วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2555

องค์ประกอบของคลื่น ฟิสิกส์

       องค์ประกอบของคลื่น
                
                 1.  การกระจัด    หมายถึระยะตั้งฉากจากแนวสมดุลไปยังตำแหน่งต่างๆบนคลื่น 

                 2.  แอมพลิจูด   หมายถึงขนาดของการกระจัดที่มีค่ามากที่สุด 
             
                 3.  สันคลื่น        หมายถึงตำแหน่งสูงสุดของคลื่น 

                 4.  ท้องคลื่น      หมายถึงตำแหน่งตำสุดของคลื่น

                 5.  ความยาวคลื่น  หมายถึงความยาวของคลื่นหนึ่งลูก เช่น ความยาวระหว่างสันคลื่นที่อยู่ตัดกัน  หรือความยาวระหว่างท้องคลื่นที่อยู่ถัดกัน

                 6.  ความถี่         หมายถึง จำนวนรอบหรือจำนวนลูกคลื่นที่เคลื่อนที่ผ่านจุดใดๆในหนึ่งหน่วยเวลา

                7.   คาบ             หมายถึง เวลาที่คลื่นเคลื่อนที่ผ่านจุดใดๆ ครบหนึ่งรอบหรือหนึ่งลูกคลื่น
.
                8.   อัตราเร็วคลื่น     หมายถึง ระยะทางที่คลื่นเคลื่อนที่ได้ในหนึ่งหน่วยเวลา

วันจันทร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2555

การจำแนกคลื่น ฟิสิกส์

 การจำแนกคลื่น

      จำแนกคลื่นตามการใช้ตัวกลางในการเคลื่อนที่

  มี 2 พวกคือ

1.  คลื่่นกล  (Mechanical  wave)  หมายถึง  คลื่นที่ต้องอาศัยตัวกลางในการเคลื่อนที่ เช่น คลื่นผิวน้ำ คลื่นบนเส้นเชือก คลื่นบนลวดสปริง คลื่น เป็นต้น   หลักการจำง่ายๆๆนะค่ะ  (ผ่านตัวกลางในการเคลื่อนที่)

2. คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic  wave) หมายถึง คลื่นที่ไม่ต้องอาศัยตัวกลางในการเคลื่อนที่ เช่น            
คลื่นแสง คลื่นวิทยุ คลื่นไมโครเวฟ เป็นต้น (ไม่ต้องอาศัยตัวกลาง) 

    จำแนกคลื่นตามลักษณะการสั่นของอนุภาคตัวกลาง
. มี 2 พวก คือ

1.  คลื่นตามขวาง  (transverse  wave) หมายถึง  คลื่นที่อนุภาคของตัวกลางสั่นในทิศตั้งฉากกับทิศการเคลื่อนที่ของคลื่น เช่น คลื่นผิวน้ำ  คลื่นบนเส้นเชือก

2.คลื่นตามยาว (Longitudinal  wave) หมายถึง  คลื่นที่อนุภาคของตัวกลางสั่นในแนวเดียวกับทิศการเคลื่อนที่ของคลื่น  เช่น  คลื่นจาการอัดลวดสปริง คลื่นเสียง  เป็นต้น

คลื่น ฟิสิกส์

                            การเกิดคลื่น

        คลื่น( Wave) เป็นปรากฎการณ์ที่เกิดจากการรบกวนต่อตัวกลาง แล้วพลังงานจากการรบกวนจะถูกถ่ายโอนผ่านอนุภาคของตัวกลาง ทำให้เรามองเห็นเป็นคลื่นเคลื่อนที่ออกไป  โดยอนุภาคของตัวกลางไม่ไดเคลื่อนที่ตามไปด้วย เช่น

          :   โยนก้อนหินลงน้ำ เป็นการรบกวนผิวน้ำ ทำให้เกิดคลื่นผิวน้ำ
 
          :   การสะบัดเชือก  เป็นการรบกวนเส้นเชือก  ทำให้เกิดบนเส้นเชือก

          :   การอัดสปริง  เป็นการรบกวนลวดสปริง ทำให้เกิดคลื่นบนลวดสปริง

วันเสาร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2555

สัญลักษณ์ของนิวเคลียส ฟิสิกส์

  สัญลักษณ์ของนิวเคลียส

               นิวเคลียสประกอบด้วยอนุภาคโปรตอนและอนุภาคนิวตรอน  เรารวมเรียกวอนุภาคทั้งสองซึ่ง

เป็นองค์ประกอบของนิวเคลียสว่า  นิวคลีออน (Nucleon)  ผลรวมของจำนวนโปรตอนและนิวตรอนที่อยู่

ภายในนิวเคลียส เรียกว่า  เลขมวล (Mass number)ส่วนจำนวนโปรตอนในนิวเคลียสเรียกว่า เลข

อะตอม()Atomic number) 

               
เลขมวลและเลขอะตอมเป็นตัวเลขที่ใช้บอกชนิดของนิวเคลียสของธาตุ  และแสดงให้เห็นความแตก

ต่างระหว่างนิวเคลียสของธาตุต่างๆ  เราสามารถเขียนสัญลักษณ์แทนนิวเคลียสของธาตุต่างๆได้ดังนี้

    เมื่อ X แทนนิวเคลียสของธาตุนั้นๆ

           A แทนเลขมวลของธาตุ  หรือเรียกว่า  เลขนิวคลีออน

           Z  แทนเลขอะตอมของธาตุ


ชนิดของกัมมัตภาพรังสี ติวฟิสิกส์

ชนิดของกัมมันตภาพรังสี

    รังสีที่ได้จากธาตุกัมมันตรังสี มี3 ชนิด คือ แอลฟา  บีตา  และ แกรมมา
              
         :  รังสีแอฟา   (Alpha ray: α)   เป็นลำของอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้า ส่วนมากถูกปล่อยออกมาจาก

นิวเคลียสขนาดใหญ่ เช่น ฮีเลียม ยูเรเนียม เรเดียม
         :  รังสีบีตา    (Beta ray: β)  เป็นลำดับของอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้า มีอำนาจทะลุผ่านมากกว่ารังสีแอลฟา

         :  รังสีแกมมา   (Gamma  ray: γ)  เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีพลังงานไม่มีมวลไม่มีประจุไฟฟ้าหรือมี

สภาพเป็นกลางทางไฟฟ้า

                                                  มีหลักการที่ให้จำกัน เล็กๆๆน้อยๆๆนะค่ะ


               อนุภาคที่ไม่เหมาะสม

1.1   P (โปรตอน)   เยอะเกิน 

1.2   P (โปรตอน)   ไม่เท่ากับนิวตรอน

1.3    P(โปรตอน)   เท่ากับนิวตรอน แต่ไม่เป็นจำนวนคู่ 


  

กัมมันตภาพรังสี ติวฟิสิกส์ ม.4 เทอมต้น

กัมมันตภาพรังสี

1.1 การค้นพบกัมมันตภาพรังสี

    นักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศษช่ื่อ อองรี  เบ็กเคอเรล (Henri Becquerel) พบว่าสารประกอบของยูเรเนียม

ชนิดหนึ่งคือ โพแทสเซียมยูเรนิลซัลเฟตสามารถปล่อยรังสีชนิดหนึ่งออกมาได้ตลอดเวลา เขายังพบอีก

ว่า  สารประกอบของยูเรเนียมทุกชนิดสามารถปล่อยรังสีดังกล่าวได้เช่นกัน  และเรียกรังสีนี้ว่า รังสียูเร

นิก(Uranic ray) 
    
มื่อเบ็กเคอเรลพบรังสีดังกล่าวแล้ว  ทำให้นักวิทยาศาสตร์เกิดความสงสัยขึ้นว่า  มีธาตุอื่นๆที่สามรถแผ่

รังสีเช่นเดียวกับธาตุยูเรเนียมอีกหรือไม่ ปิแอร์  คูรี  (Pierre  Curie) และ มารี คูรี (Marie  Curie) สองสามี

ภรรยาได้ทำการทดลองกับธาตุหลายๆๆชนิดและพบว่าธาตุบางชนิด เช่น ทอเรียม เรเดียม พอโลเนียม มี

การแผ่รังสีได้เช่นเดียวกับยูเรเนียม ปรากฎการณ์ที่ธาตุแผ่รังสีได้เองอย่างต่อเนื่องนี้เรียกว่า

กัมมันตภาพรังสี (Radioactivity) และธาตุที่มีสมบัติในการแผ่รังสีได้เอง เรียกว่า ธาตุกัมมันตรังสี 

(Radioactive  element)