วันพุธที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2558
การซ้อนคำ
การซ้อนคำ
การซ้อนคำคือการนำคำมูลที่มีความหมายเหมือนคล้ายหรือตรงข้ามกัน หรือในอีกกรณี
คือมีเสียงใกล้เคียงกันมาซ้อนกันแล้วทำให้เกิดความหมายใหม่หรือความหมายใกล้เคียงกับความหมาย
เดิมมีอยู่สองชนิดคือ คำซ้อนเพื่อความหมาย และ คำซ้อนเพื่อเสียง
1. คำซ้อนเพื่อความหมาย คือการนำคำมูลที่มีความหมายใกล้เคียงกันหรือเหมือนกันมาซ้อนกัน
ทำให้เกิดความหมายใหม่หรือเหมือนเดิมแบ่งออกเป็น 4 ชนิด คือ
- ซ้อนแล้วความหมายเหมือนเดิมหรือชัดเจนมากยิ่งขึ้น เช่น จิตใจ ซื่อสัตย์ รูปร่าง ข้าทาส
- ซ้อนแล้วความหมายแคบหรือเฉพาะเจาะจงมากกว่าคำเดิม เช่น ขัดถู ใจคอ หน้าตา ดื้อดึง
- ซ้อนแล้วความหมายกว้างกว่าเดิม เช่น ถ้วยชาม ข้าวปลา พี่น้อง
- ซ้อนแล้วความหมายเปลี่ยนจากเดิม เช่น หนักแน่น ดูดดื่ม อ่อนหวาน คับแคบ
- ซ้อนแล้วความหมายความหมายไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับสถานการณ์การใช้คำซ้อนที่เกิดจากใช้คำที่มี
ความหมายตรงกันข้ามมาซ้อนกัน เช่น ผิดชอบ ชั่วดี เป็นตาย ร้ายดี แพ้ชนะ ได้เสีย
วันนี้ไว้แค่นี้ก่อนน้ะค้ะ พรุ่งนี้เราจะมาดูคำซ้อนเพื่อเสียงกันค่ะ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น