วันอังคารที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2555
การแทรกสอดของเสียง ฟิสิกส์
การเเทรกสอดของเสียง
เป็นปรากฎการณ์ที่คลื่นเสียงจากแหล่งกำเนิด 2 แหล่งกำเนิดที่มีความถี่เท่ากันเคลื่อนที่มาซ้อน
ทับกัน หรือว่า เอามารวมกันค่ะ แล้วจะทำให้เกิดเสียงดังและเสียงค่อยที่ตำแหน่งต่างกัน
ถ้าคลื่นเสียงจากแหล่งกำเนิด 2 แหล่งกำเนิดที่มีความถี่ต่างกันเล็กน้อยเคลื่อนที่มาพบกัน จะทำให้
ได้ยินเสียงดัง และ ค่อยเป็นจังหวะสลับกันค่ะ เราจะเรียกปรากฎการณ์นี้ว่า บีตส์
นักดนตรีนำเอาหลักการของบีตส์มาใช้เทียบเสียงของเครื่องดนตรีให้มีความถี่เท่ากับความถี่ของ
เสียงมาตราฐานที่ต้องการ ในขณะเทียบเสียงถ้าเราไม่ได้ยินเสียง บีตส์ ก็ถือว่าเสียงของเครื่องดนตรีนั้น
มีความถี่มาตราฐานแล้ว ส่วนมากเสียงบีตส์ที่เราได้ยินกัน น่าจะมาจาก ไมโครโฟนซะส่วนใหญ่น่ะค่ะ
วันจันทร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2555
ธรรมชาติของเสียง ฟิสิกส์
ธรรมชาติของเสียง
วันนี้เราจะมาดูเรื่องธรรมชาติของเสียงกันค่ะ มาดูกันเร้ยยยยย
1. การเกิดเสียง เสียงเกิดจากการสั่นของวัตถุ เมื่อวัตถุหรือแหล่งกำเนิดเสียงสั่น จะมีการถ่ายโอน
พลังงาน เนื่องจากการสั่นผ่านอนุภาคของตัวกลางมาถึงหูผู้ฟัง ทำให้ผู้ฟังได้ยินเสียง
2. เสียงกับพลังงาน เสียงเป็นพลังงานรูปหนึ่ง ซึ่งสามารถเปลี่ยนมาจากพลังงานรูปอื่น เช่น พลังงาน
กล ถ้าจะให้ยกตัวอย่างพลังงานกลที่รู้มาน่ะค่ะ ก็น่าจะเป็นพวกหารเคาะโต๊ะ ตีกลอง ประมาณนี้ค่ะ
3. เสียงกับคลื่นกล เราก็รู้กันอยู่น่ะค่ะว่า่เสียงเป็นเครื่องกลชนิดหนึ่่ง เพราะว่าเสียงต้องอาศัยตัวกลางใน
การเคลื่อนที่ ถ้าไม่มีตัวกลางเสียงก็เคลื่อนที่ไม่ได้ ดังนั้น เีสียงจึงผ่านสูญญากาศไม่ได้ และตัวกลางนะ
ค่ะที่เสียงสามารถผ่านไดดีที่สุดคือ ของแข็ง ของเหลว และ อากาศ ค่ะ
4. เสียงกับคลื่นความยาว เสียงเป็นคลื่นความยาว เพราะในขณะที่เสียงเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางอนุภาค
ของตัวกลางก็จะสั่นในแนวเดียวกับคลื่นเสียงด้วยค่ะ
วันนี้เราจะมาดูเรื่องธรรมชาติของเสียงกันค่ะ มาดูกันเร้ยยยยย
1. การเกิดเสียง เสียงเกิดจากการสั่นของวัตถุ เมื่อวัตถุหรือแหล่งกำเนิดเสียงสั่น จะมีการถ่ายโอน
พลังงาน เนื่องจากการสั่นผ่านอนุภาคของตัวกลางมาถึงหูผู้ฟัง ทำให้ผู้ฟังได้ยินเสียง
2. เสียงกับพลังงาน เสียงเป็นพลังงานรูปหนึ่ง ซึ่งสามารถเปลี่ยนมาจากพลังงานรูปอื่น เช่น พลังงาน
กล ถ้าจะให้ยกตัวอย่างพลังงานกลที่รู้มาน่ะค่ะ ก็น่าจะเป็นพวกหารเคาะโต๊ะ ตีกลอง ประมาณนี้ค่ะ
3. เสียงกับคลื่นกล เราก็รู้กันอยู่น่ะค่ะว่า่เสียงเป็นเครื่องกลชนิดหนึ่่ง เพราะว่าเสียงต้องอาศัยตัวกลางใน
การเคลื่อนที่ ถ้าไม่มีตัวกลางเสียงก็เคลื่อนที่ไม่ได้ ดังนั้น เีสียงจึงผ่านสูญญากาศไม่ได้ และตัวกลางนะ
ค่ะที่เสียงสามารถผ่านไดดีที่สุดคือ ของแข็ง ของเหลว และ อากาศ ค่ะ
4. เสียงกับคลื่นความยาว เสียงเป็นคลื่นความยาว เพราะในขณะที่เสียงเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางอนุภาค
ของตัวกลางก็จะสั่นในแนวเดียวกับคลื่นเสียงด้วยค่ะ
วันอาทิตย์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555
การเคลื่อนที่ของเสียงผ่านตัวกลาง ฟิสิกส์
การเคลื่อนที่ของเสัียงผ่านตัวกลาง นะค่ะ บางคนอาจจะอยากรู้ว่ามันเกิดขึ้นได้ไง วันนี้เราจะมาดูกันนะค่ะ
เมื่อตัวก่อกำเนิดเสียงสั่น ทำให้เกิดเสียงขึ้นแล้วคลื่นเสียงจะเคลื่อนที่ออกจากตัวก่อกำเนิดเสียง โดยมีอนุภาคของอากาศทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการถ่ายโอนพลังงานของเสียงนั้น และเมื่อคลื่นเสียงเคลื่อนที่ผ่านพ้นไปแล้ว อนุภาคของอากาสก็จะสั่นกลับสู่ตำแหน่งเดิมค่ะ ได้เคลื่อนไปกับเสียงด้วย
ในขณะที่คลื่นเสียงเคลื่อนที่ผ่านอากาศ อนุภาคของอากาศในบางบริเวณจะอยู่ใกล้ชิดกันมากทำให้มีความหนาแน่นและความดันสูงกว่าปกติ บริเวณนี้เรียกว่า ส่วนอัด แต่ในบางบริเวณอนุภาคของอากาศอยู่ห่างกันมาก จึงมีความหนาแน่นและความดันต่ำกว่าปกติ บริเวณนี้เรียกว่า ส่วนขยาย
การเปลี่ยนแปลงของความดันกับระยะทางมีลักษณะเป็นรูปคลื่นไซน์
วันนี้ก็ขอจบไว้ก่อนนะค่ะ พรุ่งนี้จะอัพเดตเรื่องอะไร ก็ต้องคอยลุ้นกันนะค่ะ บ๊ายบายค่ะ
วันศุกร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2555
การสะท้อนคลื่น
เป็นปรากฏการณ์ ที่คลื่นเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่กลับสู่ตัวกลางเดิม3
เมื่อคลื่นนั้นกระทบสิ่งกีดขวาง
เมื่อคลื่นเกิดการสะท้อน จะได้มุมตกกระทบ เท่ากับมุมสะท้อนเสมอ
อะตอม เคมี
ในปี ค.ศ. 1803 จอห์น ดอลตัึน ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับอะตอม มีข้อความสำคัญดังนี้
- สารประกอบด้วยอนุภาคขนาดเล็ก เรียกว่า อะตอม แบ่งแยกไม่ได้ จะสร้่งขึ้นใหม่ หรือทำลายให้
สูญหายไปไม่ได้นะค่ะ
- อะตอมของธาตุชนิดเดียวกันจะมีมวลเท่ากัน มีสมบัติเหมือนกัน แต่จะแตกต่างจากอะตอมของธาตุ
อื่นๆ
- สารประกอบเกิดจากการรวมการรวมตัว เป็นตัวเลขง่ายๆ
วันพฤหัสบดีที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2555
หลอดรังสีแคโทด เคมี
หลอดรังแคโทด เป็นเครื่องมือทดสอบการนำไฟฟ้าของก๊าซ
ประกอบด้วยเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสตรง ความต่างศักย์สูงถึง 10,000 โวลด์ และหลอดแก้วบรรจุ
ก๊าชมีความดันต่ำ ที่ปลายด้านหนึ่งมีแอโนด อีกด้านหนึ่งเป็นแคโทด ต่อขั้วทั้ง 2 เข้าเป็นวงจรกับเครื่อง
กำเนิดไฟฟ้ากระแสตรงภายในหลอดมีฉากเรืองแสงที่ฉาบด้วย ZnS วางขนานตามแนวยาวในหลอด ถ้า
เกิดแสงขึ้นภายในหลอด ฉากนี้็ก็จะเรืองแสงได้
วันจันทร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2555
ผลของสนามแม่เหล็กต่อการเคลื่อนที่ของตัวนำไฟฟ้า ฟิสิกส์
ผลของสนามแม่เหล็กต่อการเคลื่อนที่ของตัวนำที่มีกระแสไฟฟ้าผ่าน ถ้านำลวดตัวนำที่มีกระแส
ไฟฟ้า่ผ่านไปวางในสนามแม่เหล็กให้ตัดกับสนามแม่เหล็ก จะมีเเรงแม่เหล็กกระทำต่อลวดตัวนำเคลื่อนที่
ไปตามแรง แรงแม่เหล็กนี้จะมีทิศใด ขึ้นอยู่กับทิศของกระแสไฟฟ้าที่ผ่านลวดตัวนำและทิศของสนามแม่
เหล็ก
วันอาทิตย์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2555
สนามแม่เหล็ก ฟิสิกส์
สนามแม่เหล็ก (magnetic field) คือ บริเวณรอบๆ แท่งแม่เหล็กที่แม่เหล็กแท่งนั้นส่งแรงไปถึง เนื่องจาก
สนามแม่เหล็กไม่สามารถมองเห็นได้ ดังนั้น การอธิบายเกี่ยวกับสนามแม่เหล็ก จึงมักอธิบายด้วยทฤษฎี
เส้นแบ่งสนามแม่เหล็ก คือ
1. ภายนอกแท่งแม่เหล็ก เส้นสนามแม่เหล็กมีทิศออกจากขั้วโลกเหนือ พุ่งเข้าสู่ขั้วโลกใต้
2. ภายในแท่งแม่เหล็ก เส้นสนามแม่เหล็กมีทิศออกจากขั้วใต้พุ่งเข้าสู่ขั้วเหนือ
วันเสาร์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2555
แรงแม่เหล็กและสนามแม่เหล็ก ฟิสิกส์
แรงแม่เหล็ก (Magnetic force) แรงแม่เหล็กอาจเกิดขึ้นได้หลายกรณี เช่น
1. แรงแม่เหล็กระหว่างขั้วแม่เหล็ก เมื่อนำขั้วแม่เหล็กสองแท่งมาใกล้กัน จะเกิดแรง 2 ชนิด ระหว่างขั้วแม่
เหล็กทั้งสอง คือ แรงดูดและแรงผลัก ดังรูป
2.แรงแม่เหล็กระหว่างเส้นลวดที่มีกระแสไฟฟ้า ถ้าให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านลวดตัวนำสองเส้นที่วาง
ขนานกัน จะเกิดแรงแม่เหล็กระหว่งเส้นลวดทั้ง 2 แรง คือ แรงดึงดูดและแรงผลัก
วันพฤหัสบดีที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2555
สนามโน้มถ่วง ผลจากแรงโน้มถ่วง ฟิสิกส์
ผลจากแรงโน้มถ่วง ของโลก แรงโน้มถ่วงของโลกทำให้เกิดผลหลายประการ เช่น
1. ทำให้ดาวเทียมโคจรรอบโลกได้
2. ทำให้วัตถุทุกชนิดมีน้ำหนัก ซึ่งน้ำหนักของวัตถุสามารถหาได้จาก สมการ
w = mg m = มวลของวัตถุ
g = ความเร่งโน้มถ่วง
W= น้ำหนักวัตถุ
3. ทำให้วัตถุตกแบบเสรี เคลื่อนที่ด้วยความเร่งคงตัวเท่ากัน คือ 9.8 เมตร/วินาทีกำลัง2
ไม่ว่าวัตถุจะมีมวลน้อยหรือมากก็ตามความเร่งนี้เรียกว่า ความเร่งโน้มถ่วง
วันพุธที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2555
แรงและสนามแม่เหล็ก ฟิสิกส์
แรงและสนามแม่เหล็ก
วันนี้นะค่ะ เราจะมาดูความหมายของแรงกันก่อนนะค่ะ
ความหมายของแรง
แรง คือ ปริมาณทางฟิสิกส์อย่างหนึ่ง ซึ่ีงมีผลทำให้วัตถุเปลี่ยนสภาพการเคลื่อนที่กล่าวคือ สามารถ
ทำให้วัตถุเคลื่อนที่ หรือหยุดการเคลื่อนที่ หรือเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่ หรือเปลี่ยนทิศทางการ
เคลื่อนที่ หรือเปลี่ยนรูปร่างของวัตถุได้
แรงโน้มถ่วงและสนามโน้มถ่วง ฟิสิกส์
แรงโน้มถ่วงและสนามโน้มถ่วง
แรงโน้มถ่วง (Gravitational force) เป็นแรงดึงดูดระหว่างมวล 2 ก้อน เช่น แรงโน้มถ่วงของโลกที่กระทำ
ต่อวัตถุที่อยู่รอบโลก แรงโน้มถ่วงของดวงอาทิตย์ที่กระทำต่อดาวเคราะห์ต่างใยระบบสุริยะ เป็นต้น
ขนาดของแรงโน้มถ่วงของดวงอาทิตย์ที่กระทำต่อดาวเคราะห์ต่างๆ ในระบบสุริยะ เป็นต้น ขนาดของแรงโน้มถ่วงขึ้นอยู่กับ
1. ขนาดของมวล วัตถุมวลมากจะมีแรงโน้มถ่วงมาก
2. ระยะห่างระหว่างมวล ถ้าอยู่ห่างกันมากแรงโน้มถ่วงจะน้อย
สนามโน้มถ่วง (Gravitational field) คือบริเวณที่มีแรงโน้มถ่วงกระทำต่อวัตถุในทิศเข้าสู่
ศูนย์กลาง เช่น สนามโน้มถ่วงของโลก ก็คือ บริเวณรอบๆ ที่โลกส่งแรงดึงดูดไปถึง
วันจันทร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2555
รอก ฟิสิกส์
รอก มีด้วยกันหลายประเภทนะค่ะ เรามาดูชนิดแรกกันเลยดีกว่าค่ะ
1. รอกเดี่ยวตายตัว
เป็นรอกที่ตรึงอยู่กับที่ ใช้เชือกหนึ่งเส้นพาดรอบล้อโดยปลายข้างหนึ่งผูกติดกับวัตถุ ปลายอีกข้างหนึึ่่่งใช้สำหรับดึง เมื่อดึงวัตถุขึ้นในแนวดิ่ง แรงที่ดึงจะมีค่าเท่ากับน้ำหนักของวัตถุ รอกเดี่ยวตายตัวไม่ช่วยผ่อนแรง แต่สามารถอำนวยความสะดวกในการทำงาน ตัวอย่าง เช่น การชักธงชาติขึ้นสู่ยอดเสา การลำเลียงวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการก่อสร้างขึ้นที่สูง
2. รอกเดี่ยวเคลื่อนที่( Movable Pulley )
เป็นรอกที่ช่วยอำนวยความสะดวกและช่วยผ่อนแรง จะเคลื่อนที่ได้เมื่อนำไปใช้งาน รอกแบบนี้ช่วยผ่อนแรงครึ่งหนึ่งของน้ำหนัก
นี่ก็คือ ระบบรอกที่นิยมใช้กันในปัจจุบันนะค่ะวันอาทิตย์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2555
แรงชนิดต่างๆ ฟิสิกส์
แรงชนิดต่างๆ
1. แรงดึงดูดของโลก หรือ น้ำหนักของวัตถุ มีทิศพุ่งขึ้นสู่จุดศูนย์กลางของโลกเสมอ
2. แรงปฎิกิริยา แรงปฏิกิริยาจะมีทิศพุ่งออกตั้งฉากกับผิวสัมผัสเสมอ
3. แรงตึงเชือก มีทิศพุ่งออกตามแนวเส้นเชือก เชือกเส้นเดียวกันมีแรงตึงเชือกเท่ากัน
4. แรงดึงและแรงผลัก คือ แรงที่เรากระทำ
5. แรงเสียดทาน คือแรงที่ต้านการเคลื่อนที่ เกิด ขนานกับผิวสัมผัส ทิศตรงข้ามกับทิศการเคลื่อนที่ของวัตถุ
วันเสาร์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2555
กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน ฟิสิกส์
กฏการเคลื่อนที่ของนิวตัน
ความเฉื่อย เมื่อไม่มีแรงมากระทำต่อวัตถุหรือมีแรงมากระทำแต่แรงลัพธ์ไม่เป็นศูนย์ วัตถุจะรักษาสภาพนิ่งหรือเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่ เรียกว่า กฏของความเฉื่อย
ต่อไปเรามาดูความเร่งกันนะค่ะ
ความเ้ร่ง เมื่อมีแรงมากระทำต่อวัตถุ และแรงลัพธ์ไม่เป็นศูนย์ วัตถุจะเปลี่ยนสภาพการเคลื่อนที่ คือ เคลื่อนที่ด้วยความเร่งนั่นเอง
ถ้ามีแรงใดมากระทำต่อวัตถุต้องมีแรงปฎิกิริยาของแรงนั้นเสมอ โดยแรงทั้งสองมีขนาดเท่ากัน ทิศทางตรงข้ามและเกิดบนวัตถุคนละก้อน
มวล แรง และการเคลื่อนที่ ฟิสิกส์
มวล แรง และการเคลื่อนที่
ความเฉื่อย ( Ineatia ) คือ คุณสมบัติของวัตถุในการต้านการเปลี่ยนสภาพการเคลื่อนที่ หรือ คุณสมบัต
ของวัตถุในการคงสภาพการเคลื่อนที่
มวลสาร (mass) คือ ปริมาณซึ่งบ่งบอกถึงความเฉื่อยของวัตถุ เป็นปริมาณสเกลาร์
แรง ( Force) คือ ความพยายามที่จะทำให้วัตถุ เปลี่ยนสภาพการเคลื่อนที่่ เป็นปริมาณ เวกเตอร์
น้ำหนัก (Weight) คือ แรงที่โลกกระทำต่อวัตถุ (แรงดึงดูด) เป็นปริมาณ เวกเตอร์ทิศพุ่งลงสู่พื้นโลก
วันพฤหัสบดีที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2555
ตารางธาตุ เคมี
ธาตุ
คือ สารบริสุทธิที่ประกอบด้วยอะตอมชนิดเดียวกันล้วนๆ เช่น โซเดียม ( Na ) แมกนีเซียม(Ma) เหล็ก (Mg) กำมะถัน(S) ก๊าซออกซิเจน
ปัจุบันมีธาตุที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และธาตุที่สังเคราะห์ 109 ธาตุ ซึ่งแต่ละธาตุมีสมบัติบางประการคล้ายคลึงกัน บางประการแตกต่างกัน จึงมีการจัดหมวดหมู่ของธาตุโดยอาศัยสมบัติต่างๆ
เป็นเกณฑ์ เพื่อความสะดวก ในการจดจำและการนำไปใช้ เช่น การจักธาตุโดยใช้โลหะและอโลหะ เป็นเกณฑ์
วันพุธที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2555
สมบัติการนำไฟฟ้ากับตารางธาตุ เคมี
สมบัติการนำไฟฟ้ากับตารางธาตุ
ถ้าพิจารณาจากการนำไฟฟ้าของธาตุ จะสามารถแบ่งธาตุต่างๆ ออกเป็น 3 กลุ่ม คือ โลหะ อโลหะ และ กึ่งโลหะ โดยกำหนดสมบัติต่างๆ ดังนี้
1. โลหะ เป็นธาตุที่ชอบให้อิเลคตรอน มีวาเลนซ์อิเลคตรอน 1,2 หรือ 3 ตัว นำไฟฟ้าได้ดีที่อุณหภูมิ
ห้่อง การนำไฟฟ้าลดลงเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น
2. อโลหะ เป็นธาตุที่ชอบรับอิเลคตรอนตั้งแต่ 4 ตัว ขึ้นไป เป็นฉนวนไฟฟ้าในทุกสถานะ
3. กึ่งโลหะ เป็นธาตุที่มีสมบัติของโลหะผสมกันอยู่ ที่อุณหภูมิปกติจะนำไฟฟ้าได้น้อย แต่เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นจะนำไฟฟ้าได้มากขึ้น
ถ้าพิจารณาจากการนำไฟฟ้าของธาตุ จะสามารถแบ่งธาตุต่างๆ ออกเป็น 3 กลุ่ม คือ โลหะ อโลหะ และ กึ่งโลหะ โดยกำหนดสมบัติต่างๆ ดังนี้
1. โลหะ เป็นธาตุที่ชอบให้อิเลคตรอน มีวาเลนซ์อิเลคตรอน 1,2 หรือ 3 ตัว นำไฟฟ้าได้ดีที่อุณหภูมิ
ห้่อง การนำไฟฟ้าลดลงเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น
2. อโลหะ เป็นธาตุที่ชอบรับอิเลคตรอนตั้งแต่ 4 ตัว ขึ้นไป เป็นฉนวนไฟฟ้าในทุกสถานะ
3. กึ่งโลหะ เป็นธาตุที่มีสมบัติของโลหะผสมกันอยู่ ที่อุณหภูมิปกติจะนำไฟฟ้าได้น้อย แต่เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นจะนำไฟฟ้าได้มากขึ้น
วันอังคารที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2555
เลขออกซิเดชั่น เคมี
เลขอกซิเดชัน
เลขออกซิเดชั่น เป็นค่าประจุไฟฟ้า หรือประจุไฟฟ้าสมมติของอะตอม หรือไอออนของธาตุ โดยคิดจากจำนวนอิเล็คตรอนที่ให้หรือรับ
เมื่อธาตุต่างๆ รวมกันเป็นสารประกอบ ธาตุที่ให้อิเล็คตรอนมีเลขออกซิเดชั่นเป็นบวก และมีค่าเท่ากับจำนวนอิเล็คตรอนที่ให้ ส่วนธาตุที่ได้รับอิเล็คตรอนจะมีเลขออกซิเดชั่นเป็นลบ และมีค่าเท่ากับจำนวนอิเล็คตรอนที่รับ เช่น Zn เมื่อเกิดสารประกอบจะให้ e- 2 ตัว กลายเป็น Zn+2 จึงมีเลขออกซิเดชั่นเป็น +2
แบบจำลองอะตอมของ รัทเธอร์ฟอร์ด เคมี
แบบจำลองอะตอมของรัทเธอร์ฟอร์
ลอร์ดเออร์เนสต์ รัทเธอร์ฟอร์ด นักวิทยาศาสตร์ชาวนิวซีแลนด์ได้ทำการทดสอบยิงอนุภาคแอลฟา ซึ่งได้จากการสลายตัวของอะตอมของฮีเลียม และเป็นอนุภาคที่มีประจุบวก โดยมีฉากเรืองแสงล้อมอยู่โดยรอบ
วันจันทร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2555
โครงสร้างอะตอมของทอมสัน เคมี
แบบจำลองอะตอมของทอมสัน
หลอดรังสีแคโธด เป็นเครื่องมือทดสอบการนำไฟฟ้า ประกอบด้วยเครื่องกำเนิดไฟฟ้า และ หลอดแก้วบรรจุก๊าสความดันต่ำ ด้านหนึ่งเราจะต่อเข้ากับขั้วบวก ส่วนอีกด้านหนึ่งเราก็ต่อเข้ากับเข้าลบค่ะ ภายในหลอดจะประกอบไปด้วยแผ่นฉาบเรืองแสง
วันอาทิตย์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2555
ปฎิกิริยานิวเคลียร์
ปฎิกิริยานิวเคลียร์
จากการศึกษาการเปลี่ยนสภาพนิวเคลียสที่เราได้ศึกษามานะค่ะ เราจะพบว่า มีทั้งการสลายตัว
ของนิวเคลียสไปเป็นนิวเคลียสใหม่ และการแตกตัวของนิวเคลียสออกเป็นนิวเคลียสใหม่ และการแตก
ตัวของนิวเคลียสออกเป็นนิวคลีออน เช่น การแตกตัวของดิวเทอรอนออกเป็นโปรตอนและนิวตรอน เมื่อ
ได้รับรังสีแกรมมาที่มีพลังงาน 2.22 MeV ดังสมการ (2) การสลายตัวของยูเรเนียม-238 ไปเป็นทอเร
เนียม-234 และอนุภาคแอลฟา ดังสมการ (3) เป็นต้น กระบวนการที่นิวเคลียสเกิดการเปลี่ยนแปลงองค์
ประกอบหรือระดับพลังงานดังตัวอย่างข้างต้นนั้นเรียกว่า ปฎิกิริยานิวเคลียส ( Nuclear reaction)
วันเสาร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2555
อันตรายและการป้องกันจากธาตุกัมมันตรังสี ฟิสิกส์
อันตรายจากธาุตุกัมมันตรังสี
ก่อนอื่นก็ต้องถามว่า คนส่วนใหญ่รู้กันใช่ไหมค่ะว่า ถ้าเราได้รับรังสีมากๆก็จะเป็นอัตรายได้ วันนี้ก็จะมานำเ้สนอว่า อันตรายที่เราจะได้ราับมีอะไรกันบ้าง..มาดูกันเลยค่ะ
ถ้าคนเราได้รับรังสีในปริมาณที่ไม่มากนักก็อาจไม่ไดถึงกับเสียชีวิตนะค่ะ แต่ก็มีโอกาศทำให้เกิดโรคได้นะค่ะ เช่น โรคมะเร็งที่น่ากลัว และอาจมีผลทางพันธุกรรมด้วย ซึ่งจะถ่ายทอดไปยังลูกหลานได้ แต่ถ้าได้รับในปริมาณมากๆ ก็แน่นอนละค่ะ สี้แหงแก๋แน่นอน 555
การป้องกันอันตรายจากรังสี
1. สำหรับใครนะค่ะที่ทำงานที่เกี่ยวของกับรังสี ต้องติดแผ่นฟิล์ม และทำงานให้เสร็จในระยะเวลาที่รวดเร็วนะค่ะ ถึงจะดีที่สุด
2. พยายามเข้าใกล้บริเวฅณที่มีรังสีในช่วงเวลาที่สั้นที่สุดเท่าที่จะทำได้นะค่ะ
3. พยายามอยู่ห่างจากบริเวณที่มีรังสีให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้เลยนะค่ะ
4. ใช้เครื่องกำบังเพื่อลดปริมาณรังสี เช่น ใช้ตะกั่วหรือคอนกรีตเป็นเครื่องกำบัง รังสีแกมมา รังสีแอลฟา และรังสีเบต้า ส่วนนิวตรอน ส่วนใหญ่นิยมใช้น้ำเป็นเครื่องกำบังค่ะ
ประโยชน์ของกัมมันตภาพรังสี
ประโยชน์ของกัมมันตภาพรังสี
1. ด้านการแพทย์ รังสีจากธาตุกัมมันตรังสีสามารถช่วยในการตรวจวินิจฉัยและบำบัดรักษาโรคได้หลายชนิด เช่น ใช้รังสีแกมมาจากโคบอลล์-60 ในการรักษาโรคมะเร็งใช้รังสีจากโซเดียม-24ตรวจโรคการหมุนเวียนของโลหิต เป็นต้น
2.ด้านการเกษตร เช่น ใช้ฟอสฟอรัส -32 ศึกษาอัตราการดูดซึมปุ๋ยของต้นไม้ ใช้รังสีเพื่อเปลี่ยนแปลงพันธุ์พืชบางชนิด ใช้รังสีแกรมมาเพื่อทำหมันแมลง
3. ด้านอุตสาหกรรม ใช้รังสีในการควบคุมการผลิตกระจก กระดาษ แผ่นเหล็ก พลาสติกให้มีความหนาสม่ำเสมอ และหารอยรั่วของท่อส่งน้ำมันแก๊สธรรมชาติ
4. ด้านโบราณคดีและธรณีวิทยา ใช้รังสีเพื่อการตรวจสอบอายุของเครื่องปั้นดินเผาเช่นเครื่องปั้นดินเผา ลายเขียนสี อะไรทำนองนี้น่ะค่ะ หรือว่าเราจะมาใช่ในการคำนวนหาอายุของซากสิ่งมีชีวิตก็ได้ค่ะ
วันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2555
การเลี้ยวเบนของคลื่น ฟิสิกส์
การเลี้ยวเบนของคลื่น
การเลี้ยวเบนของคลื่น (Diffraction) เป็นปรากฎการณ์ที่คลื่นน้ำเคลื่อนที่ไปปะทะสิ่งกีดขวางแล้ว
คลื่นส่วนหนึ่งสามารถแผ่กระจายจากขอบของสิ่งกีดขวางไปทางด้านหลังของสิ่งกีดขวางนั้นได้
การเลี้ยวเบนของคลื่นที่ขอบของสิ่งกีดขวาง คลื่นที่เลี้ยวเบนจะมีหน้าคลื่นเป็นวงกลม
การเลี้ยวเบนของคลื่นผ่านสลิตหรือช่องแคบ การเลี้ยวเบนจะแตกต่างกัน โดยขึ้นอยู่กับความ
กว้างของสลิต ดังนี้
กรณีที่1 เมื่อสลิตมีความกว้างมากกว่าความยาวคลื่น คลื่นที่ผ่านสลิตจะมีหน้าคลื่นเป็นเส้นตรง
ยกเว้นบริเวณขอบจะมีความโค้งเล็กน้อย
กรณีที่2 เมื่อสลิตมีความกว้างน้อยกว่าหรือเท่าำำำกับความยาวคลื่น คลื่นที่ผ่านสลิตจะมีหน้าคลื่นเป็น
วงกลม
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)