วันอังคารที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2556

ไฟลัม แคโรไฟตา



                                                           ไฟลัมแคโรไฟตา ( Phylum Charophyta )

                                                                 



สาหร่ายในไฟลัมนี้ เรียกว่า สาหร่ายไฟ เดิมที่เดียวสาหร่ายพวกนี้จัดอยู่ในไฟลัม คลอโรไฟตาเพราะมีรงควัตถุเป็นแบบแผน

เดียวกัน กล่าวคือ มีคลอโรฟิลล์ เอ และคลอโรฟิลล์ ซี แคโรทีน และมีแซนโธฟิลล์หลายชนิด อาหารสะสมในเซลล์เป็นแป้ง 

ผนังเซลล์เป็นเซลลูโลส แต่ก็มีหลายลักษณะที่แสดงถึงว่าสาหร่ายไฟ หรือสโตนเวิร์ตส (Stoneworts) มีวิวัฒนาการสูงกว่า และ

แตกต่างจากคลอโรไฟตา สมควรแยกออกเป็นไฟลัมหนึ่งต่างหาก ด้วยลักษณะต่อไปนี้
1. สาหร่ายไฟ หรือสโตนเวิร์ตส์ เป็นสาหร่ายน้ำจืดมีขนาดใหญ่ แตกกิ่งแขนงคล้ายพืชชั้นสูง แตกกิ่งเป็นวง (Whoried) มีไรซอย

ด์ยึดเกาะพื้นดินทำหน้าที่คล้ายราก และไรซอยด์ยังช่วยขยายพันธุ์แบบไท่อาศัยเพศได้อีกด้วย
2. ทัสลัส มีลักษณะเป็นข้อ (node) และปล้อง (intornode) เหมือนพืชชั้นสูง การแตกกิ่งจะแตกออกบริเวณข้อและที่ข้อจะมี

เซลล์ที่เจริญเติบโตจำกัดเป็น เกล็ดเล็ก ๆ อยู่รอบข้อมักจะเรียกกันว่า ใบ
3. โครงสร้างที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์มีลักษณะคล้ายพืชพวกมอส แทนที่จะเป็นเซลล์เดียวอย่างของสาหร่ายสีเขียว กล่าวคือมี โอ

โอโกเนียม (Oogonium ) สร้างไข่ และแอนธิริเดียม (antheridium) สร้างสเปิร์ม ความเห็นบางท่านจึงเชื่อว่าสาหร่ายไฟในไฟ

ลัมคาโรไฟตามีวิวัฒนาการสูงสุดใน บรรดาสาหร่ายด้วยกัน
4. ตัวอย่างของสมาชิกในไฟลัมคาโรไฟตามีประมาณ 6 จีนัส 250 ชนิด นิยมเรียกกันว่าสาหร่ายไฟ (Stoneworts) สำหรับจีนัส

คารา (Chara sp.) และ Brittle worts สำหรับจีนัสไนเทลลา (Nitella sp.) ทั้งคารา และไนเทลลาชอบขึ้นในน้ำจืดที่มีน้ำใส พืน

ดินเป็นโคลนตม และมีหินปูน โดยเฉพาะคาราสามารถตรึงแคลเซียมคาร์บอเนตมาสะสมที่ผนังเซลล์ทำให้มีลักษณะ แข็งและ

สากมือ ด้วยเหตุที่มีหินปูนสะสมอยู่ในผนังเซลล์นี้เอง จึงเรียกว่า Stone worts  

วันอาทิตย์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2556

ไฟลัม ยูกลีโนไฟตา



                                                               ไำฟลัมยูกลีโนไฟตา

                                                    
                                                             
สาหร่ายในดิวิชันนี้เรียกว่า ยูกลีนอยด์ (euglenoid) ซึ่งจัดเป็นโปรโตซัวในคลาสแฟลก เจลลาตาด้วย

แหล่งที่พบ ในน้ำจืด ในดินชื้นแฉะ

ลักษณะ

1 มีคลอโรฟิลล์เป็นชนิด เอ และ บี คาโรทีน แซนโทฟิลล์

2 อาหารสะสมเป็นแป้ง เรียกว่า พาราไมลัม (Paramylum)

3 ไม่มีผนังเซลล์ มีแต่เยื่อเซลล์เหนียวๆ เรียกว่า Pellicle ทำหน้าที่เป็นขอบเขตของเซลล์

4 เป็นเซลล์เดียวมีแฟลกเจลลา 1-3 เส้นอยู่ทางด้านหน้า

5 ตัวอย่างของสาหร่ายดิวิชันนี้ได้แก่ ยูกลีนา (Euglena) และฟาคัส (Phacus)
ความสำคัญ
มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ เช่น ไดอะตอมมีสารพวกซิลิกา