วันเสาร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2558

การสร้างคำโดยนำวิธีการของภาษาอื่นมาใช้



                                         การสร้างคำโดยนำวิธีการของภาษาอื่นมาใช้

                             1.  การใช้อุปสรรค                                 2.  การใช้ปัจจัย

                              3. การใช้วิภัตติ                                     4.  การสมาส

                              5. การสนธิ                                            6. การแผลงคำ


               วันนี้เราจะมาดูหัวข้อที่ 1 กันก่อนน้ะค้ะ ก็คือ  การใช้อุปสรรค  เรามาดูกันเลยดีกว่าค่ะ

          1.  การใช้อุปสรรค

 อุปสรรคเป็นพยางค์ที่ใช้สำหรับประกอบ  เช่น  ทุนิป ประอุป อธิ  อติ  เป็นต้น  ทำให้ศัพท์มีความหมาย

เปลี่ยนแปลงไปเป็นวิธีการเพิ่มศัพท์ของภาษาบาลีและสันสฤต  เช่น

                           ทุกรกิริยา   ทุจริต    ทุคติ   ทุภาษิต  ทุพภิกขภัย  ประการ  ประกาศ  ประณม

 ประณาม  ประณีต   ประทีป   ประเทศ  ปฎิกิริยา  ปฎิญญา  ปฎิพากย์   ปฎิโลม   ปฎิวัติ  ปฎิเสธ



วันพฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2558

การสนธิ2



                                                                     การสนธิ

                       ต่อจากเมื่อวานน้ะค้ะ

 3.  เปลี่ยนสระที่ท้ายคำกน้า อิอี เป็น ย  อุอู  เป็น ว เสียก่อนแล้วสนธิตามหลักข้อ 1 และ 2

                 มติ +  อธิบาย  =  มตยาธิบาย

                 อธิ + อาศัย  = อัธยาศัย

ธนู + อาคม  เปล่ี่ยน อู เป็น ว เป้น  ธนว สนธิ  เป็น  ธันวาคม


                                                                            พยัญชนะสนธิ

                             คือคำบาลีสันสฤตที่นำมาสนธิกับพยัญชนะมีหลักดังนี้

1. คำทีี่ลงท้ายด้วย สสนธิ กับ พยัญชนะ เปลี่ยน ส เป็น โ- เช่น

          มนัส + มัย  = มโนมัย

          มนัส + กรรม =  มโนกรรม

2. อุปสรรค ทุสุ กับ นิสุ สนธิ กับ พยัญชนัเปลี่ยน ส เป็น ร เช่น


           ทุส + ชน  = ทรชน

           นิส + คุณ =  เนรคุณ นิรคุณ

วันอังคารที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2558

การสนธิ


                                                                         การสนธิ


                             การสนธิคือการประสมคำของภาษาบาลีสันสฤตถือว่าเป็นคำสมาสชนิดหนึ่งแต่เป็น

คำสมาสที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปศัพท์ไทยนำดัดแปลงเป้นการสนธิแบบโดยมีหลักการดังนี้

                  1. ต้องเป็นคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเท่านั้น

                  2. ศัพท์ประกอบไว้หน้าศัพท์หลักไว้หลัง

                  3. แปลจากหลังมาหน้า

                  4. ถ้าเป็นสระสนธิศัพท์ตัวหลังจะขึ้นต้นด้วย ตัว  อ

                  5. มีการเปลี่ยนแปลงรูปศัพท์ตามหลักที่จะกล่าวต่อไป


 การสนธิมีอยู่ 3 ชนิด คือ

1. สระสนธิ                   2. พยัญชนะสนธิ              3. นฤคหิตสนธิ


 สระสนธิ  คือการนำคำบาลีสันสฤตมาสนธิกับคำที่ขึ้นต้นด้วยสระมีหลักการดังนี้

1. ตัดสระท้ายคำหน้าใช้สระหน้าคำหลัง เช่น

       ชล + อาลัย  =  ชลาลัย

        เทว + อาลัย = เทวาลัย

       มหา + อัศจรรย์ = มหัศจรรย์


2. ตัดสระท้ายคำหน้าใช้สระหน้าคำหลังแต่เปลี่ยนสระหน้าคำหลังจาก อะ เป็น  อา   อิ เป็น เอ  เช่น

ประชา + อธิไตย  =  ประชาธิปไตย

เทศ + อภิบาล =  เทศบาล



วันอาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2558

การสมาส




                                                                  การสมาส

                 สมาสคือวิธีการผสมคำของภาษา           บาลี/ สันสกฤต  ไทนได้นำมาดัดแปลงเป็นวิธีการ

        สมาสแบบไทยโดยมีหลักดังนี้

1. ต้องเป็นคำทีี่มาจากภษาาบาลีและสันสกฤตเท่านั้นเช่น  ราชการ / ราชครู / ราชทูต / ราชบุตร

2. ศัพท์ประกอบไว้หน้าคำศัพท์หลักไว้หลัง  เช่น  สัตโลหะ / ภารกิจ / ปฐมเจดีย์

3.แปลความหมายจากหลังมาหน้า เช่น


                    อักษรศาสตร์ - วิชาว่าด้วยตัวหนังสือ                      

                    วาทสิลป์ - ศิลปะการพูด

                   ยุทธวิธี  -  วิธีการทำสงคราม

4. ท้ายศัพท์ตัวแรกห้ามใส่รูปสระ -ะ  และ การันต์  เช่น


                    กิจการ - ไม่ใช่ กิจะการ

                    ธุรการ  - ไม่ใช่ ธุระการ

5.ต้องออกเสียงสระที่ท้ายศัพท์ตัวแรก


                     อุณหภูมิ  -  อุน-หะ-พูม

                    ประวัติศาสตร์  ประ-หวัด - ติ-สาด

** ยกเว้นบางคำอ่านตามความนิยมไม่ออกเสียงสระเช่น    ชาตินิยม  สุภาพบุรุษ

ไตรรัตน์  ชลบุรี  บุรุษเพศ  ธาตุวิเคราะห์


6.คำว่า  วร  พระ ตามด้วยภาษาบาลีสันสกฤตถือเป็นคำสมาสเพราะ พระ แผลงมาจาก วร เช่น

               วรกาย    วรชายา วรดิตถ์  พระบาท พระองค์  พระโอษฐ์  พระนาสิก


*** คำว่า พระ ที่ประสมคำภาษาอื่นไม่ใช่คำสมาส เช่น พระอู่ พระเก้าอี้

วันเสาร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2558

การเปล่งเสียงในภาษาไทย




                                             การเปล่งเสียงในภาษาไทย
                   
                          การเปล่งเสียงในภาษาไทยจะต้องนำเสียงทั้ง 3 ชนิดประสมกัน และแปลงเสียง

ออกมาครั้งหนึ่ง เรียกว่า  พยางค์    ดังนั้นในพยางค์หนึ่งจะต้องประกอบด้วยเสียงพยัญชนะ เสียงสระ

และวรรณยุกต์เสมอ

                         การประสมอักษร  ตามตำรามี 4 วิธี คือ


               1.  การประสมอักษร 3 ส่วน  ประกอบด้วย  พยัญชนะต้น  สระ  วรรณยุกต์ เช่น

                          ขา   =     ข + อา + จัตวา(เสียง)


                2. การประสมอักษร 4 ส่วนพิเศษ  ประกอบด้วย พยัญชนะต้น สระ ตัวสะกด วรรณยุกต์ เช่น

                           ขาด  = ข + อา + ด

                3. ประสมอักษร 4 ส่วนพิเศษ  ประกอบด้วย  พยัญชนะต้น  สระ  ตัวสะกด  วรรณยุกต์  ตัว

          การันต์ เช่น

                            เลห์  เสาร์  เคราะห์  โพธิ์


                 4.  การประสมอักษร 5 ส่วน ประกอบด้วย  พยัญชนะต้น  สระ  ตัวสะกด  วรรณยุกต์  ตัว

การันต์  เช่น

                          ศาสตร์   ชอล์ก    พราหมณ์

วันศุกร์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2558

เสียงในภาษา



                                                                     เสียงในภาษา


                เสียงในภาษา มี 3 ชนิด คือ


1. เสียงพยัญชนะ หรือ เสียงแปล  คือ เสียงที่แปลงออกมาแล้วมีการดัดแปลงลมโดยอวัยวะในช่องปาก

กัก  หรือกั้นลมไว้ในลักษณะต่างๆ ทำให้เกิดเป็นเสียงพยัญชนะเสียงแตกต่างกันไป เสียงพยัญชนะไทย

ในภาษาไทยมีทั้งสิ้น 21 เสียง มีสัญลักษณะใช้แทนเสียง รูปพยัญชนะ มี 44 รูป


2. เสียงสระ หรือ เสียงแท้ คือ เสียงที่แปลงออกมาจากลำคอโดยตรง ไม่ผ่านการกัก หรือ กั้นลม  เป้น

เสียงก้อง โดยใช้ส่วนต่างๆของลิ้น เคลื่อนไหวขึ้น-ลง ในระดับต่างๆ ( สูง  กลาง  ต่ำ )  และริมฝีปากก็

เปลี่ยนรูปลักษณะแตกต่างกัน มีผลทำให้เกิดเสียงสระที่แตกต่างกัน เสียงในภาษาไทยมี 24 เสียงมี

สัญลักษณ์ใช้แทนเสียง เรียกว่า รูปสระ  21  รูป


3. เสียงวรรณยุกต์ หรือ เสียงดนตรี  คือ ระดับเสียง สูง-ต่ำ ที่มีความถี่ของเสียงแตกต่างกันออกไป มีทั้ง

สิ้น 5 เสียง มีสัญลักษณ์ใช้แทนเสียง  เรียกว่า  รูปวรรณยุกต์  มี 4 รูป

วันพฤหัสบดีที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2558

การซ้อนคำ 2



                                                                       การซ้อนคำ

                      เมื่อวานเรารู้เกี่ยวกับการซ้อนคำเพื่อความหมายแล้ว วันนี้เรามาดูการซ้อน

     คำเพื่อเสียง  กันบ้างดีกว่าค่ะ


            2.  คำซ้อนเพื่อเสียง  คือการนำคำมูลที่มีความหมายใกล้เคียงกันนำมาซ้อนกันเพื่อให้เกิดเสียง

คล้องจองกัน


                                          วิธีการสร้างคำซ้อนเพื่อเสียง

            -  นำคำมูลที่มีความหมายและเสียงที่ใกล้เคียงกันนำมาซ้อนกัน เช่น

 ก่อเกิด  เก่งกล้า  แข็งขัน  ขับขี่   ขัดข้อง   เคร่งเครียด  ค้างคา  บู้บี้


           -  สร้างคำที่มีเสียงคล้ายกับคำมูลที่เป็นคำหลัก   เสียงที่สร้างขึ้นมาไม่มีความหมายมีหน้าที่ เพียง

ก่อให้เกิดเสียงคล้องจองความหมายของคำยังคงอยู่ที่ศัพท์หลักและอาจมีหลายพยางค์ เช่น

โยกเยก  เยินยอ  โอนเอน  อุบอิบ  ยั่งยืน  ยัดเยียด   ชิงชัง   เทือกเถา  ผลหมากรางไม้


           -  คำมูลที่มีเสียงซ้อนกันอยู่มีลักษณะเป็นเสียงควบคู่  ดังนั้นคำชนิดนี้อาจเรียกได้ว่าคำมูลที่มี

เสียงซ้อนกัน แต่บางคนก็จัดเป็นคำซ้อนเพื่อเสียง เช่น

โลเล   โยเย   วอกแวก   ตุ้งติ้ง   ตึงตัง  ต่องแต่ง   ร่อแร่  จุกจิก   ดุกดิก  จุ๋มจิ๋ม  รุ่งริ่ง  สะเปะสะปะ




           3.   การซ้ำคำ  คือการนำคำมูลมาซ้ำคำกันเพื่อให้เกิดความหมายที่ใกล้เคัยงความหมายเดิม หรือ

เกิดความหมายใหม่เมื่อซ้ำแล้วสามารถใช้ไม้ยมก เขียนแทนคำซ้ำนั้นได้  เช่น  นานๆ  เป็นคำมูลไม่ใช่

คำซ้ำส่วนคำที่ทำหน้าที่ต่างกันในประโยคก็ไม่ใช่คำซ้ำ  เช่น


           สถานที่ที่ฉํนขอบมากที่สุดคือสวนสาธารณะ               ที่ที่ ไม่ใช่คำซ้ำ

           ของของใครทิ้งไว้เกะกะ                                              ของของไม่ใช่คำซ้ำ




วันพุธที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2558

การซ้อนคำ




                                                                      การซ้อนคำ


                        การซ้อนคำคือการนำคำมูลที่มีความหมายเหมือนคล้ายหรือตรงข้ามกัน หรือในอีกกรณี

คือมีเสียงใกล้เคียงกันมาซ้อนกันแล้วทำให้เกิดความหมายใหม่หรือความหมายใกล้เคียงกับความหมาย

เดิมมีอยู่สองชนิดคือ                    คำซ้อนเพื่อความหมาย         และ      คำซ้อนเพื่อเสียง


      1. คำซ้อนเพื่อความหมาย   คือการนำคำมูลที่มีความหมายใกล้เคียงกันหรือเหมือนกันมาซ้อนกัน

ทำให้เกิดความหมายใหม่หรือเหมือนเดิมแบ่งออกเป็น 4 ชนิด คือ

    - ซ้อนแล้วความหมายเหมือนเดิมหรือชัดเจนมากยิ่งขึ้น เช่น  จิตใจ  ซื่อสัตย์   รูปร่าง ข้าทาส

    - ซ้อนแล้วความหมายแคบหรือเฉพาะเจาะจงมากกว่าคำเดิม เช่น  ขัดถู  ใจคอ   หน้าตา  ดื้อดึง

    - ซ้อนแล้วความหมายกว้างกว่าเดิม  เช่น  ถ้วยชาม  ข้าวปลา  พี่น้อง

    - ซ้อนแล้วความหมายเปลี่ยนจากเดิม  เช่น  หนักแน่น  ดูดดื่ม  อ่อนหวาน  คับแคบ

    - ซ้อนแล้วความหมายความหมายไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับสถานการณ์การใช้คำซ้อนที่เกิดจากใช้คำที่มี

ความหมายตรงกันข้ามมาซ้อนกัน   เช่น  ผิดชอบ   ชั่วดี  เป็นตาย   ร้ายดี  แพ้ชนะ  ได้เสีย


    วันนี้ไว้แค่นี้ก่อนน้ะค้ะ พรุ่งนี้เราจะมาดูคำซ้อนเพื่อเสียงกันค่ะ

วันอังคารที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2558

การผสมคำ




                                                                      การผสมคำ


                 1.  การประสมคำ คือ การนำคำมูลที่มีความหมายไม่เหมือนกันตั้งแต่สองคำขึ้นไปนำมาป

         ประสมกันแล้วเกิดหมายใหม่คำที่เกิดขึ้นเรียกว่าคำประสม

                                        คำมูล + คำมูล  = คำประสม ( เกิดความหมายใหม่/มีเค้าความหมายเดิม)



                                                       หน้าที่ของคำประสม

                                      1. ทำหน้าที่เป็นสรรพนาม          เช่น


        คำว่า       พ่อ   ก็จะสามารถ นำมาผสมกับคำอื่นที่มีความหมายได้เช่น

      พ่อ + ครัว      จะได้เป็น     พ่อครัว  ซึ่งจะสังเกตุว่า คำว่า พ่อ ก็มีความหมายเป็นของตัวเอง คำว่า 

ครัว ก็มีความหมายของมัน เมื่อนำมาผสมกัน ก็จะได้เป็น ความหมายใหม่ขึ้นมา


วันจันทร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2558

คำมูล



                                                                      คำมูล

                                    คือ หน่วยคำที่เล็กที่สุดของภาษาไทย คำมูลคือคำที่มีความหมายสมบูรณ์

             ในตัวเองไม่สามารถแยกศัพท์ย่อยออกได้ ซึ่งจะมีสูงสุดถึง 5 พยางค์ ด้วยกัน


          คำมูลพยางค์เดียว                 เช่น                   หมู หมา กา ไก่ เขียว ขาว แดง ปู่ ย่า ตา ยาย

         
          คำมูลสองพยางค์                  เช่น                   สะดวก  สบาย  ขนม  กระทะ  กระทิ  จะเข้  ชะลูด


          คำมูลสามพยางค์                  เช่น                   กะละแม   กะละมัง   จะละเม็ด  มะละกอ   จระเข้


          คำมูลสี่พยางค์                       เช่น                   โกโรโกโส     ตะลีตะลาด    คะยั้นคะยอ


          คำมูลห้าพยางค์                     เช่น                    สำมะเลเทเมา


**** ข้อสังเกต เช่น หมาดำ คำนี้สามารถแยกศัพท์ได้คือ  หมา+ ดำ ดังนั้นคำนี้ไม่ใช่คำมูล

หมูอ้วน  แยกได้เป็น หมู + อ้วน  ดังนั้นคำนี้ไม่ใช่คำมูล

แต่คำว่า  จะละเม็ด คำนี้ไม่สามารถที่จะแยกคำศัพท์ได้เพราะถ้าเราแยกออกมาแต่ละคำก็ไม่มี

ความหมาย  ก็ได้ว่า จะ+ละ+เม็ด ดังนั้นคำนี้จึงเป็นคำมูล