วันศุกร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

งานและพลังงาน ฟิสิกส์



                                                                  งาน กำลัง และ พลังงาน

          งานคือผลของแรงที่ทำให้วัตถุเคลื่อนที่ เป็นปริมาณ สเกล่าร์ ที่มีหน่วยเป็นจูลหรือนิวตัน

***** ตรงนี้สำคัญนะค่ะ ถ้ามสีแรงมากระทำต่อวัตถุ แล้ววัตถุไม่เคลื่อนที่จะไม่เกิดงานเนื่องจากแรงนั้น แต่ถ้าวัตถุเคลื่อนที่ย่อมเกิดงานเสมอค่ะ




หลักการการพื้นฐานของวิทยาศาสตร์ทั้งหมดน่าจะเป็นเรื่องพลังงาน การทำงานร่วมกันของสสารและพลังงานสร้างจักรวาลขึ้นมา สสารคือสิ่งที่มีมวลสาร สามารถมองเห็นได้สำผัสได้ รู้สึกได้ ดมกลิ่นได้ แต่พลังงานเรามองไม่เห็นดมกลิ่นไม่ได้ สำผัสไม่ได้ เราจะสังเกตพลังงานได้ก็ต่อเมื่อ

มันทำงานอย่างเช่น เราไม่สามารถมองเห็นความร้อนได้แต่เราวัดมันได้จากการที่มันทำให้อุณหภูมิของวัตถุเพิ่มขึ้นเป็นต้น เราจะศึกษานิยามของพลังงานโดยศึกษาจากเรื่องงาน

งาน
งานขึ้นอยู่กับแรงและระยะทางการเคลื่อนที่ของวัตถุ เมื่อเราออกแรงมาก และ วัตถุเคลื่อนที่ไปไกลยิ่งทำให้เกิดงานสูงมาก
เมื่อ W คือ งาน  F คือแรง  s คือ ระยะทางในแนวแรง  มุมระหว่างแรงและระยะทาง

นักยกน้ำหนักที่ถือตุ้มน้ำหนักไว้นิ่งๆ เป็นเวลานานๆไม่ได้ทำให้เกิดงาน เนื่องจากตุ้มน้ำหนักไม่ได้เคลื่อนที่แม้ว่าเขาจะรู้สึกเหนื่อยมากแต่ก็ไม่ได้ถือว่าทำงานในทางฟิสิกส์ แต่เมื่อเขาวางตุ้มน้ำหนักลงพื้นเขาได้ทำงานเนื่องจาก ตุ้มน้ำหนักมีการเคลื่อนที่
ตัวอย่างของงานเช่น งานเนื่องจากเชื้อเพลิงทำให้รถวิ่ง งานเนื่องจากการต้านแรงโน้มถ่วงเมื่อเรากระโดด งานเนื่องจากการยืดเชือกธนูเป็นต้น

กำลัง
งานพิจารณาแต่เรื่องของระยะทาง และ แรงที่กระทำกับวัตถุ การที่เราวิ่งขึ้นบ้านหรือเดินขึ้นบานเราทำงานเท่ากันแต่ทำไมเราตอนเราวิ่งขึ้นบ้านเหนื่อยกว่าเดินขึ้นบาน เรื่องนี้อธิบายได้ด้วยเรื่องกำลัง กำลังคืองานที่ทำในช่วงเวลาหนึ่ง
กำลัง=งาน
เวลา
เครื่องยนต์ที่มีกำลังมากต้องทำงานได้มากกว่าเครื่องยนต์อื่นโดยใช้เวลาเท่ากัน หน่วยของกำลังคือ จูลต่อวินาที() หรือวัตต์ (W) และหน่วยที่เป็นหน่วยโบราณคือกำลังม้าหมายถึงกำลังที่เท่ากับกำลังม้า 1 ตัว ซึ่ง 1 กำลังม้าเท่ากับ 

พลังงานกล (Mechanical Energy)
เมื่อพลธนูง้างศรมีงานถูกสร้างขึ้นมา และเมื่อธนูคืนรูปจะทำงานต่อลูกธนูทำให้ลูกธนูเคลื่อนที่ เมื่อมีงานกระทำเพื่อยกปั้นจั่นตอกเสาเข็มขึ้นสูง แล้วพอปั้นจั่นกระทุ้งลงมาก็ทำให้เกิดงานกับเสา สิ่งที่ทำให้เกิดงานคือพลังงาน เช่นเดียวกับงานพลังงานมีหน่วยเป็นจูล พลังงานมีอยู่หลายรูปแบบซึ่งจะค่อยๆอธิบายในตอนต่อๆไป แต่ตอนนี้จะอธิบายรูปแบบหลักๆของพลังงานคือพลังงานศักดิ์และพลังงานจลน์

พลังงานศักดิ์ (Potential Energy)


พลังงานศักดิ์มีอยู่ในธนู

วัตถุอาจเก็บพลังงานไว้ในปริมาณต่างๆกันขึ้นกับตำแหน่งของมัน ซึ่งเรียกว่าพลังงานศักดิ์ (Ep) ตัวอย่างเช่น การยืดหดสปริง พลังงานศักดิ์สะสมไว้ในสปริงทำให้การยืดหดของสปริงสามารถทำให้เกิดงานได้ เมื่อคันธนูถูกง้างพลังงานศักดิ์ที่สะสมอยู่ในคันธนูทำให้เกิดงานต่อลูกศรที่พุ่งออกจากธนู
พลังงานเคมีในเชื้อเพลิงก็เป็นพลังงานศักดิ์ เป็นพลังงานศักดิ์เนื่องจากเปลี่ยนตำแหน่งระดับอะตอม เป็นการแลกเปลี่ยนอิเล็กตรอนระหว่างอะตอม พลังงานศักดิ์ที่เราได้จากเชื้อเพลิง แบตเตอรี่ และอาหารทำให้เราสามารถยกวัตถุและตัวเราเองต้านกับแรงโน้มถ่วงของโลกได้
พลังงานศักดิ์ที่ขึ้นอยู่กับตำแห่งของวัตถุเรียกว่า พลังงานศักดิ์โน้มถ่วง น้ำบนเขื่อนมีพลังงานศักดิ์เท่ากับงานที่ใช้ในการยกน้ำต้านแรงโน้มถ่วงของโaลกไปยังบนเขื่อน งานที่ว่านี้มีค่าเท่ากับผลคูณของแรงกับระยะทางในการเคลื่อนที่ (W = Fs)
ถ้าแรงที่ยกน้ำเท่ากับน้ำหนักของวัตถุ( mg) ดังนั้นงานที่ทำในการยกวัตถุขึ้นสูง ก็คือ mgh
พลังงานศักดิ์ น้ำหนัก สูง
จำไว้ว่าความสูงคือระยะทางระหว่างตำแหน่งของวัตถุถึงระดับอ้างอิง เช่น พื้นสนาม พื้นห้อง เป็นต้น พลังงานศักดิ์ขึ้นอยู่เฉพาะกับค่าของ mg และ เท่านั้นไม่ขึ้นอยู่กับวิธีการของการยกวัตถุ
เมื่อปั้นจั่นตกลงมาจากที่สูงมีการเปลี่ยนแปลงพลังงานศักดิ์ไปเป็นพลังงานจลน์(พลังงานของการเคลื่อนที่) ทำให้พลังงานศักดิ์ของปั้นจั่นที่พื้นมีพลังงานศักดิ์น้อยกวาพลังงานศักดิ์ของปั้นจั่นที่อยู่สูง


a.


b.
 aพลังงานจลน์ของการผลักก้อนหินเปลี่ยนเป็นพลังงานศักดิ์ พลังงานศักดิ์มีค่าเท่ากันที่ระดับเดียวกันไม่ว่าจะยกหรือไถลหินขึ้นมา b. เมื่อก้อนหินตกลงมาจากที่สูง จะเปลี่ยนพลังงานศักดิ์เป็นกลังงานจลน์

พลังงานจลน์ (Kinetic Energy)
ถ้าเราผลักวัตถุจะเห็นว่าวัตถุเคลื่อนที่ เมื่อวัตถุเคลื่อนที่มันก็สามารถทำงานได้ วัตถุมีพลังงานของการเคลื่อนที่เราเรียกว่าพลังงานจลน์ (Ek) พลังงานจลน์ของวัตถุขึ้นอยู่กับมวลของวัตถุและอัตราเร็วของวัตถุ พลังงานจลมีค่าเท่ากับผลคูณของมวลและอัตราเร็วกำลังสองทั้งหมดหารด้วย 2
เมื่อเราปาก้อนหินเราทำงานให้กับก้อนหินมีอัตราเร็วเริ่มต้นเมื่อหลุดออกจากมือของเรา ก้อนหินสามารถเคลื่อนที่ไปชนวัตถุอื่นแล้วผลักวัตถุนั้น ทำให้เกิดงานจากการชน พลังงานจลน์เกิดขึ้นจากการที่เราให้งานเพื่อที่จะเปลี่ยนแปลงวัตถุที่อยู่นิ่งไปเป็นวัตถุที่เคลื่อนที่ หรืองานที่ทำให้วัตถุเคลื่อนที่กลับมาอยู่นิ่ง
แรง ระยะทาง = พลังงานจลน์
หมายความว่าเมื่อมีงานเกิดขึ้นพลังงานย่อมเปลี่ยนแปลง

ทฤษฏีงานพลังงาน (Work-Energy Theorem)
เมื่อเร่งอัตราเร็วของรถทำให้พลังงานจลน์ของรถเพิ่มขึ้นเนื่องมาจากงานที่กระทำต่อรถ เมื่อรถแล่นช้าหมายความว่าต้องมีงานมาลดพลังงานจลน์เราเรียกว่า
งาน ผลต่างของพลังงานจลน์

งานเท่ากับความเปลี่ยนแปลงพลังงานจลน์ สมการข้างต้นคือทฤษฏีงานพลังงานนั่นเอง งานในสมการนี้คืองานสุทธิซึ่งหมายความว่าเป็นงานที่เกิดจากแรงสุทธิ เช่นถ้าเราผลักวัตถุเราต้องเอาแรงผลักของเราลบด้วยแรงเสียดทานได้แรงสุทธิแล้วจึงคิดงานจะได้งานสุทธิ ในกรณีที่แรงเสียดทานเท่ากับแรงผลักพอดีจะได้ว่าไม่มีแรงสุทธิ ทำให้ไม่มีงานสุทธิ และไม่มีพลังงานจลน์นั่นเอง
ทฤษฏีงานพลังงานใช้กับกรณีรถลดความเร็วอย่างเช่นเวลารถเบรก พื้นถนนต้องออกแรงเสียดทานกับรถทำให้เกิดงานที่ถนนทำกับรถ งานที่ว่านี้เป็นผลคูณระหว่างแรงเสียดทานและระยะเบรก
น่าแปลกใจว่าแรงเสียดทานที่เกิดขึ้นเท่ากันไม่ว่าจะเบรกช้าๆหรือเบรกเร็วๆ เมื่อรถเบรกเปลี่ยนแรงเสียดทานไปเป็นความร้อน นักขับชั้นเซียนสามารถตบเกียร์ต่ำเพื่อเบรกได้ แต่ระบบเบรกของรถสมัยใหม่ที่เรียกว่ารถไฮบริดก็สามารถตบเกียร์ต่ำอัตโนมัติเพื่อเบรก จากนั้นเปลี่ยนพลังงานของการเบรกไปเป็นพลังงานไฟฟ้าสะสมไว้ในแบตเตอรี่ เพื่อเพิ่มพลังงานให้กับรถควบคู่กับการใช้พลังงานจากน้ำมัน

การแกว่งของลูกตุ้มนาฬิกา


ภาพจากกล้องอินฟาเรด สีเหลืองและส้มคือส่วนที่อุณหภูมิสูง
เมื่อเบรกพลังงานจากการเบรกเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อน

พลังงานของระบบต้องลดลงตามธรรมชาติเพราะพลังงานส่วนหนึ่งเสียไปกับสิ่งแวดล้อม  
ในรูปของความร้อน (พื้นร้อนขึ้นเมื่อรถวิ่งผ่าน)  และพลังเสียงเป็นต้น

อนุรักษ์พลังงาน (Conservation of Energy)

สิ่งที่สำคัญกว่าการที่รู้ชนิดของพลังงานคือการรู้ว่าพลังงานมันเปลี่ยนรูปไปอย่างไรบ้าง เราสามารถเข้าใจกระบวนการเปลี่ยนแปลงในธรรมชาติ ถ้าเราอธิบายในรูปแบบของการเปลี่ยนแปลงพลังงานจากรูปหนึ่งไปอีกรูปหนึ่ง
พิจารณาการเปลี่ยนแปลงพลังงานของนักกระโดดลงถัง งานที่ทำให้นักกระโดดขึ้นไปยังที่สูงทำให้เกิดพลังงานศักดิ์มากเมื่อนักกระโดดอยู่บนที่สูง และเมื่อกระโดดลงมาการเคลื่อนที่ตกลงมาทำให้เกิดพลังงานกลที่เกือบเท่ากับพลังงานศักดิ์เริ่มต้นก่อนกระโดด
เราบอกว่าเกือบเท่าเนื่องจากพลังงานเล็กน้อยบางส่วนถูกเปลี่ยนแปลงระหว่างการเคลื่อนที่ในรูปแบบความร้อนของการเสียดสีกันระหว่างนักกระโดดกับอากาศ และความร้อนจากการปะทะของนักกระโดดกับถัง แต่ถ้าเรารวมพลังงานความร้อนเข้าด้วยจะได้ว่าจะไม่มีพลังงานใดสูญหายไปเลย น่าทึ่งทีเดียว!
การศึกษาการเปลี่ยนรูปของพลังงานทำให้เราเข้าใจกฎพื้นฐานที่สำคัญที่สุดของวิทยาศาสตร์นั่นคือกฎอนุรักษ์พลังงาน
พลังงานไม่สามารถสร้างขึ้นใหม่ได้ ไม่สามารถทำลายได้ มีแต่เพียงเปลี่ยนรูปไปเป็นรูปอื่น แต่พลังงานรวมแล้วยังเท่าเดิม เมื่อเราพิจารณาระบบง่ายๆเช่นการแกว่งลูกตุ้มจนถึงระบบที่ซับซ้อนอย่างการระเบิดของดวงดาว ก็จะเป็นเช่นเดียวกันคือไม่มีพลังงานใดถูกสร้างขึ้นใหม่หรือถูกทำลายไป พลังงานเปลี่ยนรูปและถ่ายทอดจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งได้แต่พลังงานรวมยังมีปริมาณเท่าเดิม
อะตอมเป็นแหล่งพลังงานมหาศาลรวมกันอยู่ที่นิวเคลียสของอะตอม เมื่อมีการปลดปล่อยพลังงานออกมาในรูปแบบพลังงานนิวเคลียร์ แสงอาทิตย์เป็นส่วนหนึ่งของพลังงานนิวเคลียร์ที่เกิดขึ้นบนดวงอาทิตย์แล้วเปลี่ยนรูปเป็นรังสี
ความร้อนและแรงโน้มถ่วงมหาศาลที่แกนกลางดวงอาทิตย์ รวมให้อะตอมของไฮโดรเจนรวมกันเองได้ฮีเลียมเรียกว่า นิวเคลียร์ฟิวชันความร้อนสูง (Thermonuclear Fusion) กระบวนการดังกล่าวปลดปล่อยรังสีออกมารังสีและแสงสว่าง ซึ่งบางส่วนมายังโลก ทำให้ต้นไม้เติมโต คนและสัตว์ใช้เป็นอาหาร บ้างก็เอาถ่านไปใช้ หรือถ้าพืชทับถมกันนานๆก็ยังกลายเป็นน้ำมัน
แสงและความร้อนบางส่วนไปตกที่แหล่งน้ำทำให้ไอน้ำละเหยกลายเป็นก้อนเมฆ พอฝนตกน้ำบางส่วนก็ไปอยู่เหนือเขื่อน เมื่อมีนำเหนือเขื่อนก็ให้น้ำไหลมาปั่นไดนาโมเพื่อผลิตเป็นกระแสไฟฟ้าไว้จ่ายไปยังบ้านเรือนคนเราก็ได้ใช้พลังงานไฟฟ้าเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ตนเองในด้านต่างๆ ซึ่งถ้ามองกันให้ดีๆแล้วพลังงานไฟฟ้าที่เราได้มาก็เปลี่ยนรูปมาจากพลังงานจากแสงอาทิตย์นั่นเอง การเปลี่ยนรูปพลังงานนี้ช่างสวยงามเหลือเกิน

ขอขอบคุณ ข้อมูลและรูปภาพบางส่วน จาก google ค่ะ

วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การหักเหของเสียง




xหากมีคนถามคุณว่า "เคยเจอการหักเหของเสียงมั้ยค่ะ?" คุณจะตอบว่าอย่างไรจ๊ะ? ลองหลับตาแล้วนึกย้อนชีวิตที่ผ่านมาสักครู่ใหญ่ๆ ..... นึกออกรึยังจ๊ะ
จริงแล้ว เราแทบทุกคนคงเคยมีประสบการณ์กับการหักเหของเสียง นั่นคือ ขณะที่เกิดฝนฟ้าคะนอง แล้วเกิดแสงวาบจากฟ้าแลบ เราหลับตาปี๋ เตรียมรับเสียงฟ้าร้องที่จะตามมา 5 4 3 2 1 ...เงียบ... แล้วก็พบว่าไม่มีเสียงฟ้าร้องไม่ตามมา แล้วเสียงนั้นหายไปไหนครับ ปรากฏการณ์นี้เองคือตัวอย่างของการหักเหของคลื่นเสียง คำถามต่อมาก็คือ แล้วมันเกิดขึ้นได้อย่างไร
การหักเหของเสียงนั้นจะเกิดขึ้นเมื่อเสียงเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางต่างชนิดกันซึ่งทำให้อัตราเร็วของเสียงเปลี่ยนแปลง และอุณหภูมิที่เปลี่ยนไปก็ทำให้อัตราเร็วของเสียงเปลี่ยนแปลงไปด้วย ซึ่งเป็นสมบัติการหักเหของคลื่น ในการหักเหของคลื่นเสียงทิศทางการเคลื่อนที่ของคลื่นเสียงเปลี่ยนไปด้วย ยกเว้นเมื่อคลื่นเสียงตกตั้งฉากกับผิวรอยต่อของตัวกลางทิศทางจะไม่เปลี่ยน นอกจากนี้ลมยังมีผลต่ออัตราเร็วของเสียงในอากาศแสดงว่าลมทำให้เสียงเกิดการหักเหได้
การหักเหของคลื่นเสียงเมื่อเดินทางผ่านตัวกลางต่างชนิดกัน หรืออุณหภูมิต่างกัน จะเป็นไปตามกฎการหักเหของสเนลล์ (Snell's law) คือ

ดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดเมื่อ θ1 คือ มุมตกกระทบ
                                          เมื่อ θ2 คือ มุมหักเห
                  เมื่อλ1 , λ2 คือ ความยาวคลื่นเสียงในบริเวณที่ 1 และ 2 ตามลำดับ
                 เมื่อv1 , v2 คือ อัตราเร็วคลื่นเสียงในบริเวณที่ 1 และ 2 ตามลำดับ
                        เมื่อT1 , T2 คือ อุณหภูมิของอากาศในบริเวณที่ 1 และ 2 ตามลำดับ
xxxxxการหักเหของเสียงเมื่อคลื่นเสียงเดินทางในอากาศจากบริเวณที่มีอุณหภูมิต่ำไปสู่บริเวณที่มีอุณหภูมิสูง คลื่นเสียงจะเบนออกจากเส้นปกติ (θ< θ2) และเมื่อเสียงเดินทางจากในอากาศจากบริเวณที่มีอุณหภูมิสูงไปสู่บริเวณที่มีอุณหภูมิต่ำ คลื่นเสียงจะเบนเข้าหาเส้นปกติ (θ> θ2)
xxxxxตอนกลางวันอากาศเหนือพื้นดินจะมีอุณหภูมิสูงกว่าอากาศบริเวณด้านบน เสียงจะหักเหขึ้นสู่อากาศ ดังรูป

รูปแสดงการหักเหของเสียงตอนกลางวัน
ดดดดดส่วนตอนกลางคืนนั้น อากาศเหนือพื้นดินจะมีอุณหภูมิต่ำกว่าอากาศบริเวณด้านบน เสียงจะหักเหลงสู่พื้นดิน ดังรูป
รูปแสดงการหักเหของเสียงตอนกลางคืน
ดดดดดสำหรับกรณีที่เกิดฟ้าแลบแต่เราไม่ได้ยินเสียงฟ้าร้องนั้น เป็นเพราะว่าในขณะเกิดฟ้าแลบ ถ้าอากาศเบื้องบนมีอุณหภูมิต่ำกว่าอากาศด้านล่าง ทำให้ทิศทางของเสียงจากฟ้าร้องนั้นเบนออกจากเส้นแนวฉาก และเมื่อมุมตกกระทบโตกว่ามุมวิกฤต(ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในเรื่องการสะท้อนกลับหมดของคลื่น) จะทำให้คลื่นเสียงเกิดการสะท้อนกลับหมดไปยังอากาศเบื้องบน เราจึงไม่ได้ยินเสียงฟ้าร้อง
รูปแสดงการหักเหของเสียงทำให้ไม่ได้ยินเสียงฟ้าร้อง
ตัวอย่าง เสียงเคลื่อนที่จากบริเวณที่มีอุณหภูมิ 27 °C ไปสู่บริเวณที่มีอุณหภูมิเท่าใด จึงทำให้ความยาวคลื่น เป็น 2/3 เท่าของความยาวคลื่นเดิม
วิธีทำ จากโจทย์ T2 = 27 °C หรือ 300 K
จาก
«math xmlns=¨http://www.w3.org/1998/Math/MathML¨»«mtable columnalign=¨left¨ rowspacing=¨0¨»«mtr»«mtd»«mfrac»«msub»«mi»§#955;«/mi»«mn»1«/mn»«/msub»«msub»«mi»§#955;«/mi»«mn»2«/mn»«/msub»«/mfrac»«mo»=«/mo»«msqrt»«mfrac»«msub»«mi»T«/mi»«mn»1«/mn»«/msub»«msub»«mi»T«/mi»«mn»2«/mn»«/msub»«/mfrac»«/msqrt»«/mtd»«/mtr»«mtr»«mtd»«mfrac»«mn»2«/mn»«mn»3«/mn»«/mfrac»«mo»§nbsp;«/mo»«mo»=«/mo»«mo»§nbsp;«/mo»«msqrt»«mfrac»«mn»300«/mn»«msub»«mi»T«/mi»«mn»2«/mn»«/msub»«/mfrac»«/msqrt»«/mtd»«/mtr»«mtr»«mtd»«mfrac»«mn»4«/mn»«mn»9«/mn»«/mfrac»«mo»§nbsp;«/mo»«mo»=«/mo»«mo»§nbsp;«/mo»«mfrac»«mn»300«/mn»«msub»«mi»T«/mi»«mn»2«/mn»«/msub»«/mfrac»«/mtd»«/mtr»«mtr»«mtd»«msub»«mi»T«/mi»«mn»2«/mn»«/msub»«mo»§nbsp;«/mo»«mo»=«/mo»«mo»§nbsp;«/mo»«mfrac»«mrow»«mn»300«/mn»«mo»§#215;«/mo»«mn»9«/mn»«/mrow»«mn»4«/mn»«/mfrac»«/mtd»«/mtr»«mtr»«mtd»«msub»«mi»T«/mi»«mn»2«/mn»«/msub»«mo»§nbsp;«/mo»«mo»=«/mo»«mo»§nbsp;«/mo»«mn»675«/mn»«mo»§nbsp;«/mo»«mo»§nbsp;«/mo»«mi»K«/mi»«mo»§nbsp;«/mo»«/mtd»«/mtr»«mtr»«mtd»«mo»§nbsp;«/mo»«mo»§nbsp;«/mo»«mo»§nbsp;«/mo»«mo»§nbsp;«/mo»«mo»=«/mo»«mo»§nbsp;«/mo»«mn»402«/mn»«mo»§nbsp;«/mo»«mmultiscripts»«mi»C«/mi»«none/»«none/»«mprescripts/»«none/»«mi»o«/mi»«/mmultiscripts»«mo»§nbsp;«/mo»«/mtd»«/mtr»«/mtable»«/math»
ปปปปปนั่นคือ บริเวณนั้นมีอุณหภูมิ 402 องศาเซลเซียส


ขอขอบคุณข้อมูจาก google ค่ะ


วันเสาร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ความเข้มข้นของสารละลาย เคมี


                                                   ความเข้มข้นของสารละลาย

ความเข้มข้นของสารละลายเป็นการบอกถึงอัตราส่วนปริมาณตัวถูกละลายกับ
ปริมาณตัวทำละลายในสารละลายหนึ่ง ๆ  อัตราส่วนดังกล่าวจะมีได้ 2 ลักษณะ คือ
                      - ปริมาณของตัวถูกละลายในสารละลายทั้งหมด
                      - ปริมาณของตัวถูกละลายในตัวทำละลายทั้งหมด
ในปัจจุบันหน่วยที่นิยมใช้สำหรับระบุความเข้มข้นของสารละลายมีหลายระบบด้วยกัน
ได้แก่  ร้อยละ เศษส่วนโมล โมลาริตี โมแลลิตี ฯลฯ

 1.ร้อยละ (percents) เป็นการระบุปริมาณของตัวถูกละลายในสารละลายทั้งหมด 100
ส่วนแบ่งออกเป็น
ก.ร้อยละโดยมวล (w/w) หมายถึงมวลของตัวถูกละลายต่อมวลของสารละลาย
100หน่วย มักใช้กับตัวถูกละลายที่เป็นของแข็ง
      ให้    wA เป็นมวลของตัวทำละลาย
                wB เป็นมวลของตัวถูกละลาย

   ร้อยละโดยปริมาตร (V/V) หมายถึง ปริมาตรของตัวถูกละลายต่อปริมาตรทั้งหมด
ของสารละลาย100หน่วย มักใช้กับตัวถูกละลายและตัวทำละลายที่เป็นของเหลว
      ให้    VA เป็นปริมาตรของตัวทำละลาย
                VB เป็นปริมาตรของตัวถูกละลาย

ร้อยละโดยมวลต่อปริมาตร (w/V) หมายถึงมวลของตัวถูกละลายในสารละลายทั้งหมด
100หน่วยปริมาตรหน่วยชนิดนี้มักใช้กับสารละลายที่ตัวถูกละลายเป็นของแข็งละลายในตัวทำ
ละลายที่เป็นของเหลวเช่น    สารละลาย10 % NaOHโดยมวลต่อปริมาตร
หมายความว่า ในสารละลายมีปริมาตร100 cm3 มีNaOHละลายอยู่10กรัม

วันศุกร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ปริมาณสารสัมพันธ์ เคมี


                    ปริมาณสารสัมพันธ์    ( mole ) คือหน่วยของปริมาณสาร เราจะใช้ตัวแปรคือตัว n ค่ะ


                      เราจะใช้สูตร   สารจำนวน 1 โมล จะมีอนุภาค 6.02x10กำลัง23 อนุภาคค่ะ

6.02 x 10 กำลัง23 มาจากเะลขอาโวกาโดร  น่ะค่ะ


        อนุภาคของสารแบ่งเป็น 3 ชนิดนะค่ะ เรามาดูกันดีกว่าค่ะว่ามีอะไรบ้าง

1. อะตอม  ใช้เรียกอนุภาคที่เป็นอะตอมเดี่ยว

2. โมเลกุล ใช้เรียกสารประกอบหรือธาตุที่ไม่เป็นอะตอมเดี่ยว

3. อิออน  ใช้เรียกสารที่ไม่เป็นกลางทางไฟฟ้า


   นี่คือสูตรที่นิยมใช้กันในขณะนี้นะค่ะ

วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การจำแนกคลื่น




การสะท้อนของคลื่นในเส้นเชือก
 

การสะท้อนของคลื่นในเส้นเชือก
  • ถ้าปลายสุดของตัวกลางถูกยึดตรึงไว้ คลื่นสะท้อนที่ได้จะมีเฟสเปลี่ยนไป 180 องศาหรือมีเฟสตรงกันข้ามกับคลื่นตกกระทบ (ดูภาพบน)
  • ถ้าปลายสุดของตัวกลางเป็นปลายปล่อย คลื่นสะท้อนที่ได้จะมีเฟสเดียวกับคลื่นตกกระทบ (ดูภาพล่าง)


การสะท้อนของคลื่นในเส้นเชือกที่ต่อกัน


การสะท้อนของคลื่นในเส้นเชือกที่มีมวลต่างกัน 2 เส้นนำมาต่อกัน

  • ถ้าคลื่นเดินทางจากเชือกที่มีมวลน้อยไปสู่เชือกที่มีมวลมาก คลื่นสะท้อนในเส้นเชือก
  • ที่มีมวลน้อยกว่าจะมีเฟสตรงข้ามกับคลื่นเดิม ส่วนคลื่นที่เคลื่อนที่ไปในเส้นเชือก
    ที่มีมวลมากกว่าจะมีความเร็วคลื่นลดลง (ดูภาพเคลื่อนไหวด้านบน)
  • ถ้าคลื่นเดินทางจากเชือกที่มีมวลมากไปสู่เชือกที่มีมวลน้อย คลื่นสะท้อนใน
  • เส้นเชือกที่มีมวลมากกว่าจะมีเฟสตรงกันกับคลื่นเดิม ส่วนคลื่นที่เคลื่อนที่
    ไปในเส้นเชือกที่มีมวลน้อยกว่าจะมีความเร็วคลื่นเพิ่มขึ้น

การแทรกสอดของคลื่นวงกลม (1)
    แหล่งกำเนิดอาพันธ์หมายถึงแหล่งกำเนิดคลื่นที่มีความถี่เท่ากัน และมีเฟสตรงกันหรือต่างกันคงที่

ภาพเคลื่อนไหวนี้เป็นการแสดงการแทรกสอดของคลื่นต่อเนื่องจากแหล่งกำเนิดอาพันธ์ 2
แหล่งที่กำลังเคลื่อนที่เข้าหากัน เส้นทึบที่เห็นในภาพคือจุดยอดคลื่น ส่วนเส้นบางคือท้องคลื่น

การซ้อนทับของคลื่นนั้น เมื่อเส้นหนามาตัดกับเส้นหนา หรือเส้นบางมาตัดกับเส้นบาง จะเกิด
การรวมกันแบบเสริม เรียกว่า จุดปฏิบัพ และเมื่อเส้นหนามาตัดกับเส้นบางจะเป็น
ตำแหน่งที่คลื่นหักล้างกันจนหมด เรียกว่า จุดบัพ
ลองสังเกตดูว่าการเคลื่อนที่เข้าหากันของแหล่งกำเนิดอาพันธ์ 2 แหล่งให้ผลอย่างไรบ้าง

การแทรกสอดของคลื่นวงกลม (2)


ภาพเคลื่อนไหวนี้เป็นการแสดงการแทรกสอดของคลื่นต่อเนื่องจากแหล่งกำเนิด 2 แหล่ง
ที่อยู่กับที่แต่มีความยาวคลื่นแปรเปลี่ยนไป (เปลี่ยนพร้อมกันทั้ง 2 แหล่ง) เส้นทึบที่เห็น
ในภาพคือจุดยอดคลื่น ส่วนเส้นบางคือท้องคลื่น

การซ้อนทับของคลื่นนั้น เมื่อเส้นหนามาตัดกับเส้นหนา หรือเส้นบางมาตัดกับเส้นบาง จะเกิดการรวมกันแบบเสริม เรียกว่า จุดปฏิบัพ และเมื่อเส้นหนามาตัดกับเส้นบาง
จะเป็นตำแหน่งที่คลื่นหักล้างกันจนหมด เรียกว่า จุดบัพ
ลองสังเกตดูว่าการเปลี่ยนแปลงความยาวคลื่นของแหล่งกำเนิด 2 แหล่งให้ผลอย่างไรบ้าง

คลื่นนิ่งในเส้นเชือก

คลื่นนิ่งเป็นรูปแบบของการแทรกสอดของคลื่นตั้งแต่ 2 ขบวนขึ้นไปในตัวกลางเดียวกัน และ
มีผลทำให้เกิดตำแหน่งบัพ (node) คงที่ (หมายถึงจุดใดที่เป็นตำแหน่งบัพก็เป็นตำแหน่งบัพอยู่
เสมอ) ส่วนจุดที่เป็นตำแหน่งปฏิบัพ (antinode) ก็เป็นตำแหน่งปฏิบัพเสมอ

ในเชือกเส้นหนึ่ง (ที่มีความยาวค่าหนึ่ง) จะเกิดคลื่นนิ่งได้หลายแบบ เราเรียกแบบของคลื่นนิ่งเหล่านี้ว่า ฮาร์มอนิก (harmonic) ความถี่ที่ต่ำที่สุดที่จะทำให้เกิดคลื่นนิ่งบนเชือกเส้นนั้นได้เราเรียกว่า ความถี่มูลฐาน หรือ ฮาร์มอนิกที่ 1 ดังภาพต่อไปนี้


ความถี่ที่สูงขึ้นเป็นลำดับถัดมาจากความถี่มูลฐานที่ทำให้เกิดคลื่นนิ่งในเส้นเชือกได้อีกเราเรียกว่า ฮาร์มอนิกที่ 2 (second harmonic) หรือ โอเวอร์โทนที่ 1 (first overtone) ดังภาพต่อไปนี้
ความถี่ที่ทำให้เกิดคลื่นนิ่งในเส้นเชือก (เส้นเดิม) ในลำดับถัดขึ้นมา


วันนี้ก็หาเรื่องจำแนกคลื่นมาในดูกันนะค่ะ ต้องขอบคุณรูปสวยๆๆจาก  google   ด้วยนะค่ะ

วันอาทิตย์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การสลายตัวของกัมมันตรังสี เคมี


การสลายตัวของธาตุกัมมันตรังสี.

       
        การสลายตัวของธาตุกัมมันตรังสี  คือการที่ธาตุกัมมันตรังสีมีปลดปล่อยกัมมันตภาพรังสีออกมา  จะมีเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นภายในนิวเคลียส ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้บางครั้งจะมีธาตุใหม่เกิดขึ้น  บางครั้งไม่มีธาตุใหม่เกิดขึ้น
            การสลายตัวของธาตุกัมมันตรังสี  แบ่งพิจารณาได้ดังนี้
            1.  เมื่อสลายตัวให้รังสีแอลฟา
                               ®     +  
                        ในการสลายตัวให้รังสีแอลฟา จะพบว่าได้ธาตุใหม่เกิดขึ้น  โดยธาตุใหม่ที่เกิดขึ้นจะมีเลขมวลลดลง 4 และเลขอะตอมลดลง 2
        2.   เมื่อสลายตัวให้รังสีเบตา
                          ®    +   
                        การสลายตัวให้รังสีเบตา ก็จะพบว่ามีธาตุใหม่เกิดขึ้น  ธาตุใหม่ที่เกิดขึ้นจะมีเลขมวลเท่าเดิม  แต่เลขอะตอมจะเพิ่มขึ้น 1
            3.  เมื่อสลายตัวให้รังสีแกมมา
                        *     ®       +   g
                        การสลายตัวให้รังสีแกมมาจะพบว่า  ไม่มีธาตุใหม่เกิดขึ้น  ยังได้ธาตุเดิม
แต่มีพลังงานที่ลดลง  ไม่มีดอกจัน   ธาตุที่มีดอกจันกำกับแสดงว่ามีพลังงานสูง).

วันเสาร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ฟังก์ชัน , คาร์ทีเชียน คณิตศาสตร์



                                                                 ฟังก์ชัน

                       บทนิยาม     ฟังชัน คือ  ความสัมพันธ์ซึ่งในสองคู่อันดับใดๆ  ของความสัมพันธ์นั้น  ถ้ามมี

สมาชิกตัวหน้าเท่ากันแล้ว สมาชิกตัวหลัวต้องไม่ต่างกัน


                                                              ผลคูณคาร์ทีเชียน

                      บทนิยาม  ผลคูณคาร์ทีเชียนของเซต A และเซต B คือเซตของคู่อันดับ (a,b)

ทั้งหมดโดยที่ a เป็นสมาชิกของเซต A และ bเป็นสมาชิกของเซต B ด้วยค่ะ

วันศุกร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน ฟิสิกส์


                     สภาพการเคลื่อนที่ของวัตถุแบ่งเป็น 2 ประเภท
 คือภาพการเคลื่อนที่คงเดิม   หมายถึง อาการที่วัตถุอยู่นิ่งหรือมีความเร็วคงที่   เช่น  นักเรียนคนหนึ่งยืนอยู่นิ่ง    บนพื้น  เป็นต้น
สภาพการเคลื่อนที่เปลี่ยนแปลง หมายถึงอาการที่วัตถุมีการเคลื่อนที่ด้วยความเร่ง เช่น นักเรียนคนหนึ่งกำลังออกวิ่ง รถยนต์กำลังเบรกกะทันหัน  เป็นต้น

สภาพการเคลื่อนที่ของวัตถุมีองค์ประกอบ ดังนี้
1. แรง
ในชีวิตประจำวัน ทุกคนออกแรงกระทำต่อวัตถุต่างๆกัน เช่น ดันประตู หิ้วกระเป๋า ยกหนังสือ เข็นรถ เป็นต้น การออกแรงดังกล่าวจะบอกขนาดของแรงว่ามากหรือน้อย มักใช้ความรู้สึกเข้าช่วย เช่น รู้สึกว่ายกหนังสือออกแรงน้อยกว่าเข็นรถ การบอกขนาดของแรงดังกล่าวจะได้ข้อมูลไม่เที่ยงตรง ส่วนการบอกขนาดของแรงในทางฟิสิกส์นั้นจะบอกจากผลของแรง ได้แก่ มวลวัตถุ และการเปลี่ยนสภาพการเคลื่อนที่ของวัตถุ เพราะแรงสามารถทำให้วัตถุเปลี่ยนสภาพการเคลื่อนที่ได้(โดยกำหนดให้ขนาดของแรง 1 นิวตันคือ ขนาดแรงที่ทำให้มวล 1 กิโลกรัมเคลื่อนที่ไปตามแนวแรงด้วยความเร่ง 1 เมตร/วินาที)
จากรูป ถ้าวัตถุมีมวลขนาด กิโลกรัม เคลื่อนที่ไปตามแนวแรงด้วยความเร่ง 1 เมตร/วินาที2
แรง ที่ดึงวัตถุนั้นจะมีขนาดเท่ากับ 1 นิวตัน  แรงเป็นปริมาณเวกเตอร์มีทั้งขนาดและทิศทาง หน่วยของแรงตามระบบ SI คือนิวตัน(N)และแรงสามารถทำให้วัตถุเปลี่ยนสภาพการเคลื่อนที่ได้

1.1 แรงเสียดทาน
แรงเสียดทาน ( friction )  หมายถึง  แรงที่ต่อต้านการเคลื่อนที่ของวัตถุโดยเกิดขึ้นระหว่างผิวสัมผัสของวัตถุกับผิวของพื้น  แรงเสียดทานมีทิศตรงข้ามกับการเคลื่อนที่ของวัตถุ 

1.2 ปัจจัยที่มีผลต่อแรงเสียดทาน  
1.2.1.  มวลของวัตถุ  วัตถุที่มีมวลมากจะกดทับลงบนพื้นผิวมาก จะมีแรงเสียดทานมากกว่าวัตถุที่มีมวลน้อยซึ่งจะกดทับลงบนพื้นผิวน้อย  เช่น การวิ่งของนักกีฬา คนที่มีมวลมากจะมีแรงเสียดทานมากกว่าคนที่มีมวลน้อย


1.2.2.   ลักษณะผิวสัมผัส  ผิวสัมผัสที่เรียบจะเกิดแรงเสียดทานน้อยกว่าผิวสัมผัสที่ขรุขระ



1.2.3.   ชนิดของวัตถุ  ยางมีแรงเสียดทานมากกว่าไม้

1.3. ประเภทของแรงเสียดทาน จำแนกประเภทของแรงเสียดทานตามลักษณะการเคลื่อนที่ของวัตถุได้  2   ประเภท  คือ
1.3.1.   แรงเสียดทานสถิต (Static  Frictionคือ  แรงเสียดทานที่เกิดขึ้นระหว่างผิวสัมผัสของวัตถุยังไม่เคลื่อนที่อยู่นิ่ง) จนกระทั่งวัตถุเริ่มเคลื่อนที่ เช่น  ออกแรงผลักรถแล้วรถยังอยู่นิ่ง  เป็นต้น

แรงเสียดทานที่เกิดขึ้นนี้จะเท่ากับแรงที่มากระทำและมีค่าสูงสุดเมื่อวัตถุเริ่มจะเคลื่อนที่ 

1.3.2. แรงเสียดทานจลน์  (Kinetic Friction)  คือ  แรงเสียดทานที่เกิดขึ้นระหว่างผิวสัมผัสของวัตถุขณะที่วัตถุกำลังเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงตัว  เช่น  การกลิ้งของวัตถุ  การลื่นไถลของวัตถุและการไหลของวัตถุ เป็นต้น 


แรงเสียดทานที่เกิดขึ้นนี้จะเท่ากับแรงที่มากระทำ   ซึ่งค่าของแรงเสียดทานจลน์จะน้อยกว่าแรงเสียดทานสถิตเสมอสำหรับผิวสัมผัสเดียวกัน
1.4.  สัมประสิทธิ์ของแรงเสียดทาน  (  coefficient  of  friction  )  เป็นค่าตัวเลขที่แสดงถึงการเกิดแรงเสียดทานขึ้นระหว่างผิวสัมผัสของวัตถุ  2  ชนิด  ใช้สัญลักษณ์แทนด้วยตัวอักษร (มิว )

                      นี่คือสูตรในการใช้กฎนะค่ะ