาเหตุที่ทำให้เกิดการยืมคำจากประเทศอื่นมาใช้ในประเทศไทยน้ะค้ะ
   


วันเสาร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2558

การสร้างคำโดยนำวิธีการของภาษาอื่นมาใช้



                                         การสร้างคำโดยนำวิธีการของภาษาอื่นมาใช้

                             1.  การใช้อุปสรรค                                 2.  การใช้ปัจจัย

                              3. การใช้วิภัตติ                                     4.  การสมาส

                              5. การสนธิ                                            6. การแผลงคำ


               วันนี้เราจะมาดูหัวข้อที่ 1 กันก่อนน้ะค้ะ ก็คือ  การใช้อุปสรรค  เรามาดูกันเลยดีกว่าค่ะ

          1.  การใช้อุปสรรค

 อุปสรรคเป็นพยางค์ที่ใช้สำหรับประกอบ  เช่น  ทุนิป ประอุป อธิ  อติ  เป็นต้น  ทำให้ศัพท์มีความหมาย

เปลี่ยนแปลงไปเป็นวิธีการเพิ่มศัพท์ของภาษาบาลีและสันสฤต  เช่น

                           ทุกรกิริยา   ทุจริต    ทุคติ   ทุภาษิต  ทุพภิกขภัย  ประการ  ประกาศ  ประณม

 ประณาม  ประณีต   ประทีป   ประเทศ  ปฎิกิริยา  ปฎิญญา  ปฎิพากย์   ปฎิโลม   ปฎิวัติ  ปฎิเสธ



วันพฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2558

การสนธิ2



                                                                     การสนธิ

                       ต่อจากเมื่อวานน้ะค้ะ

 3.  เปลี่ยนสระที่ท้ายคำกน้า อิอี เป็น ย  อุอู  เป็น ว เสียก่อนแล้วสนธิตามหลักข้อ 1 และ 2

                 มติ +  อธิบาย  =  มตยาธิบาย

                 อธิ + อาศัย  = อัธยาศัย

ธนู + อาคม  เปล่ี่ยน อู เป็น ว เป้น  ธนว สนธิ  เป็น  ธันวาคม


                                                                            พยัญชนะสนธิ

                             คือคำบาลีสันสฤตที่นำมาสนธิกับพยัญชนะมีหลักดังนี้

1. คำทีี่ลงท้ายด้วย สสนธิ กับ พยัญชนะ เปลี่ยน ส เป็น โ- เช่น

          มนัส + มัย  = มโนมัย

          มนัส + กรรม =  มโนกรรม

2. อุปสรรค ทุสุ กับ นิสุ สนธิ กับ พยัญชนัเปลี่ยน ส เป็น ร เช่น


           ทุส + ชน  = ทรชน

           นิส + คุณ =  เนรคุณ นิรคุณ

วันอังคารที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2558

การสนธิ


                                                                         การสนธิ


                             การสนธิคือการประสมคำของภาษาบาลีสันสฤตถือว่าเป็นคำสมาสชนิดหนึ่งแต่เป็น

คำสมาสที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปศัพท์ไทยนำดัดแปลงเป้นการสนธิแบบโดยมีหลักการดังนี้

                  1. ต้องเป็นคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเท่านั้น

                  2. ศัพท์ประกอบไว้หน้าศัพท์หลักไว้หลัง

                  3. แปลจากหลังมาหน้า

                  4. ถ้าเป็นสระสนธิศัพท์ตัวหลังจะขึ้นต้นด้วย ตัว  อ

                  5. มีการเปลี่ยนแปลงรูปศัพท์ตามหลักที่จะกล่าวต่อไป


 การสนธิมีอยู่ 3 ชนิด คือ

1. สระสนธิ                   2. พยัญชนะสนธิ              3. นฤคหิตสนธิ


 สระสนธิ  คือการนำคำบาลีสันสฤตมาสนธิกับคำที่ขึ้นต้นด้วยสระมีหลักการดังนี้

1. ตัดสระท้ายคำหน้าใช้สระหน้าคำหลัง เช่น

       ชล + อาลัย  =  ชลาลัย

        เทว + อาลัย = เทวาลัย

       มหา + อัศจรรย์ = มหัศจรรย์


2. ตัดสระท้ายคำหน้าใช้สระหน้าคำหลังแต่เปลี่ยนสระหน้าคำหลังจาก อะ เป็น  อา   อิ เป็น เอ  เช่น

ประชา + อธิไตย  =  ประชาธิปไตย

เทศ + อภิบาล =  เทศบาล



วันอาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2558

การสมาส




                                                                  การสมาส

                 สมาสคือวิธีการผสมคำของภาษา           บาลี/ สันสกฤต  ไทนได้นำมาดัดแปลงเป็นวิธีการ

        สมาสแบบไทยโดยมีหลักดังนี้

1. ต้องเป็นคำทีี่มาจากภษาาบาลีและสันสกฤตเท่านั้นเช่น  ราชการ / ราชครู / ราชทูต / ราชบุตร

2. ศัพท์ประกอบไว้หน้าคำศัพท์หลักไว้หลัง  เช่น  สัตโลหะ / ภารกิจ / ปฐมเจดีย์

3.แปลความหมายจากหลังมาหน้า เช่น


                    อักษรศาสตร์ - วิชาว่าด้วยตัวหนังสือ                      

                    วาทสิลป์ - ศิลปะการพูด

                   ยุทธวิธี  -  วิธีการทำสงคราม

4. ท้ายศัพท์ตัวแรกห้ามใส่รูปสระ -ะ  และ การันต์  เช่น


                    กิจการ - ไม่ใช่ กิจะการ

                    ธุรการ  - ไม่ใช่ ธุระการ

5.ต้องออกเสียงสระที่ท้ายศัพท์ตัวแรก


                     อุณหภูมิ  -  อุน-หะ-พูม

                    ประวัติศาสตร์  ประ-หวัด - ติ-สาด

** ยกเว้นบางคำอ่านตามความนิยมไม่ออกเสียงสระเช่น    ชาตินิยม  สุภาพบุรุษ

ไตรรัตน์  ชลบุรี  บุรุษเพศ  ธาตุวิเคราะห์


6.คำว่า  วร  พระ ตามด้วยภาษาบาลีสันสกฤตถือเป็นคำสมาสเพราะ พระ แผลงมาจาก วร เช่น

               วรกาย    วรชายา วรดิตถ์  พระบาท พระองค์  พระโอษฐ์  พระนาสิก


*** คำว่า พระ ที่ประสมคำภาษาอื่นไม่ใช่คำสมาส เช่น พระอู่ พระเก้าอี้

วันเสาร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2558

การเปล่งเสียงในภาษาไทย




                                             การเปล่งเสียงในภาษาไทย
                   
                          การเปล่งเสียงในภาษาไทยจะต้องนำเสียงทั้ง 3 ชนิดประสมกัน และแปลงเสียง

ออกมาครั้งหนึ่ง เรียกว่า  พยางค์    ดังนั้นในพยางค์หนึ่งจะต้องประกอบด้วยเสียงพยัญชนะ เสียงสระ

และวรรณยุกต์เสมอ

                         การประสมอักษร  ตามตำรามี 4 วิธี คือ


               1.  การประสมอักษร 3 ส่วน  ประกอบด้วย  พยัญชนะต้น  สระ  วรรณยุกต์ เช่น

                          ขา   =     ข + อา + จัตวา(เสียง)


                2. การประสมอักษร 4 ส่วนพิเศษ  ประกอบด้วย พยัญชนะต้น สระ ตัวสะกด วรรณยุกต์ เช่น

                           ขาด  = ข + อา + ด

                3. ประสมอักษร 4 ส่วนพิเศษ  ประกอบด้วย  พยัญชนะต้น  สระ  ตัวสะกด  วรรณยุกต์  ตัว

          การันต์ เช่น

                            เลห์  เสาร์  เคราะห์  โพธิ์


                 4.  การประสมอักษร 5 ส่วน ประกอบด้วย  พยัญชนะต้น  สระ  ตัวสะกด  วรรณยุกต์  ตัว

การันต์  เช่น

                          ศาสตร์   ชอล์ก    พราหมณ์