วันเสาร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ไฟลัม โรโดไฟตา



                                                         ไฟลัมโรโดไฟตา
                                           

                                  คือ พวกสาหร่ายสีแดง พบตามริมชายฝั่งทะเล

        ภายในเซลล์มีรงควัตถุพวก Phycoerythrein สาหร่ายสีแดง สามารถนำมาทำอาหารได้

       เรียกว่า จีไฉ่ มีพวกที่สามารถนำมาสกัดทำเครื่องสำอางได้ และทำ ยาขัดรองเท้าได้


1. สาหร่ายในไฟลัมนี้เรียกว่า สาหร่ายสีแดง (red algae) มีอยู่ประมาณ 3,900 สปีซีส์ รงควัตถุภายในพลาสติดที่มีปริมาณมากนั้นมีสีแดง คือ คลอโรฟิลล์ ดี และไฟโคอิริทริท (Phycoerythrin) บางครั้งสาหร่ายสีแดงอาจปรากฏเป็นสีน้ำเงินเพราะมีรงควัตถุพวกไฟโคไซยานิน (Phycocyanin) รวมอยู่ในพลาสติดด้วย อย่างไรก็ตามสาหร่ายสีแดงก็มี คลอโรฟิลด์ เอ ซึ่งเป็นรงควัตถุหลักในการสังเคราะห์แสง และที่น่าสนใจอีกอย่างก็คือสาหร่ายแดงมีรงควัตถุแบคทิริโอคลอโรฟิลล์ เอ เหมือนดังที่พบในแบคทีเรียที่สังเคราะห์แสงด้วย

2. ส่วนประกอบของเซลล์
2.1 ผนังเซลล์ ประกอบด้วยผนังเซลล์ชั้นใน เป็นพวกสารเซลลูโลส และผนังเซลล์ชั้นนอกเป็นสารเมือกพวกซัลเฟตเตต แกแลกแตน (Sulfated galactan) ได้แก่ วุ้น (Agar) พอร์ไฟแรน (Porphyran) เฟอร์เซลเลอแรน (Furcelleran) และคาร์ราจีแนน (Carrageenan)
2.2 คลอโรพลาสต์มี 2 แบบ คือบางพวกมีลักษณะเป็นแฉกรูปดาว และมีไพรีนอยด์ตรงกลาง บางพวกมีลักษณะกลมแบน
2.3 อาหารสะสมเป็นแป้งมีชื่อเฉพาะว่า ฟลอริเดียนสตาซ (Floridean starch) อยู่ในไซโทพลาสซึม นอกจากแป้งแล้วยังสะสมไว้ในรูปของน้ำตาล ฟลอริโดไซด์ (Floridoside) ซึ่งทำหน้าที่เหมือนน้ำตาลซูโครสในสาหร่ายสีเขียวและพืชชั้นสูง
2.4 สาหร่ายสีแดงเป็นสาหร่ายพวกเดียวที่ทุกระยะไม่มีแฟลกเจลลัมในการเคลื่อนที่
2.5 ภายในเซลล์มีทั้งชนิดที่มีนิวเคลียสเดียว และหลายนิวเคลียส
2.6 ส่วนใหญ่อยู่ในทะเลมีบางชนิดเท่านั้นที่อยู่ในน้ำจืด
2.7 ตัวอย่างของสาหร่ายในไฟลัมนี้ ได้แก่
- พอร์ไฟรา (Porphyra) เมื่อตากแห้งแล้วใช้ใส่แกงจืดที่เรียกกันว่า จีฉ่าย กราซิลาเรีย (Gracilaria) นำมาสกัดสารคาร์แรกจิแนน (carrageenan) ใช้ในการทำวุ้น (agar) ซึ่งมีความสำคัญในการทำอาหารเลี้ยงจุลินทรีย์ ทำเครื่องสำอาง ทำยาขัดรองเท้า ครีมโกนหนวด เคลือบเส้นใย ใช้ทำแคปซูลยา ทำยา และใช้เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เห็ดรา และราเมือก
- กราซิลาเรีย (Gracilaria) นำสารสกัดสารคาร์แรกจิแนน (Carrageenan) ใช้ในการทำวุ้น (agar) ซึ่งมีความสำคัญในการทำอาหารเลี้ยงจุลินทรีย์ ทำเครื่องสำอาง ทำยาขัดรองเท้า ครีมโกนหนวด เคลือบเส้นใย ใช้ทำแคปซูลยา ทำยา และใช้เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

วันศุกร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ไฟลัม ฟีโอไฟตา



                                                       ไฟลัมฟีโตไฟตา

                                               คือ พวกสาหร่าย สีน้ำตาล
                                              

       เป็นสาหร่ายที่มีรงควัตถุสีน้ำตาลอยู่กับคลอโรฟิลล์ ส่วนใหญ่อยู่ในน้ำเค็ม มักมีขนาดใหญ่ ประกอบด้วยเซลล์จำนวน

มาก สาหร่ายสีน้ำตาลที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือ เคลป์ (Kelp)ซึ่งแผ่กระจายอยู่ในทะเลหรือมหาสมุทร มีความสำคัญต่อสัตว์น้ำ

นานาชนิด ทั้งในแง่ที่เป็นอาหาร แหล่งที่อยู่และที่หลบภัย

               นอกจากนั้นยังมีสาหร่ายสีน้ำตาลชนิดอื่นที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจต่อมนุษย์ ได้แก่ ลามินาเรีย (Laminaris sp.) พาได

นา (Padina sp.) และฟิวกัส (Fucus sp.) สาหร่ายทั้ง ชนิดนี้สามารถนำมาทำปุ๋ยโพแทสเซียมได้ดี มีการสกัดสารแอล

จิน (algin) จากลามินาเรียและเคลป์ มาใช้ในอุตสาหกรรมหลายประเภา เช่น อุตสาหกรรมทำยา ทำอาหาร เส้นใย กระดาษ 

ยาง สบู่ ฯลฯ สาหร่ายสีน้ำตาลบางชนิดสามารถนำมาใช้เป็นอาหารได้ ยังให้ไอโอดีนสูงอีกด้วย เช่น ซาร์แกสซัม 

(Sargassum sp.) หรือที่เรียกว่าสาหร่ายทุ่น

วันพุธที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ไฟลัม คลอโรไฟตา (สาหร่าย)



                                                         ไฟลัมคลอโรไฟตา (สาหร่า่ย)



  •    คือสาหร่าย สีเขียว มีทั้งพวกเซลล์เดียวและอยู่กันเป็นกลุ่ม

  •    ภายในเซลล์มีรงควัตถุพวกคลอโรฟิลล์ แซนโทฟิลล์ และ แคโรทีน

  •   ผนังเซลล์มีสารประกอบพวก เพกทีน เซลล์ลูโลส

  • เช่นการสืบพันธุ็์ทั้งแบบอาศัยเพศ และไม่อาศัยเพศ
เช่น คลอเรลลา สไปโรไจรา  รงควัตถุ เม็ดสีที่อยู่ในพืช

        รงควัตถุ ของพืช มีคลอโรฟิลล์ แคโรทีนอย

ไฟลัม คริโซไฟตา (พวกสาหร่าย)



                                                          ไฟลัมคริโซไฟตา (พวกสาหร่าย)

                              คือ สาหร่ายสีน้ำตาลแกมเหลือง ภายในเซลล์มีรงควัตถุสีเหลือง

                  ผนังเซลล์เป็นพวก เพกทิน กับ ซิลิกา

                                                                   สมาชิกสำคัญ

                              คือ ไดอะตอมเป็นสาหร่ายที่ประกอบด้วยฝา 2 ฝาประกบกัน

                       ผนังเซลล์มีลวดลายสวยงามมาก เป็นแหล่งอาหารสำคัญของโลก

                   เพราะเป็นผู้ก่อระบบนิเวศทั้งในน้ำจืดและทะเล


วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ไฟลัมโปรโตซัว




บล๊อกนี้เรามาดูไฟลัมกันนะค่ะ อันนี้เป็นไฟลัมแรกเลย

                                                                     ไฟลัมโปรโตซัว

                   ลักษณะสำคัญ

1. อยู่กันอย่างโดดเดี่ยว บางกลุ่ม หรือ โคโลนี

                                                      2. ขนาดเล็ก มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า                

3. เคลื่อนที่โดยใช้                                          

      - เท้าเทียม

      - ซิเลีย

      - แฟลกเจลลา

      -  ไม่มีอวัยวะในการเคลื่อนที่ เช่น พลาสโมเียม


วันเสาร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ยูกลีโนไฟตา


                                                               ยูกลีโนไฟตา

ฟลัมยูกลีโนไฟตา (Phylum Euglenophyta)

สาหร่ายในดิวิชันนี้เรียกว่า ยูกลีนอยด์ (euglenoid) ซึ่งจัดเป็นโปรโตซัวในคลาสแฟลก เจลลาตาด้วย
แหล่งที่พบ ในน้ำจืด ในดินชื้นแฉะ

ลักษณะ

1 มีคลอโรฟิลล์เป็นชนิด เอ และ บี คาโรทีน แซนโทฟิลล์

2 อาหารสะสมเป็นแป้ง เรียกว่า พาราไมลัม (Paramylum)

3 ไม่มีผนังเซลล์ มีแต่เยื่อเซลล์เหนียวๆ เรียกว่า Pellicle ทำหน้าที่เป็นขอบเขตของเซลล์

4 เป็นเซลล์เดียวมีแฟลกเจลลา 1-3 เส้นอยู่ทางด้านหน้า

5 ตัวอย่างของสาหร่ายดิวิชันนี้ได้แก่ ยูกลีนา (Euglena) และฟาคัส (Phacus)

ความสำคัญ

มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ เช่น ไดอะตอมมีสารพวกซิลิกา

วันศุกร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2556

อาณาจักรไพโรไฟตา


                               อาณาจักไพโรไฟตา

ได้แก่ ไดโนเฟลเจลเลต เช่น คริพโทโมเนสม ไคโลโมเนส

โกนีออแลกเซอราเทียม ยิมโนโดเนียม  กลุ่มนี้มีแฟลเจลลา 2 อัน 

พบทั้งน้ำจืดและน้ำเค็ม บางครั้งก็ก่อปัญหา เช่น ขี้ปลาวาฬทำให้สัตว์น้ำ

เป็นอันตรายครั้งละมากๆ

                           คริสโซไฟตา

ด้แก่พวกสาหร่ายสีน้ำตาลแกมเหลือง หรือสาหร่ายสีทอง
แหล่งที่พบ พบได้ทั่วไปทั้งในน้ำจืด น้ำเค็ม

ลักษณะ

1. สาหร่ายสีน้ำตาลแกมทอง ( goldenbrown algae ) มีประมาณ 16,600 สปีชีส เป็นผู้ผลิตที่มีมากที่สุดในทะเล

2. รงควัตถุที่พบในเซลล์มีรงควัตถุสีเขียว คือ คลอโรฟิลล์ เอ และคลอโรฟิลล์ ซี และมีรงควัตถุสีน้ำตาล คือ ฟิวโคแซนทิน (Fucoxanthin) ซึ่งมีมากที่สุดถึง 75 % ของรงควัตถุทั้งหมด และลูเทอริน (Luthein) ปริมาณมากกว่าคลอโรฟิลล์จึงทำให้มีสีน้ำตาลแกมทอง

3. มีทั้งพวกเซลล์เดียวและหลายเซลล์อยู่กันเป็นสายหรือรวมเป็นกลุ่ม

4. ผนังเซลล์มีสารพวกซิลิกา (Sillica) สะสมอยู่ประมาณ 95% ทำให้มีลวดลายสวยงามมาก ผนังเซลล์ที่มีซิลิกาเรียก ฟรุสตุล (Frustule) ฟรุสตุลประกอบด้วย ฝา 2 ฝา ครอบกันอยู่สนิทแน่น แต่ละฝาเรียกทีกา (Theca) ฝาบนเรียก อีพิทีกา (Epitheca) มีขนาดใหญ่กว่าครอบอยู่บนฝาล่างซึ่งมีขนาดเล็กกว่าเล็กน้อย เรียก โฮโปทีกา (Hypotheca)

5. อาหารสำรองภายในเซลล์คือ หยดน้ำมัน (Oil droplet) และเม็ดเล็ก ๆ ของสารประกอบคาร์โบโฮเดรตชนิดพิเศษ เรียกว่า ลิวโคซิน (Leucosin) หรือ คริโซลามินารีน (Chrysolaminarin)

6. การสืบพันธุ์มีทั้งแบบไม่อาศัยเพศโดยการแบ่งเซลล์ออกเป็น 2 ส่วน ซึ่งเป็นการเพิ่มจำนวนที่พบเสมอ ๆ ส่วนอีกแบบหนึ่งเป็นแบบอาศัยเพศ
ความสำคัญ มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ เช่น ไดอะตอมมีสารพวกซิลิกา

วันพฤหัสบดีที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2556

อาณาจักร โพรทิสตา



                                                                อาณาจักร โพรทิสตา

                     เป็นสิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถจัดเข้ากับกลุ่มใดได้ เนื่องจากมีลักษณะก้ำกึ่ง

           ระหว่างพืชและสัตว์ เซลล์แบบ ยูคารีโอต มีนิวเคลียส มีไมโทคอนเดรีย กอลจิบอดี

           อาจมีหรือไม่มีคลอโรฟิลล์  อาจมีหรือไม่มีผนังเซลล์ก็ได้       แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่

1. สาหร่ายเซลล์เดียว

2.ราเมือก

3.สัตว์เซลล์เดียว

        สาหร่ายเซลล์เดียวมี 3 ดิวิชัน คือ          โพโรไฟตา
       
                                                                      คริสโซไฟตา

                                                                      ยูกลีโนไฟตา

         ราเมือก  มีทั้งหมด 2 ดิวิชัน    คือ         มิกโซไมโคตา

                                                                  อะคราซิโอไมโคตา

         สัตว์เซลล์เดียว  มีทั้งหมด 3 ไฟลัม คือ   ซาร์โคแมสทิโกฟอรา

                                                                         อะพิคอมเพลกซา

                                                                          ซิลิโอฟอรา


วันพุธที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2556

อาณาจักรโมเนอรา



                                                              อาณาจักรโมเนอรา

                        เป็นอาณาจักรที่ต่ำที่สุด มีเซลล์แบบโพคาริโอต ไม่มีนิวเคลียส

ไม่มีไมโทรคอนเดรีย ไม่มีเอ็นโดพลาสมิกเรติคิวลัม ไม่มีกอลจิบอดี

แบ่งออกเป็น 2 ดิวิชัน คือ ชิโซไฟตา และไซยาโนไฟตา


******* ชิโซไฟตา  คือพวกแบคทีเรีย

                                                        ลักษณะของสิ่งมีชีวิต

1. มีขนาดเล็ก

2. ลักษณะรูปร่าง 3 ลักษณะ



   2.1  กลม cocus

   2.2 แท่งยาว  bacillus

   2.3 เกลียว spirillum

                                                        ประโยชน์ของแบคทีเรีย

1.   ช่วยในการหมักดอง

 2.  ใช้เป็นปุ๋ย

3.   ทดสอบคุณภาพน้ำ

4. ผลิตยาปฏิชีวนะ

5.  ย่อยซากสัตว์

6. ผลิตนมเปรี้ยวและโยเกิร์ต

                                                     โทษ

1. สารพิษ

2. ทำให้เกิดโรคต่างๆ

******อิโคลายในน้ำ จะทำให้ท้องเสีย********




วันอังคารที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2556

อาณาจักรพืช




      อาณาจักรพืช

หลักเกณฑ์ ที่ใช้ในการพิจารณาให้อยู่ในอาณาจักรพืช

สามารถสร้างอาหารได้เอง เพราะมีคลอโรฟิลล์
เคลื่อนที่ไม่ได้ แต่เคลื่อนไหวได้ เพราะมีการดำรงชีวิต                    

แบบผู้ผลิตสามารถเปลี่ยนพลังงานแสงเป็นพลังงานเคมีได้

เซลล์มีผนังเซลล์ มีการตอบสนองของสิ่งเร้าช้า

เพราะไม่มีระบบประสาท เซลล์เป็นแบบ

Eukaryotic   cell (มีเยื่อหุ้มนิวเคลียร์)

เราสามารถ จำแนกสิ่งมีชีวิตในอาณาจักร

พืชได้ 9 ดิวิชั่นค่ะ  มาติดตามดิวิชั่นแรก พรุ่งนี้นะค่ะ......



วันจันทร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การถ่ายทอดอิเล็กตรอนแบบไม่เป็นวัฎจักร



การถ่ายทอดอิเล็กตรอนแบบไม่เป็นวัฎจักร




  •  การถ่ายทอดอิเล็กตรอน วิธีนี้ต้องใช้ระบบแสง 2 ระบบ คือ ระบบที่แสงที่1
และระบบแสงที่ 2

  •   การถ่ายทอดอิเล็กตรอน วิธีนี้ต้องมีการสลายตัวของโมเลกุลน้ำจึงเรียกได้อีกอย่าง
ว่า  กระบวนการโฟโตไลซิส อาจเรียกอีกชื่อว่า ปฏิกิริยา

  •   ปฎิกิริยานี้มีการสร้าง ATP และ NADPH+H+  ด้วย



วันเสาร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2556

เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ ( สังคม )



เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาข้อมูลทางภูมิศาสตร์  
                 

เครื่องมือประเภทอุปกรณ์ทางภูมิศาสตร์ 
อุปกรณ์ทางภูมิศาสตร์  หมายถึง  อุปกรณ์ที่ใช้วัดหรือเก็บข้อมูลทางภูมิศาสตร์ในด้านต่างๆ  เช่น  ทิศ  ระยะทาง  ความสูง  ตำแหน่งที่ตั้ง อุณหภูมิของอากาศ  และปริมาณน้ำฝน  เป็นต้น  สรุปได้ดังนี้ 

     เข็มทิศ  เป็นเครื่องมือบอกทิศอย่างง่ายๆ  โดยจะทำปฏิกิริยากับแม่เหล็กโลก และแสดงค่าค่าของมุมบนหน้าปัด  วิธีใช้เข็มทิศ คือ วางเข็มทิศในแนวระนาบ ปรับหมุนหน้าปัดให้ทิศบอกค่าบนหน้าปัดอยู่ในตำแหน่งที่หันไปทางทิศเหนือแม่เหล็กโลก 
            ต่อจากนั้นจึงนำเข็มทิศหันเข้าหาตำแหน่งที่ต้องการวัดมุม เช่น เสาธงโรงเรียน  เข็มทิศก็จะบอกให้ทราบว่าเสาธงของโรงเรียนอยู่ในทิศใด  และทำมุมกี่องศากับทิศเหนือแม่เหล็กโลก 
เครื่องมือวัดพื้นที่ (Planimeter) มีลักษณะคล้ายไม้บรรทัดทำด้วยโลหะยาวประมาณ  ฟุต  ใช้สำหรับวัดพื้นที่ในแผนที่  โดยเครื่องจะคำนวณให้ทราบค่าของพื้นที่และแสดงค่าบนหน้าปัด

      

     เทปวัดระยะทาง  ใช้สำหรับวัดระยะทางของพื้นที่  เมื่อลงไปสำรวจหรือเก็บข้อมูลภาคสนาม  เทปวัดระยะทางมี  ชนิด  ได้แก่  เทปที่ทำด้วยผ้า  เทปที่ทำด้วยโลหะ  และเทปที่ทำด้วยโซ่

     เครื่องมือย่อขยายแผนที่
  
(Pantograph)  เป็นอุปกรณ์ที่ใช้จัดทำแผนที่อย่างหนึ่ง  เพื่อย่อหรือขยายแผนที่ให้ได้ขนาดหรือมาตราส่วนตามที่ต้องการ  โดยทั่วไปนิยมใช้แบบโต๊ะไฟ  ซึ่งมีแท่นวางแผนที่ต้นฉบับและมีไฟส่องอยู่ใต้กระจก  ทำให้แผนที่ต้นฉบับปรากฏเป็นเงาบนกระจกอย่างชัดเจน  ทั้งนี้ผู้จัดทำแผนที่  ดังกล่าว จะต้องลอกลายเพื่อย่อหรือขยายแผนที่ด้วยมือของตนเอง 





      กล้องวัดระดับ (Telescope)   เป็นอุปกรณ์วัดระดับความสูงจากพื้นดิน  เพื่อสำรวจพื้นที่สร้างถนน  โดยจะช่วยกำหนดระดับแนวถนนได้ตามที่ต้องการ
         
     กล้องสามมิติ หรือ สเตริโอสโคป (Stereoscope) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ดูรูปถ่ายทางอากาศ เพื่อพิจารณาความสูงต่ำของลักษณะภูมิประเทศในพื้นที่นั้นๆ 

เครื่องมือวัดลักษณะอากาศ
  เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ศึกษาทางภูมิศาสตร์อย่างหนึ่ง  มีหลายชนิดดังนี้
  เครื่องมือวัดลักษณะอากาศ 
        เทอร์โมมิเตอร์  (Thermometer)  เป็นอุปกรณ์ที่ใช้วัดอุณหภูมิของอากาศ  ดยทั่วไปนิยมใช้แบบหลอดแก้วที่บรรจุปรอทหรือแอลกอฮอล์ไว้ภายใน  ค่าของอุณหภูมิมี  ระบบดังนี้
1         ระบบเซนเซียส   ( 0 - 100  องศา )
2         ระบบฟาเรนไฮต์   ( 32 – 212  องศา )

        บารอมิเตอร์   (Barometer)  เป็นอุปกรณ์ที่ใช้วัดความกดอากาศ  มี  2  ชนิด คือ
        แบบปรอท  ซึ่งประกอบด้วยอุปกรณ์สำคัญ อย่าง คือ หลอดแก้วและอ่างแก้วที่บรรจุปรอท

 

         แบบแอนิรอยด์   
(Aneroid) เป็นแบบตลับโลหะขนาดเล็ก ที่หน้าปัดมีเข็มแสดงค่าความกดอากาศไว้

   
    

        แอโรเวน (Aerovane) เป็นอุปกรณ์สำหรับวัดทิศทางและวัดความเร็วของลม  แยกตามลักษณะการใช้งานได้  2  ชนิด  ดังนี้ 
               แอนนิโมมิเตอร์  (Anemometer)   ใช้วัดความเร็วของลม

      

                 วินเวน 
(Wind  Vane)  ใช้วัดทิศทางของลม  มีลักษณะเป็นรูปไก่ หรือ ลูกศร

         

                 เครื่องวัดน้ำฝน  
(Rain Gauge)  ทำด้วยโลหะทรงกระบอกซ้อนกัน  ชั้น 


                    ไฮโกรมิเตอร์ (Hygrometer) ใช้วัดความชื้นของอากาศ  โดยมีเส้นผมเป็นอุปกรณ์สำคัญ  ถ้าอากาศมีความชื้นสูงจะทำให้เส้นผมยืดตัว  แต่ถ้าความชื้นน้อยเส้นผมจะหดตัว  ทั้งนี้หน้าปัดจะแสดงค่าความชื้นบนกระดาษกราฟให้เห็น 
     ไซโครมิเตอร์  (Psychometer)  เป็นอุปกรณ์ที่ใช้วัดความชื้นของอากาศอีกแบบหนึ่ง ประกอบด้วย เทอร์โมมิเตอร์  2  อัน เทอร์โมมิเตอร์ปรอท  (เทอร์โมมิเตอร์ตุ้มแห้ง)  และเทอร์โมมิเตอร์ที่ใช้ผ้ามัสลินหล่อน้ำให้เปียกอยู่ตลอดเวลา (เทอร์โมมิเตอร์ตุ้มเปียก)                                                                                                                         






วันศุกร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2556

โรคเอดส์



วันนี้เรายังอยู่ในบทชีวะกันนะค่ะ วันนี้นำเสนอเรื่องโรคเอดส์



วัคซีนโรคเอดส์ AIDE

วัคซีนกับโรคเอดส์
 
            ยาต้านไวรัสเอดส์ หรือบางคนเรียกสั้นๆ ว่า "ยาต้าน" ศัพท์ทางหมอจะเรียกกันว่า เออาร์วี (ARV) อ่านว่า เอ-อา-วี ย่อมาจาก (Antiretroviral) ก็คือยาที่ทางการหมอทั่วโลกรับรองว่าใช้ในการรักษาผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์ได้ ซึ่งในปัจจุบันมียาต้านไวรัสเอดส์มากมาย แต่ในหนังสือเล่มนี้จะกล่าวถึงก็เฉพาะยาต้านไวรัสเอดส์ที่มีใช้ในเมืองไทย ทั้งการซื้อหามาจากต่างประเทศ และองค์การเภสัชกรรม ในประเทศไทยผลิตได้เอง ทำไมถึงเรียกว่า "ยาต้าน" ก็ต้องเข้าใจก่อนว่ายังไม่มียาที่รักษาโรคเอดส์ให้หายขาดได้ (ใจเย็นๆนะ อาจจะมีข่าวดีในไม่ช้านี้ก็ได้) เพียงแต่ยาพวกนี้สามารถเข้าไปช่วยยับยังการแพร่พันธุ์ทำให้เชื้อไวรัสเอดส์ลดน้อยลงได้ และไม่ให้มันเข้าไปทำลายเซลส์เม็ดเลือดขาวของเรานั่นเอง ซึ่งยาเหล่านี้เราสามารถจัดแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ ดังนี้


 
         กลุ่มที่ 1 คือกลุ่มที่จะเข้าไปต่อต้านไม่ให้เชื้อไวรัสเอดส์เข้าไปในเซลส์เม็ดเลือดขาว ก็เหมือนกับคนเก็บบัตรหนังบัตรลิเกบ้านเรานั่นแหละ ไม่มีบัตรก็เข้าไม่ได้ ส่วนชื่อทางการหมอก็คือ กลุ่มนิวคลีโอไซด์ อะนาล็อก รีเวอร์ส ทรานสคริบเตส อินฮิบิเตอร์ (NRTIs ย่อมาจาก Nucleoside Analog Reverse Transcriptase Inhibitors) หรือเรียกสั้นๆ ว่า กลุ่ม นิวคลีโอไซด์
         กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มที่คล้ายๆ กันกับกลุ่มแรก แต่จะมีกระบวนการต่อต้านที่แตกต่างกันจากกลุ่มแรก เช่นอาจจะเป็นคนเก็บตั๋วที่เข้มงวดมากขึ้น มีเด็กมาด้วยก็เก็บครึ่งหนึ่งเป็นต้น มีชื่อทางการว่า กลุ่ม น็อนนิวคลีโอไซด์ รีเวอร์ส ทรานสคริปเตส อินฮิบิเตอร์ (NNRTIs ย่อมาจาก Non-Nucleoside Reverse Transcriptase Inhibitors) เรียกสั้นๆ ว่า น็อนนิวคลีโอไซด์ เพิ่มคำว่า น็อนนำหน้าอีกคำเดียวเท่านั้น
          กลุ่มที่ 3 มีชื่อว่า กลุ่มโปรติเอส (Protease Inhibitors) หรือกลุ่ม พีไอ (PIs) ยากลุ่มนี้จะช่วยควบคุมจำนวนเชื้อไวรัสไม่ให้เพิ่มจำนวนมากขึ้น หรือถ้าเพิ่มขึ้นก็จะทำให้เชื้อเอดส์มีสภาพที่ไม่สมบูรณ์ พิกลพิการ และไม่สามารถแพร่พันธ์ออกลูกออกหลานได้อีก (ถ้าพูดแบบชาวบ้านๆ ก็คล้ายกับการกินยาคุมกำเนิด แต่คุมไม่ได้ออกมาก็อาจจะพิการได้นั่นแหละ) แต่ยากลุ่มนี้ค่อนข้างมีราคาแพงอยู่ ถึงแม้ว่าจะมีการลดราคายาลงมาบ้างแล้วก็ตาม
 

 
การดื้อยา 
            หลังจากที่ผู้ติดเชื้อหรือผู้ป่วยเอดส์ ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอดส์ไประยะหนึ่งแล้ว (นานแค่ไหนก็บอกไม่ได้ ขึ้นอยู่กับการกินยาตรงตามเวลา กินยาครบทุกมื้อที่กำหนด กินยาอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องหรือไม่ เพราะบางคนก็อาจจะลืมกินยา เป็นต้น) เชื้อโรคเอดส์ที่เกิดขึ้นมาใหม่และเพิ่มจำนวนขึ้นมาแล้ว มันพยายามที่จะปรับตัวมันใหม่รูปร่างหน้าตาก็เปลี่ยนไปไม่เหมือนเดิม (ก็พวกกลายพันธุ์ที่พูดไว้ตอนต้นนั่นแหละ) ทำให้ยาที่กินไปนั้นไม่รู้จักมัน และฆ่ามันไม่ได้ เหมือนพวกโจรผู้ร้ายที่ปลอมตัวหนีตำรวจไม่ให้จับได้ยังไงยังงั้นแหละ ดูซิว่ามันฉลาดแค่ไหน ถึงตอนนี้ก็คงรู้แล้วนะว่าทำไมเราถึงกำจัดเจ้าไวรัส วายร้ายไม่หมดซักที
 
 

วันพฤหัสบดีที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Microscope กล้องจุลทรรศ์




                                                      Microscope  กล้องจุลทรรศ์


1.  Light microscope       =      ใช้แสง

             -       simple light  microscope

             -       compound  light  microscope

             -       stereoscopic     microscope



2.   Electron  microscope         =    ลำแสงอิเล็กตรอน

             -     transmission     =   tem  แบบส่องผ่าน = วัตถุบางมาก

             -     scanning          =   sme  แบบส่องกราด = 3D



เลนส์ใกล้ตา    =   eyepiece lense

เลนส์ใกล้วัตถุ  = objective  lense

แขนกล้อง      = arm

ฐานวางสไลด์ = stage

ปุ่มปรับหยาบ  =  coarse adjustment

ปุ่มปรับละเอียด  = fine adjustment

ฐาน                = base

วันจันทร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2556

สาเหตุของความหลากหลายทางพันธุกรรม


สาเหตุของความหลากหลายทางพันธุกรรม


         มิวเตชั่นเป็นสาเหตุเบื้องต้นของความหลากหลายทางพันธุกรรม

ซึ่งเมื่อผนวกกับปัจจัยเริ่มต่างๆก็ทำให้เกิดความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต

และระบบนิเวศได้นอกจากนี้  เทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ อาทิ

การถ่ายทอดหน่สยพันธุกรรมให้แก่เซลล์โดยเทคนิคการเพาะเลี้ยงเซลล์

และเทคโนโลยีระดับโมเลกุล ก็เป็นวิธีการรั้งความหลากหลายของกลุ่มหน่วยพันธุกรรม

ได้เช่นเดียวกัน

        ความหลากหลายแบบนี้วัดได้จากจำนวนชนิดของสิ่งมีชีวิต

และจำนวนประชากรของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดรวมทั้งโครงสร้าง

อายุ และเพศ ของประชากรด้วย

วันอาทิตย์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การกำหนดชื่อวิทยาศาสตร์ของสิ่งมีชีวิต



การกำหนดชื่อวิทยาศาสตร์ของสิ่งมีชีวิต

ค.ศ. 1758 Carlorus Linnaeus  บิดาแห่งวิชา อนุกรมวิธาน

นักวิทยาศาสตร์ชาว สวีเดนเป็นคนแรกที่จัดเรียงสิ่งมีชีวิต

โดยระบบทวินาม ( Binomial nomenclature )

          ชื่อวิทยาศาตร์

1. ชื่อตัวเเรกเป็นชื่อสกุล   ให้เขียนด้วยอักษรตัวใหญ่

2. ชื่อตัวไหลังเป็นชื่อชนิด หรือ ชื่อตัวตามให้เขียนนำด้วยตัวเล็ก

3. ชื่อวิทยาศาตร์  ต้องใช้ตัวเอียง  ถ้าเขียนต้องขีดเส้นใต้เสมอ

วันศุกร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2556

kidney


kidney  

       kidney พบในสิ่งมีชีวิตหลายชนิดที่มีโครงสร้าง

ค่อนข่างซับซ้อน เช่นหอย หมึก สัตว์มีกระดูกสันหลัง

ไตเกิดจากการรวมตัวของ Nephridium

Kidney หรือไต เป็นอวัยวะขับถ่ายที่สำคัญของมนุษย์

และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั่วไป ไตเป็นอวัยวะคู่รูปร่างเหมือนเมล็ดถั่ว

เป็นอวัยวะที่มีเลือดมาเลี้ยงถึง 20 % ของการบีบตัวของหัวใจหนึ่งครั้ง

ไต มีหน่วยย่อยสุด คือ Nephron หรือ หน่วยไต

และมีเนื้อเยื่อ 2 ชั้น คือ

 Renal cortex  ชั้นนอก

Renal  medulla ชั้นใน

วันพุธที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Endocytosis



   Endocytosis   มีด้วยกัน 3 แบบ   คือ


1. Phagocytosis    การโอบล้อมสารพาเข้าในเวลล์กลายเป็นถุง
phagocytosis

2. Pinocytosis       การเว้าอาหารพวกของเหลวกลายเป็นถุงเล็กๆ

3. Recepter - mediated endocytosis  เป็นการนำสารเฉพาะบางชนิด

เข้าไปในเซลล์โดยที่ผิวเซลล์มี receptor เฉพาะสำหรับบางอย่างเข้ามาัจับ

แล้วถูกนำเข้าไปในเซลล์เป็นถุงเล็กๆเมื่อผ่านการย่อยแล้ว

receptor สามารถถูกนำมาใช้ใหม่ได้


วันอังคารที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Active transport



         Active  transport

บางครั้งเซลล์ต้องการลำเลียงสารจากที่มีความเข้มข้นต่ำไปยังบริเวณ

ที่มีความเข้มข้นสูงกว่ากระบวนการนี้ เรียกว่า Active  transport  

 ซึ่งต้องการพลังงานคือ ATP  เช่น เซลล์จับ NA+ ออกนอกเซลล์และ

นำ K+  เข้าไปในเซลล์ ซึ่งเรียกว่า  Sodium - potassium pump

ADP =  ขั้นต่ำ

ATP  =  ขั้นสูง

           สารที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่้ เช่น โปรตีน และคาร์โบไฮเดรต

ผ่านออกนอกเซลล์ด้วยกระบวนการ  exocytosis ( ออกนอก) และเข้าไปในเซลล์

ด้วยกระบวนการ endocytosis  (เข้าใน )

วันจันทร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ความหลากหลายของระบบนิเวศ


                 ความหลากหลายของระบบนิเวศ

ระบบนิเวศแต่ละระบบเป็นแหล่งของถิ่นที่อยู๋อาศัยของสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ

ซึ่งมีปัจจัยทางกายภาพและชีวภาำพที่เหมาะสมกับสิ่งมีชีวิตแต่ละ

ชนิดในระบบนิเวศนั้น

สิ่งมีชีวิิตแต่ละชนิดผ่านกระบวนการวิวัฒนาการในอดีตและมี

ขีดจำกัดที่จะดำรงอยู่ในภาวะความแปรปรวนของสิ่งแวดล้อม

ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความหลากหลายทางพันธุกรรมภายในประชากร

และความรุนแรงของความแปรปรวนของสิ่งแวดล้อม

                         สาเหตุของความหลากหลายของระบบนิเวศ

เพราะสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา เมื่อระยะเวลาผ่านไป ระบบนิเวศสามารถปรับตัวได้

วันเสาร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การติดเชื้อในระบบปัสสาวะ


        การติดเชื้อในระบบปัสสาวะ

กระเพาะปัสสาวะอักเสบ

  เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งปนเปื้อนจากอุจาระ   จะปัสสาวะบ่อย

โรคนิ่ว 

        ทั้งนิ่วในไต หรือท่อไต และนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ เกิดจากตะกอนของ

เเร่ธาตุต่างๆในปัสสาวะไม่ละลายแต่รวมตัวกันเป็นก้อน ไปอุดตามทางเดินปัสสาวะ

โรคไตวาย

             เป็นภาวะที่ไตสูญเสียหน้าที่การทำงาน มีการสะสมของเสีย

การรักษา  ต้องใช้ยา หรือ ฟอกเลือด หรือใช้ไตเทียม



วันศุกร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต


ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต

             ความหลากหลายทางชีวภาพ หรือ  Biologieal หมายถึง สิ่งมีชีวิตในโลกมีความหลากหลายชนิด

ซึ่งรวมถึง พืช สัตว์ จุลินทรีย์ สารพันธุกรรมและระบบนิเวศของสิ่งมีชีวิตตามประวัติศาสตร์ทาง

วิวัฒนาการมาเป็นเวลานานนับพันๆปี  โดยปกติแล้วความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตมี

กลไกการนำไปสู่ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต


          ความหลากหลายทางชีวภาพ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท

1.    ความหลากหลายทางพันธุกรรม

2.    ความหลากหลายของชนิด

3.    ความหลากหลายของระบบนิเวศ

       

วันพฤหัสบดีที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2556

หมู่เลือดระบบ ABO


       หมู่เลือดระบบ ABO

หลักการให้เลือด :  แอนติเจนเลือดผู้ให้ไม่ตรงแอนติบอดีเลือดผู้รับ


  หมู่เลือดระบบ Rh

คน่วนใหญ่เลือด Rh+ ส่วน RH- มีน้อยมาก

หมู่เลือด   Rh+      มีแอนติเจน      Rh

หมู่เลือด   Rh-       ไม่มีแอนติเจน


หลักการให้เลือดที่เกิดอันตรายได้

1. เมื่อหมู่เลือด Rh+  ให้เืลือดคนที่มีหมู่เลือด Rh- ( ครั้งแรก )

2. แอนติเจน Rh ของหมู่เลือด Rh+ จะไปกระตุ้นให้ หมู่เลือด Rh-

สร้างแอนติบอดี ต่อต้าน Rh  ยังไม่เป็นไร

3. เมื่อให้ Rh+ ครั้งที่2 แอนติบอดี  Rh ในร่างกายจะต้านแอนติเจน Rh ของหมู่เลือด Rh+