วันอาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2558
การสมาส
การสมาส
สมาสคือวิธีการผสมคำของภาษา บาลี/ สันสกฤต ไทนได้นำมาดัดแปลงเป็นวิธีการ
สมาสแบบไทยโดยมีหลักดังนี้
1. ต้องเป็นคำทีี่มาจากภษาาบาลีและสันสกฤตเท่านั้นเช่น ราชการ / ราชครู / ราชทูต / ราชบุตร
2. ศัพท์ประกอบไว้หน้าคำศัพท์หลักไว้หลัง เช่น สัตโลหะ / ภารกิจ / ปฐมเจดีย์
3.แปลความหมายจากหลังมาหน้า เช่น
อักษรศาสตร์ - วิชาว่าด้วยตัวหนังสือ
วาทสิลป์ - ศิลปะการพูด
ยุทธวิธี - วิธีการทำสงคราม
4. ท้ายศัพท์ตัวแรกห้ามใส่รูปสระ -ะ และ การันต์ เช่น
กิจการ - ไม่ใช่ กิจะการ
ธุรการ - ไม่ใช่ ธุระการ
5.ต้องออกเสียงสระที่ท้ายศัพท์ตัวแรก
อุณหภูมิ - อุน-หะ-พูม
ประวัติศาสตร์ ประ-หวัด - ติ-สาด
** ยกเว้นบางคำอ่านตามความนิยมไม่ออกเสียงสระเช่น ชาตินิยม สุภาพบุรุษ
ไตรรัตน์ ชลบุรี บุรุษเพศ ธาตุวิเคราะห์
6.คำว่า วร พระ ตามด้วยภาษาบาลีสันสกฤตถือเป็นคำสมาสเพราะ พระ แผลงมาจาก วร เช่น
วรกาย วรชายา วรดิตถ์ พระบาท พระองค์ พระโอษฐ์ พระนาสิก
*** คำว่า พระ ที่ประสมคำภาษาอื่นไม่ใช่คำสมาส เช่น พระอู่ พระเก้าอี้
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น