วันพฤหัสบดีที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2558

การซ้อนคำ 2



                                                                       การซ้อนคำ

                      เมื่อวานเรารู้เกี่ยวกับการซ้อนคำเพื่อความหมายแล้ว วันนี้เรามาดูการซ้อน

     คำเพื่อเสียง  กันบ้างดีกว่าค่ะ


            2.  คำซ้อนเพื่อเสียง  คือการนำคำมูลที่มีความหมายใกล้เคียงกันนำมาซ้อนกันเพื่อให้เกิดเสียง

คล้องจองกัน


                                          วิธีการสร้างคำซ้อนเพื่อเสียง

            -  นำคำมูลที่มีความหมายและเสียงที่ใกล้เคียงกันนำมาซ้อนกัน เช่น

 ก่อเกิด  เก่งกล้า  แข็งขัน  ขับขี่   ขัดข้อง   เคร่งเครียด  ค้างคา  บู้บี้


           -  สร้างคำที่มีเสียงคล้ายกับคำมูลที่เป็นคำหลัก   เสียงที่สร้างขึ้นมาไม่มีความหมายมีหน้าที่ เพียง

ก่อให้เกิดเสียงคล้องจองความหมายของคำยังคงอยู่ที่ศัพท์หลักและอาจมีหลายพยางค์ เช่น

โยกเยก  เยินยอ  โอนเอน  อุบอิบ  ยั่งยืน  ยัดเยียด   ชิงชัง   เทือกเถา  ผลหมากรางไม้


           -  คำมูลที่มีเสียงซ้อนกันอยู่มีลักษณะเป็นเสียงควบคู่  ดังนั้นคำชนิดนี้อาจเรียกได้ว่าคำมูลที่มี

เสียงซ้อนกัน แต่บางคนก็จัดเป็นคำซ้อนเพื่อเสียง เช่น

โลเล   โยเย   วอกแวก   ตุ้งติ้ง   ตึงตัง  ต่องแต่ง   ร่อแร่  จุกจิก   ดุกดิก  จุ๋มจิ๋ม  รุ่งริ่ง  สะเปะสะปะ




           3.   การซ้ำคำ  คือการนำคำมูลมาซ้ำคำกันเพื่อให้เกิดความหมายที่ใกล้เคัยงความหมายเดิม หรือ

เกิดความหมายใหม่เมื่อซ้ำแล้วสามารถใช้ไม้ยมก เขียนแทนคำซ้ำนั้นได้  เช่น  นานๆ  เป็นคำมูลไม่ใช่

คำซ้ำส่วนคำที่ทำหน้าที่ต่างกันในประโยคก็ไม่ใช่คำซ้ำ  เช่น


           สถานที่ที่ฉํนขอบมากที่สุดคือสวนสาธารณะ               ที่ที่ ไม่ใช่คำซ้ำ

           ของของใครทิ้งไว้เกะกะ                                              ของของไม่ใช่คำซ้ำ




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น